Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3502
Title: AN ANALYTICAL STUDIES OF ETHICS IN THE MAHABHARATA
การศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ ที่ปรากฏในมหาภารตะ
Authors: Apichai SAMRID
อภิชัย สัมฤทธิ์
SOMBAT MANGMEESUKSIRI
สมบัติ มั่งมีสุขศิริ
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: จริยศาสตร์ พุทธจริยศาสตร์ มหาภารตะ
Ethics Ethical Buddhism Mahabharata
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The aim of analytical studies of ethics in the Mahabharata has 2 objectives : 1. To study the Hinduism doctrinal ,which is used as an ethical analysis tool, 2. To analysis ethical problems in the Mahabharata according to the ethics of Brahmin-Hindu and Buddhism.    The results of the research were as follows: Ethical teachings It is valuable to mankind in the sense that it can be used as a basis for peaceful coexistence in society. Affecting the lives of people in society Which clearly defines the duties of the 4th caste in the Manudharmasastra scriptures.  Therefore, according to Hindu beliefs, any person has done different things. Which is considered to be their duty according to the caste Intended to maintain accuracy Maintain justice And do it with loyalty to God. If that person Has murdered anyone. Was considered not a sin to the one who made it As in the view that The law of karma is a law that is established by God. He has power over the law of karma. Which affects all human beings and is the governing body of this law to affect mankind according to His will. As for Buddhist ethics, human beings are subject to the law of karma. Which is a law that exists freely Beyond the control of God, one who does good works good, does evil works evil. To focus on the intention or the intention of the person doing it Considered the cause of karma Which leads to the initiative to make things in life.
การศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์ ในมหาภารตะประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ของพรามณ์-ฮินดู ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางจริยศาสตร์  2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางจริยศาสตร์ในมหาภารตะตามหลักจริยศาสตร์ของพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนา  ผลวิจัยพบว่า  คำสอนทางจริยธรรม มีคุณค่าแก่มวลมนุษย์ในแง่ที่ว่าสามารถใช้เป็นหลักในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข  มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนทั้งหลายในสังคม ซึ่งกำหนดหน้าที่ของวรรณะ 4 ไว้ในคัมภีร์ Manudharmasastra อย่างชัดเจน ซึ่งคนทุกคนที่เกิดมาสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะทางสังคมอย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูถือว่า บุคคลใดก็ตาม ได้กระทำสิ่งต่างๆ โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของตนตามวรรณะ มีเจตนามุ่งรักษาความถูกต้อง ผดุงความยุติธรรมไว้ และทำด้วยความจงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า หากว่าบุคคลนั้น ได้ทำการฆาตกรรมใครก็แล้วแต่  ก็ถือว่าไม่เป็นบาปแก่ผู้ทำ ดังทัศนะที่ว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่ถูกกำหนดขึ้นโดยพระผู้เป็นเจ้า พระองค์มีอำนาจเหนือกฎแห่งกรรม ซึ่งมีผลต่อมนุษย์ทุกคนและทรงเป็นผู้ควบคุมกฎนี้ให้ส่งผลต่อมวลมนุษย์ตามความประสงค์ของพระองค์  ส่วนพุทธจริยศาสตร์ มีทรรศนะว่า มวลมนุษย์อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นกฏที่มีอยู่อย่างอิสระ เหนือการควบคุมของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว มุ่งเจตนาหรือความตั้งใจของผู้กระทำเป็นสำคัญ ถือว่าเป็นมูลเหตุของกรรม ซึ่งเป็นตัวนำไปสู่การริเริ่มปรุงแต่งให้ทำสิ่งต่างๆในชีวิตได้ 
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3502
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59116208.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.