Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3561
Title: THE STUDY OF MATHEMATICAL KNOWLEDGE CONNECTION SKILLS BY TEACHING STYLES THAT DEVELOP OF MATHEMATICAL KNOWLEDGE CONNECTION SKILLS IN INEQUALITY FOR MATHAYOMSUKA 3 STUDENTS
การศึกษาทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Nonchai KHUNWISET
นนท์ชัย ขุนวิเศษ
Suabsagun Yooyuanyong
สืบสกุล อยู่ยืนยง
Silpakorn University. Science
Keywords: การเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์
รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
MATHEMATICAL KNOWLEDGE CONNECTION SKILLS
TEACHING STYLES THAT DEVELOP OF MATHEMATICAL KNOWLEDGE CONNECTION SKILLS
MATHEMATICS ACHIEVEMENT
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of the research were (1) to compare the mathematical knowledge connection skills and mathematics achievement applications of Inequality between students in mathayomsuksa 3 who study by teaching styles that develop of mathematical knowledge connection skills and by the conventional approach (2) to compare the mathematics achievement applications of Inequality between students in mathayomsuksa 3 after study by teaching styles that develop of mathematical knowledge connection skills with 70%. The research samples were 34 students in mathayomsaksa 3 at second semester of the academic year 2020, Watbangpra School, Nakhon Pathom Province and 32 students in mathayomsaksa 3 at second semester of the academic year 2020, Watsrimahapo School, Nakhon Pathom Province. The result of research founded that (1) the mathematical knowledge connection skills and mathematics achievement applications of Inequality of mathayomsuksa 3 students who study by teaching styles that develop of mathematical knowledge connection skills was higher than students who study by the conventional approach at .05 statistically significant levels (2) the mathematics achievement applications of Inequality of mathayomsuksa 3 students after study by teaching styles that develop of mathematical knowledge connection skills was higher than 70% criteria at .05 statistically significant levels.
ในการศึกษาค้นคว้ามีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างนักเรียนที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3561
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59316307.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.