Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3492
Title: Images of The Financial Crisis in Contemporary Art During 2000-2020
ภาพของวิกฤตเศรษฐกิจในงานศิลปะร่วมสมัยตั้งแต่ปี 2000-2020
Authors: Sawarat TANGJITKUSONKUL
สวรัตน์ ตั้งจิตกุศลกุล
Chaiyosh Isavorapant
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: วิกฤตเศรษฐกิจในผลงานศิลปะ
สัญลักษณ์
FINANCIAL CRISIS IN ART
SYMBOLIC
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: "Financial crisis" is regarded as a cyclic phenomenon of macroeconomic circumstances throughout human history. Since the post-17th century onwards, art community and artists have been included in the economic cycle and inevitably financial history. The artists and their work are part of the social movement, which has been affected by environmental factors since the "The Dutch Tulip Mania Bubble" in Europe. It can be considered the first financial crisis in the human world, according to historical evidence. The financial crisis continues to occur today. and still affect the social structure Including the art community, during 2000-2020, there have been four financial crises, including the dot-com bubble crisis. subprime mortgage crisis European sovereign debt crisis and the Covid-19 Crisis.  The foresaid the financial crises were considered as a case study through “visual art works” in 3 sets from 3 artists and 6 works from 2 artists, created in the same contemporary era through various perspectives to analyze and interpret symbols, implications, or cultural implications. It can be connected to society, politics, economy, and art holistically without looking apart. Based on the researcher’s point of view, the financial crises during 2000-2020 directly and indirectly affected every career fields, including artists. Creative work is always influenced by the context of the moment in which the analysis results were categorized and classified to interpret the symbols selected by the artist, leading to research findings that can reflect that creative patterns and use of symbols that have changed to the values of each era. The conveyance of the symbols or implications that appear in the work includes both straightforward communication and pointing to other stories that are not explicitly visible in the social and cultural context. They are common factors in analyzing the meaning of symbols, even the symbols that appear, external influences, periods will be the same thing, if other ideas and contexts are also important factors, the implications of that symbol to change can be driven.
            “วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ” นับว่าเป็นปรากฏการณ์หนึ่งของภาวะเศรษฐกิจในระดับมหภาคที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนเกิดขึ้น และจบลงตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ตั้งแต่ยุคหลังศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา วงการศิลปะ และศิลปินถูกนับรวมอยู่ในวงจรเศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์ทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เหตุเพราะศิลปินและผลงานของพวกเขาคือส่วนหนึ่งของขบวนการขับเคลื่อนทางสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว นับตั้งแต่ “วิกฤตฟองสบู่ดอกทิวลิป” ในทวีปยุโรป ที่ถือได้ว่าเป็นสถานการณ์วิกฤตทางการเงินครั้งแรกของโลกมนุษย์ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วิกฤตเศรษฐกิจยังคงเกิดขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และยังคงส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสังคม รวมถึงวงการศิลปะ นับตั้งแต่ปี 2000-2020 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น 4 ครั้งได้แก่วิกฤตฟองสบู่ดอทคอม วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป และวิกฤตโควิด 19 ซึ่งผู้วิจัยหยิบยกมาเป็นกรณีศึกษาโดยมองผ่าน “ผลงานทัศนศิลป์” จำนวน 3 ชุด จากศิลปิน 3 ท่าน และผลงาน 6 ชิ้นจากศิลปิน 2 ท่าน โดยผลงานทัศนศิลป์เหล่านี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้น ผ่านหลากหลายแง่มุมเพื่อวิเคราะห์ตีความสัญลักษณ์ นัยแฝง หรือนัยยะทางวัฒนธรรม ที่สามารถเชื่อมโยงสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และศิลปะเข้าไว้ด้วยกันอย่างแนบแน่นแบบเป็นองค์รวม โดยมิอาจมองแยกส่วนจากกันได้ ผู้วิจัยคิดเห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2000-2020 นี้สร้างผลกระทบต่อทุกสาขาอาชีพ ซึ่งรวมไปถึงศิลปินทั้งทางตรง และทางอ้อม งานสร้างสรรค์ย่อมได้รับอิทธิพลจากบริบทแวดล้อม ณ ช่วงเวลาหนึ่งเสมอ ซึ่งผลการวิเคราะห์ จัดกลุ่ม แบ่งประเภท ตีความสัญลักษณ์ที่ศิลปินเลือกใช้นั้นนำไปสู่ผลการวิจัยที่สามารถสะท้อนให้เห็นว่า รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานและการหยิบใช้สัญลักษณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมในแต่ละยุคสมัย การสื่อความของสัญลักษณ์หรือนัยแฝงที่ปรากฏในผลงานมีทั้งการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา  และการชี้นำไปสู่เรื่องราวอื่นที่ไม่ปรากฏอย่างชัดเจน โดยมีบริบทแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม เป็นปัจจัยร่วมในการวิเคราะห์ความหมายของสัญลักษณ์ แม้สัญลักษณ์ที่ปรากฏ อิทธิพลภายนอก ช่วงเวลาจะเป็นสิ่งเดียวกัน หากแนวคิดและบริบทอื่น ๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญซึ่งสามารถผลักดันให้นัยยะของสัญลักษณ์นั้นเปลี่ยนแปลงได้
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3492
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620120042.pdf16.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.