Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3513
Title: THE STRATEGIES OF CREATING HUMOR OF “NANG FANG MOOK” FACEBOOK FAN PAGE
กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันของเฟซบุ๊กแฟนเพจ "หนังฝังมุก"
Authors: Pornpun SHINEPREESHA
พรพรรณ ฉายปรีชา
SOMCHAI SUMNIENGNGAM
สมชาย สำเนียงงาม
Silpakorn University. Arts
Keywords: กลวิธีทางภาษา
อารมณ์ขัน
สื่อใหม่
เฟซบุ๊ก
Linguistics Strategies
Humor
New Media
Facebook
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This Independent study aims to study style of presentation, content and the strategies of creating humor of facebook fan page “Nang Fang Mook”. Using 1,177 posts collected for 24 months, from 1st January 2018 – 31st December 2019. Moreover, 296 internet meme images were classified for using in the study of humor creation strategies. The results of the study were summarized as follows: The presentation style were divided into 3 main forms, namely 1) visual presentation style, which categorizes images into 4 types: photos, illustrations or cartoons, internet meme images and photo albums. 2) status text-only presentation style and 3) caption text presentation style, which categorizes caption into 5 types: caption with pictures, caption with video clip, caption with link, caption with facebook live and caption with poll.    The content of the presentation was divided 4 main groups, namely 1) content about entertainment industry was classified into 4 types: content about movies or dramas, content about actors, content about entertainment industry criticism and content about entertainment industry parody. 2) content about sports was classified into 3 types: content about sport clubs, content about sportsperson and content about sports cheering. 3) content about society was classified into 2 types: content about social events and content about social parody. 3) content about political was classified into 2 types: content about politician and content about political parody. In terms of humor creation strategies, it was found that linguistic strategies that create humor were divided into 2 main groups: 1) lexical strategies there are 9 strategies namely using bad words,  taboo words,  slangs,  homonym words,  abbreviations,  transliterations,  foreign words,  sound-imitating words and sound change words 2) Discourse and pragmatics strategies there are 10 strategies namely using rhetoric question,  metaphor, twisting,  dirty jokes, implications, creating illogical scenes, mockery, satires, self-compliments and self-accusations and mixed strategies. These humor creation strategies In addition to creating fun for the audiences it also reflects the image of Thai society at that time very well. As well as seeing the behavior of people using new media in the Internet age society as well.
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหา และกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันของเฟซบุ๊กแฟนเพจ “หนังฝังมุก” โดยเก็บข้อมูลจากสถานะของเฟซบุ๊กแฟนเพจ “หนังฝังมุก” ระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2562 จำนวนทั้งสิ้น 1,177 โพสต์ ทั้งนี้ได้จำแนกโพสต์ภาพอินเทอร์เน็ตมีมที่ใช้ศึกษากลวิธีการสร้างอารมณ์ขันจำนวน 296 โพสต์ ผลการศึกษามีดังนี้ ด้านรูปแบบการนำเสนอ พบ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1) รูปแบบการนำเสนอด้วยภาพ ซึ่งจำแนกภาพออกเป็น 4 ประเภท คือ ภาพถ่าย ภาพวาดหรือภาพการ์ตูน ภาพอินเทอร์เน็ตมีม และภาพรวมเป็นอัลบั้ม 2) รูปแบบการนำเสนอด้วยข้อความสถานะ และ 3) รูปแบบการนำเสนอด้วยข้อความแคปชัน ซึ่งจำแนกออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ แคปชันประกอบภาพ แคปชันประกอบวีดิทัศน์ แคปชันประกอบลิงก์ แคปชันประกอบการแพร่ภาพสด และแคปชันประกอบการสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น ด้านเนื้อหาในการนำเสนอ พบ 4 กลุ่มเนื้อหา ได้แก่ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับวงการบันเทิง จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ เนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ ละคร เนื้อหาเกี่ยวกับนักแสดง เนื้อหาเกี่ยวกับการวิจารณ์วงการบันเทิง และเนื้อหาเกี่ยวกับการล้อเลียนวงการบันเทิง 2) เนื้อหาเกี่ยวกับวงการกีฬา จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ เนื้อหาเกี่ยวกับสโมสรกีฬา เนื้อหาเกี่ยวกับนักกีฬา เนื้อหาเกี่ยวกับการเชียร์กีฬา 3) เนื้อหาเกี่ยวกับสังคม จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในสังคม และเนื้อหาเกี่ยวกับการล้อเลียนสังคม 4) เนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ เนื้อหาเกี่ยวกับนักการเมือง และเนื้อหาเกี่ยวกับการล้อเลียนการเมือง ด้านกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน พบว่า กลวิธีทางภาษาที่สร้างอารมณ์ขันแบ่งออกเป็น 2 กลวิธีหลัก ได้แก่ 1) กลวิธีทางศัพท์ พบ 9 กลวิธี คือ กลวิธีการใช้คำหยาบ กลวิธีการใช้คำต้องห้าม กลวิธีการใช้คำสแลง กลวิธีการใช้คำพ้อง กลวิธีการใช้อักษรย่อ กลวิธีการใช้คำทับศัพท์ กลวิธีการใช้คำภาษาต่างประเทศ กลวิธีการใช้คำเลียนเสียง และกลวิธีการเปลี่ยนเสียงของคำ และ 2) กลวิธีทางปริจเฉทกับวัจนปฏิบัติศาสตร์ พบ 10 กลวิธี คือ กลวิธีการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีการใช้อุปลักษณ์ กลวิธีการหักมุม กลวิธีการทำให้เป็นเรื่องสัปดน กลวิธีการบ่งชี้โดยนัย กลวิธีการผูกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันโดยตรงเข้าด้วยกัน กลวิธีการล้อเลียน กลวิธีการเสียดสี กลวิธีการชมและตำหนิตนเอง และกลวิธีผสม กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันเหล่านี้ นอกจากจะสร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้รับสารแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นภาพสังคมไทยในช่วงเวลานั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งได้เห็นพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของผู้คนในสังคมยุคอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3513
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60208309.pdf9.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.