Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3487
Title: Chinese; Place of Diasporas
จีนนอกนา; สถานที่ของคนพลัดถิ่น
Authors: Jureeporn PEDKING
จุรีพร เพชรกิ่ง
Pishnu Supanimit
พิษณุ ศุภนิมิตร
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: จีนนอกนา
สถานที่ของคนพลัดถิ่น
ความทรงจำกับสถานที่
สุนทรียสัมพันธ์
The Overseas Chinese
Place of Diasporas
Memory and place
Relational Aesthetics
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The thesis “Chinese; Place of Diasporas” aims to create relational art by embodying the space within the historical context to present the artist’s view towards “ancestors” through research and artistic creation. Four main points are 1. Content, which features the history of Chinese immigrants, most of whom are laborers who settled in Thailand, and “Huang Chung Lhong” or Lhong 1919, which is an important place in the history of Chinese immigrants in Thailand, 2. Form, the artists placed new objects in a historical space to portray the idea of the Siamese-Chinese, especially the working class, 3. Material, the use of everyday objects to present simple motives and urge the audience to interpret how objects relate to people's way of life, and 4. Techniques and art expression, the artist fills the space with activities and focuses on how the audience responds as an observer. The research and art creation are completed by following 5 tasks: 1. To study the history of the Lhong 1919 space 2. To study the academic literature related to the Chinese diaspora, the Chinese community in Bangkok, and individual history, 3. To study and analyze the creative process of artists who are considered to create works of relational aesthetics, 4. To review the artist's feelings towards the place, Lhong 1919, and finally, 5. To research and experiment for a possible technique and medium that can be installed in Lhong 1919. It is found after the research and artistic creation that the concept of relational space can be used in a specific way through the interpretation of the artist and became the starting point for the concrete form. There are three methods to achieve the result; 1. Using symbols such as rice sacks, mattresses, ready-made objects from the past and present, rice seedlings, and rice cups to create a representative image and define the boundaries for the work. 2. Managing the space with the potentiality of objects and translucent materials, softness and hardness of synthetic fibers, plastic strips, nylon ropes, paddy seeds, and cooked rice made by hand, and 3. Creating the space by using media such as rice sacks that are air-filled objects, inflating and deflating like the rhythm of a human breath, photographs, motion pictures, light, sound, as well as activities that connect the audience to the work. This art creation created an experience allowing the viewer to learn about and understand the history of the Chinese diaspora more. This is crucial to the construction of the meaning of " Chinese; Place of Diasporas" as a person's experiences or memories may change over time as the social context progresses. 
โครงการวิทยานิพนธ์ จีนนอกนา; สถานที่ของคนพลัดถิ่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเชิงสัมพันธ์ ด้วยวิธีจัดการกายภาพของพื้นที่จากเงื่อนไขแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของคนจีนพลัดถิ่นมาถ่ายทอดความคิดผ่านการนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับ “บรรพบุรุษ” ภายใต้ขอบเขตการค้นคว้าและสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1. ด้านเนื้อหา ประวัติศาสตร์เรื่องราวของกลุ่มคนจีนอพยพที่ส่วนมากเป็นผู้ใช้แรงงานที่มาตั้งรกรากในประเทศไทย การเล่าประวัติศาสตร์ร่วมกับสถานที่ “ฮวยจุ่งโล้ง” หรือ ล้ง 1919 ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่ที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์ของคนจีนอพยพ 2. ด้านรูปแบบ การใช้รูปแบบจัดวางสิ่งใหม่บนพื้นที่เก่าเป็นสื่อกลางในการสร้างความคิดที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคมของจีนสยามโดยเฉพาะกลุ่มจับกัง 3. ด้านวัสดุ  การเอาภาพลักษณ์ของวัตถุในชีวิตประจำวันมาสร้างแรงจูงใจที่ไม่ซับซ้อนและตีความได้อย่างอิสระถึงภาพความสัมพันธ์ของสิ่งที่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของคน และ4. ด้านเทคนิคและวิธีการแสดงออกของศิลปะ การวางแผนครอบคลุมพื้นที่ด้วยกิจกรรมและเน้นดำเนินกระบวนการตอบสนองของผู้ชมที่มีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ อีกทั้งแนวทางการศึกษาและการสร้างสรรค์สามารถจำแนกได้ 5 แนวทาง ได้แก่ 1. การศึกษาประวัติศาสตร์พื้นที่ ล้ง 1919 2. การศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพลัดถิ่นของคนจีน, ชุมชนคนจีนในกรุงเทพฯ และประวัติศาสตร์ของบุคคล 3. การศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์ของศิลปินแนวทางสุนทรียสัมพันธ์ 4. การทบทวนความรู้สึกของผู้สร้างสรรค์ที่มีต่อสถานที่ ล้ง 1919 และ5. การค้นคว้าและทดลองการสร้างสรรค์ สำหรับการหาค่าเป็นไปได้ทั้งด้านเทคนิคและการเลือกใช้สื่อมานำเสนอเป็นผลงานในรูปแบบจัดวางบนพื้นที่ล้ง 1919 ผลการศึกษาและสร้างสรรค์พบว่า การใช้แนวคิดสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในลักษณะเฉพาะผ่านการตีความของผู้สร้างสรรค์เป็นจุดเริ่มต้นต่อการสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรม สามารถแบ่งได้ 3 วิธีการ คือ 1. วิธีการใช้สัญลักษณ์ กระสอบข้าว, ฟูกนอน, วัตถุสำเร็จรูปทั้งที่มาจากอดีตกับปัจจุบัน, ต้นกล้าข้าวและถ้วยข้าว เพื่อสร้างภาพตัวแทน เป็นการกำหนดขอบเขตรับรู้ต่อผลงาน 2. วิธีจัดการพื้นที่ด้วยศักยภาพของวัตถุและวัสดุที่มีคุณลักษณะโปร่งแสง, ความนิ่ม ความกระด้างของใยสังเคราะห์ เส้นพลาสติก เชือกไนล่อน, เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวสุกที่ใช้กระบวนการผลิตด้วยมือ และ3. วิธีการสร้างพื้นที่ จากการใช้สื่อ อาทิ กระสอบข้าวที่ถูกเป่าลมเข้า – ออกสลับการพองตัวและยุบลงเสมือนจังหวะลมหายใจ ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แสง เสียง รวมทั้งกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับผลงาน เป็นต้น จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างประสบการณ์ การเรียนรู้และมีความเข้าใจประวัติศาสตร์คนจีนพลัดถิ่นมากขึ้น ซึ่งเป็นความสำคัญต่อการประกอบความหมายของ “จีนนอกนากับสถานที่ของคนพลัดถิ่น” บนพื้นฐานของประสบการณ์หรือความทรงจำของบุคคลที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลาของบริบททางสังคม
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3487
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61007801.pdf15.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.