Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3496
Title: | Project Impact Tunnel of passage under Maharaja Road and Na Phra Lan Road towards connecting the surrounding area. ผลกระทบของโครงการ อุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราช และถนนหน้าพระลานที่มีต่อการเชื่อมต่อพื้นที่โดยรอบ |
Authors: | Auttapong SISUWAN อัฐพงษ์ สีสุวรรณ์ Singhanat Sangsehanat สิงหนาท แสงสีหนาท Silpakorn University. Architecture |
Keywords: | อุโมงค์ สเปซซินแท็กซ์ พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ทางเดินเท้า, ย่าน Tunnel Space Syntax Rattanakosin Pedestrian |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objective of the research is to compare the effects of the tunnels under Maharaj Road and Na Phra Lan Road on the connection of the area. The research was carried out using two methods. The first method by studying physical factors is the relationship network of space. building utilization Characteristics of traffic routes within the city and study traffic characteristics from statistical data including data collection of economic activities within each community of the area. The second method is to create a model with the Space Syntax .
The findings of the research revealed that The passage tunnels under Maharat Road and Na Phra Lan Road had a greater effect on the area connection and accessibility of the area with higher potential. Can make the Na Phra Lan Road area better connect to other areas, easily accessible, convenient, safe. Secondary roads, minor roads and pedestrian networks have higher potential. Make traffic from one ground to enter any ground. There are connections at both the city level and the sub-level. There is a higher traffic volume on the main route connecting the tunnel. Urban areas are easier to integrate and understand. Including the use of the building will create understanding and create new activities to serve people.
The findings of the research suggest that the study of the tunnels under Maharaj Road and Na Phra Lan Road has an impact on the connection of surrounding areas. Space Syntax can be used as a tool to predict the usage characteristics in the area. การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของอุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราชและถนนหน้าพระลานที่มีต่อการเชื่อมต่อพื้นที่ การวิจัยดำเนินการโดยใช้ 2 วิธี วิธีการแรกโดยศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ โครงข่ายความสัมพันธ์ของที่ว่าง การใช้ประโยชน์อาคาร ลักษณะเส้นทางสัญจรภายในเมือง และศึกษาลักษณะการจราจรจากข้อมูลทางสถิติ รวมถึงการเก็บข้อมูลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในชุมชนแต่ละแห่งของพื้นที่ วิธีที่ 2 คือ การสร้างแบบจำลองด้วยเครื่องมือ Space Syntax ผลการวิจัยทำให้ทราบว่าอุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราชและถนนหน้าพระลานนั้นมีผลกับการเชื่อมต่อพื้นที่และการเข้าถึงของพื้นที่มีศักยภาพสูงขึ้น สามารถทำให้บริเวณถนนหน้าพระลานเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่นๆ ได้ดีขึ้น เข้าถึงได้ง่าย สะดวก ปลอดภัย เพิ่มศักยภาพของถนนสายรอง ถนนสายย่อย และโครงข่ายการเดินเท้า ทำให้การสัญจรจากพื้นทีหนึ่งเพื่อเข้าสู่พื้นใดๆ มีความเชื่อมโยงถึงกันทั้งในระดับเมืองจนถึงระดับแยกย่อย มีปริมาณผู้สัญจรผ่านสูงขึ้นในเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อกับอุโมงค์ฯ ทั้งนี้ความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ และความสามารถของการเป็นศูนย์กลางย่านและชุมชนมีความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สูงขึ้น อีกทั้งมีความสามารถในการเป็นศูนย์กลางมากขึ้น พื้นที่เมืองสามารถผสานและทำความเข้าใจได้โดยง่ายขึ้น รวมถึงการใช้ประโยชน์อาคารจะทำให้เกิดความเข้าใจและทำให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆเพื่อตอบสนองการบริการแก่ผู้สัญจรผ่าน จากการวิจัยสรุปได้ว่าการศึกษา อุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราชและถนนหน้าพระลานมีผลกระทบต่อการเชื่อมต่อพื้นที่โดยรอบ และโปรแกรม Space Syntax สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการคาดการณ์ลักษณะการใช้งานในพื้นที่ชื่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย |
Description: | Master of Architecture (M.Arch) สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3496 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60051202.pdf | 11.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.