Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/358
Title: การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนพม่ากับสำนวนไทย
Other Titles: A COMPARATIVE STUDY OF BURMESE IDIOMS AND THAI IDIOMS.
Authors: ผกากรอง, พิชญดา
PHAKAKRONG, PICHAYADA
Keywords: สำนวนพม่า
สำนวนไทย
เปรียบเทียบ
BURMESE IDIOMS
THAI IDIOMS
COMPARATIVE
Issue Date: 15-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของสำนวนพม่ากับสำนวนไทย ศึกษา เปรียบเทียบความหมายและวิธีการใช้สำนวนพม่ากับสำนวนไทย และศึกษาเปรียบเทียบภาพสะท้อนทาง ธรรมชาติและวิถีชีวิตจากสำนวนพม่ากับสำนวนไทย ผู้วิจัยศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะสำนวนพม่ากับสำนวนไทยที่ รวบรวมได้จากหนังสือสำนวนพม่าและสำนวนไทยและได้ตรวจสอบกับผู้บอกภาษาทั้ง 2 ภาษาแล้วว่ายังเป็น สำนวนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจำนวน 1,135 สำนวน แบ่งเป็นสำนวนพม่า 558 สำนวน และสำนวนไทย 577 สำนวน ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทั่วไปของสำนวนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. โครงสร้างของสำนวน พม่ากับสำนวนไทย และ 2. ลักษณะการใช้คำในสำนวนพม่ากับสำนวนไทย ด้านโครงสร้างของสำนวนผู้วิจัยแบ่ง โครงสร้างของสำนวนเป็นตอนๆ โดยพิจารณาจากความสมบูรณ์ของเนื้อความในสำนวนเป็นเกณฑ์การแบ่งตอน พบว่า สำนวนพม่ามีเนื้อความตั้งแต่ 1–4 ตอน เนื้อความของสำนวนแต่ละตอนมีโครงสร้างเป็นคำ วลี และ ประโยค ส่วนสำนวนไทยมีเนื่อความตั้งแต่ 1–2 ตอน เนื้อความของสำนวนแต่ละตอนมีโครงสร้างเป็นคำ วลี และ ประโยคเหมือนกัน ส่วนการศึกษาลักษณะการใช้คำในสำนวนพม่ากับสำนวนไทยพบว่า ลักษณะการใช้คำในสำนวน พม่าและสำนวนไทยมีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน ลักษณะการใช้คำที่เหมือนกันมี 5 ประการ คือ 1. การใช้คำซ้ำ กัน 2. การใช้คำที่มีความหมายคล้ายกันหรือทำนองเดียวกัน 3. การใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน 4. การใช้คำ สัมผัสกัน และ 5. สำนวนที่ไม่มีการใช้คำสัมผัส ส่วนลักษณะการใช้คำที่แตกต่างกัน คือ สำนวนพม่ามีการใช้คำ รหัส ในที่นี้หมายถึงสำนวนที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร เป็นเพียงการนำคำมาเรียงต่อกันเพื่อให้จำง่ายเท่านั้น แต่ต้องตีความหมายของสำนวนอีกชั้นหนึ่ง การใช้คำรหัสจึงเป็นลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในสำนวนพม่าเท่านั้น การศึกษาเปรียบเทียบความหมายและวิธีการใช้สำนวนพม่ากับสำนวนไทย ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาตาม การจัดกลุ่มทางความหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สำนวนพม่ากับสำนวนไทยที่มีความหมายตรงหรือคล้ายคลึง กัน และ 2. สำนวนพม่ากับสำนวนไทยที่มีความหมายไม่ตรงหรือไม่คล้ายคลึงกัน จากการศึกษาพบว่า สำนวนพม่า และสำนวนไทยส่วนใหญ่นำการกระทำของมนุษย์มาเปรียบเทียบ และใช้ในเชิงตักเตือนสั่งสอน ผลการศึกษาเปรียบเทียบภาพสะท้อนทางธรรมชาติและวิถีชีวิตจากสำนวนพม่ากับสำนวนไทยพบว่า สำนวนพม่าและสำนวนไทยส่วนใหญ่จะสะท้อนให้เห็นสภาพทางธรรมชาติและสภาพวิถีชีวิตของสังคมพม่าและ สังคมไทยที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นโลกทัศน์ ค่านิยม สภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนภูมิปัญญาของ คนในสังคม การศึกษาสำนวนของสังคมใดจึงเป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้นด้วย The purpose of this study is to compare the common features of Burmese and Thai idioms, their meanings and usages, and their reflections of the nature and ways of life in each society. The researcher compares 1,135 idioms in total, of which 588 are Burmese and 577 are Thai. The idioms used in this study are collected from idiom books, and have been confirmed by native speakers of both languages to be used in the present. As the study findings show, the common features of Burmese and Thai idioms can be categorized into, first, the idiom structure and, second, the word usage. The researcher classifies the idiom structure into different types according to the completion of content. Here, the study shows that Burmese idioms are usually comprised of between one to four parts of content, while Thai idioms are usually made up of one to two parts of content. In both Thai and Burmese idioms, each part of content consists of words, phrases and sentences. In regards to the word usage in Burmese and Thai idioms, the research reveals both similarities and differences. The similarities include 1. word repetition, 2. use of synonyms, 3. use of antonyms, 4. use of alliteration and assonance, and 5. idioms with neither the use of alliteration nor assonance. The difference is that in Burmese idioms a particular kind of code is sometimes used. In other words, the meanings of these idioms cannot be translated or understood word by word, as the way the words in this type of idioms are arranged is merely aimed to help memorization. The meanings of these idioms then need to be interpreted. This is thus a feature that is unique to the Burmese idioms. In terms the classification of their meanings, the Burmese and Thai idioms studied in this paper can be divided into 1. those that share the same or similar meanings and 2. those with distinct meanings. The study finds also that most Burmese and Thai idioms tend to compare people’s actions and are often used as instructions. Furthermore, this comparative study demonstrates how most of the Burmese and Thai idioms reflect the similar nature and ways of life as appear in the Burmese and Thai societies. These include people’s outlook, values, cultures, traditions, as well as wisdoms. A study of idioms that belong to a particular society is, therefore, a way of learning and understanding the thoughts of people who live in that society.
Description: 55202204 ; สาขาวิชาภาษาไทย --พิชญดา ผกากรอง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/358
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55202204 พิชญดา ผกากรอง .pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.