Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3541
Title: | GOOD GOVERNANCE OF ADMINISTRATOR AND THE EFFECTIVENESS OF SCHOOLUNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPANBURI ธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี |
Authors: | Watchalad WONGCHALAUNG วัชเรศ วงษ์เฉลียง Saisuda Tiacharoen สายสุดา เตียเจริญ Silpakorn University. Education |
Keywords: | ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร, ประสิทธิผลของสถานศึกษา GOOD GOVERNANCE OF ADMINISTRATOR/ THE EFFECTIVENESS OF SCHOOL |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to determine 1) the good governance of administrator under the Secondary Education Service Area Supanburi 2) the effectiveness of school under the Secondary Education Service Area Supanburi 3) the relationship between the good governance and the effectiveness of school under the Secondary Education Service Area Supanburi. The sample were 28 schools under the Secondary Education Service Area Supanburi. The 6 respondents in each school were; school director, deputy school director and head of department as well as 3 teachers. There were 168 respondents. The research instrument was a opinionnaire about the good governance base on Office of the Public Sector Development Commission (OPDC), and the effectiveness of school based on Lunenburg and Ornstein (2012). The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.
The findings were as follows ;
1. The good governance of administrator under the Secondary Education Service Area Supanburi, as a whole was at the highest level, and 9 aspects found at the highest level; there were; Morality/Ethic, Transparency, Accountability, Decentralization, Equity, Participation /Consensus Oriented, Effectiveness, Responsiveness and Rule of Law, respectively. was and the other one, Efficiency was at a high level.
2. the effectiveness of school under the Secondary Education Service Area Supanburi, as a whole and each aspects were at a highest level, there were; A clear school mission, Instructional leadership, A climate of high expectations, A safe and orderly environment, High time on task, Frequent monitoring of student progress and Positive home-school relations, respectively.
3. There was positive, and significance relationship between the good governance and the school effectiveness of school at .01 level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 28 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 6 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารงาน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูล 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับธรรมาภิบาลตามแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) พ.ศ. 2555 และประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของลูเนนเบอร์กและออนสไตน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 9 ด้าน คือ หลักคุณธรรมและจริยธรรม หลักความเปิดเผยและโปร่งใส หลักภาระรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ หลักการกระจายอำนาจ หลักความเสมอภาค หลักการมีส่วนร่วมและการมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิผล หลักการตอบสนองหลักนิติธรรม อีก 1 ด้านอยู่ในระดับมาก คือหลักประสิทธิภาพ 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ พันธกิจของโรงเรียนที่มีความชัดเจน มีภาวะผู้นำทางวิชาการ บรรยากาศของความคาดหวังสูง สภาพแวดล้อมเป็นระเบียบและปลอดภัย ทุ่มเทเวลาในการทำงาน มีการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ปกครอง 3. ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3541 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61252336.pdf | 4.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.