Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3536
Title: GOOD GOVERNANCE FOR SCHOOL ADMINISTRATORS WITHIN THE THAMMAJAK CONSORTIUM OPERATING UNDER THE SECONDARYEDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 5
การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตธรรมจักร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5
Authors: Jutakan KENGKASIKIT
จุฑากาญจน์ เก่งกสิกิจ
Vorakarn Suksodkiew
วรกาญจน์ สุขสดเขียว
Silpakorn University. Education
Keywords: การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา
หลักธรรมาภิบาล
GOOD GOVERNANCE FOR SCHOOL ADMINISTRATORS
GOOD GOVERNANCE
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to investigate 1) good governance for school administrators within the Thammajak Consortium Operating under the Secondary Educational Service Area Office 5. 2) Good governance guidelines for school administrators within the Thammajak Consortium Operating under the Secondary Educational Service Area Office 5. The samples of this study is 165 government teachers in the Thammajak Consortium Operating under the Secondary Educational Service Area Office 5. The instruments were the questionnaire and structured interview. The statistic devices employed analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis. The results of this research were as follow: 1. Good governance for school administrators was almost in a high level. Regarding a particular each area was in a high level. According to the mean analytic, ranked condescending are as follows: morality/ethics, equity, transparency, decentralization, rule of law, accountability, participation/ consensus oriented, effectiveness, responsiveness and efficiency. 2. Good governance guidelines for school administrators are: 1) Efficiency, dministrators should save working time. 2) Effectiveness, The school administrators should explore the opinions of stakeholders. 3) Responsiveness, The school administrators should classify group of client. 4) Accountability, The school administrators should analyze potential problems. 5) Transparency, The school administrators should develop an efficient publishing system. 6) Rule of law, The school administrators should encourage teachers to develop themselves. 7) Equity, The school administrators should serve equal services practice. 8) Participation/Consensus oriented, The school administrators should promote stakeholders for better education management. 9) Decentralization, The school administrators should coordinate with external agencies. 10) Morality/Ethics, The school administrators should be polite.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตธรรมจักร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 2) เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตธรรมจักร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในสหวิทยาเขตธรรมจักร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักคุณธรรมและจริยธรรม หลักความเสมอภาค หลักความเปิดเผยและโปร่งใส หลักการกระจายอำนาจ หลักนิติธรรม หลักภาระรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วมและการมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิผล หลักการตอบสนอง และหลักประสิทธิภาพ ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า 1) หลักประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาวิธีการดำเนินงานให้มีความรวดเร็ว 2) หลักประสิทธิผล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมากำหนดแผนกลยุทธ์ 3) หลักการตอบสนอง ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการจำแนกกลุ่มผู้รับบริการ และกำหนดกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้รับบริการ 4) หลักภาระรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงาน และร่วมกันวางแผนกรอบแนวทางการปฏิบัติงาน 5) หลักความเปิดเผยและโปร่งใส ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาระบบการเผยแพร่ให้มีประสิทธิภาพ 6) หลักนิติธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาได้พัฒนาตนเองตามความสมัครใจ 7) หลักความเสมอภาค ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ผู้รับบริการทุกคนเข้าถึงการบริการได้อย่างเท่าเทียม 8) หลักการมีส่วนร่วมและการมุ่งเน้นฉันทามติ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 9) หลักการกระจายอำนาจ ผู้บริหารสถานศึกษาควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษา 10) หลักคุณธรรมและจริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความเป็นกัลยาณมิตรที่ดี
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3536
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61252309.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.