Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3620
Title: An Analytical Study of Ratnāvalī by Nāgārjuna
การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์รัตนาวลีของนาคารชุน
Authors: Tiwa SUKHUM
ทิวา สุขุม
SOMBAT MANGMEESUKSIRI
สมบัติ มั่งมีสุขศิริ
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: รัตนาวลี, มาธยมิกะ, ศูนยตา, ปรตีตยสมุตปาท, สัมวฤติ, ปรมารถะ
Ratnāvalī philosophy Mādhyamika Śūnyatā Pratītyasamutpāda Saṃvṛtisatya Paramārthasatya and ethic
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this thesis is to study the Ratnāvalī of Ven. Nāgārjuna. The content scope is philosophical and ethical concepts in scripture, translated from Giuseppe Tucci’s Sanskrit texts. But due to the loss of Sanskrit verses, therefore, translation from the English version is important to fulfill the content and to analyze the Ratnāvalī scripture, philosophical arguments, including ethics. The results showed that The Ratnāvalī is written to destroy the orthodox views of the opponent and to offer new options. This is a latter for his friend, King Gautamiputra Shatakarani, who was a ruler of the Satavahana Empire in the 1st or 2nd century CE, and who is apostate of Buddhism, that his parents respected. The philosophical concepts in the Ratnavali scriptures, known as The Middle way (Mādhyamika) and The Emptiness (śūnyatā). To these things happen from an understanding to dependent origination (Pratītyasamutpāda) including the two truths doctrine viz. the empirical truth (saṃvṛtisatya), ultimate truth (paramārthasatya). The ethics in Ratnāvalī are the Buddhist practice, which aims to attain Three benefits viz. The good to be won in this life, the good to be won in the next life, and the highest good: final goal. From analysis, the practice in Ratnāvalī doesn’t different from Buddhist Scriptures (Tripitaka), because of its closeness to Theravada Buddhism, and has presented the practices follow the type of person viz. Householder’s practice, Monarch’s practice, Monastic practice, and Bodhisattva’s practice.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคัมภีร์รัตนาวลีของท่านนาคารชุน โดยมีขอบเขตเนื้อหาคือแนวคิดทางปรัชญาและจริยศาสตร์โดยทำการแปลจากตัวบทที่เป็นภาษาสันสกฤตของ Giuseppe Tucci แต่เนื่องจากเนื้อหาที่เป็นสันสกฤตหายไปจำนวนมาก โดยเหลือเพียง 223 คาถา จาก 500 คาถา จึงได้นำส่วนที่ได้มีการแปลเป็นอังกฤตจากภาษาทิเบตมาแปลเสริมลงไปเพื่อให้เนื้อหาต่อเนื่องและไม่ขาดหาย และทำการวิเคราะห์เนื้อหาในคัมภีร์ แนวคิดทางปรัชญาที่ปรากฏในคัมภีร์ รวมถึงข้อโต้แย้งทางปรัชญา  จากนั้นจึงได้ทำการวิเคราะห์หลักปฏิบัติที่คัมภีร์ได้แนะนำโดยการนำมาจัดหมวดหมู่และนำมาเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์รัตนาวลีเป็นคัมภีร์ที่ท่านนาคารชุนแต่งขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำลายทิฐิดังเดิมของฝ่ายตรงข้าม ชักเข้าหลักการของตน และเสนอแนวทางเลือกรวมถึงข้อปฏิบัติที่เหมาะสม   เป็นคัมภีร์ที่เขียนในรูปแบบของจดหมายให้เพื่อนของตนคือ เคาตมีปุตระ ศาตการณีราช (King Gautamiputra Shatakarani) ซึ่งปกครองอยู่ในช่วง ค.ศ. 80-104 หรือ 106-130 ของราชวงศ์สาตวาหนะ ผู้ละทิ้งแนวความเชื่อทางพุทธศาสนาและหันไปสนใจลัทธิอื่นในสมัยนั้น แนวคิดทางปรัชญาในคัมภีร์รัตนาวลี เรียกว่า มาธยมิกะ หรือ ศูนยตาวาท ดำรงอยู่บนกฎเกณฑ์ 2 ประการ คือ หลักปรตีตยสมุตปาท และศูนยตา พร้อมมุ่งประเด็นว่า กฎเกณฑ์ทั้ง 2 ประการนี้ที่ไม่ใช่สิ่งที่ดำรงอยู่บนพื้นฐานทรรศนะ แต่เป็นความจริงแท้ 2 ระดับ โดยทุกสิ่งที่ปรากฏและเข้าใจกันว่ามี เป็นเพียงความไม่รู้จริงผ่านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากระบบของประตีตยสมุตปาท ซึ่งดำรงอยู่บนพื้นฐานของความจริงระดับสัมวฤติ ส่วนศูนยตาเป็นความจริงระดับปรมารถะซึ่งอยู่ในทุกปรากฏการณ์ หลักปฏิบัติ กล่าวคือจริยศาสตร์ในคัมภีร์รัตนาวลี มีจุดประสงค์คือการทำให้ผู้ปฏิบัติอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เกิดใหม่ในภูมิที่สูงขึ้น และบรรลุนิรวาณในท้ายสุด จากการวิจัยพบว่า ไม่มีความต่างกับพระไตรปิฎกมากนัก มีเพียงบางส่วนที่ต่างไป สาเหตุที่มีความต่างกันเพียงเล็กน้อยเนื่องเพราะเป็นคัมภีร์ที่ถูกแต่งในยุคแรกของสำนักมาธยมิกะ ที่มีต้นเค้าคือนิกายสรวาทติวาทที่แยกนิกายมาจากมหิงสาสกะซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาท โดยจากการวิเคราะห์เนื้อในคำภีร์ทำให้สามารถจัดหมวดหมู่ตามบุคคลผู้ปฏิบัติได้ 4 กลุ่ม คือ บุคคลทั่วไป นักปกครอง นักบวช และผู้ปรารถนาสัมยักสัมโพธิ ตามลำดับ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3620
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60116203.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.