Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3624
Title: An Analytical Study of The Kumārasambhava of Kālidāsa : Cantos I – VIII
การศึกษาวิเคราะห์วรรณคดีเรื่องกุมารสัมภวะของกาลิทาส สรรคที่ 1-8
Authors: Phornpawit UPPACHAI
พรภวิทย์ อุปชัย
SAMNIANG LEURMSAI
สำเนียง เลื่อมใส
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: วรรณคดีสันสกฤต
มหากาวยะ
กุมารสัมภวะ
กาลิทาส
Sanskrit Literature
Mahakavya
Kumarasambhava
Kalidasa
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this thesis aims to analytically study the essence of contents and the rhetoric of the Kumārasambhava of Kālidāsa: Cantos I – VIII. The main manuscript used in the study was the Sanskrit text in the Devanagari script was edited by M.R. Kale in 1981. There are the following objectives that were studied: Initially, the Kumārasambhava was transliterated from Devanagari script to Thai script and translated text from Sanskrit to Thai. That was found great beautiful composition in language, content, and rhetoric in the Kumārasambhava which lead to the next research topics: A study of the essence of contents in the Kumārasambhava shows 1. A comparative study of the contents of Kumārasambhava and Purāṇa was found in 2 types: (1) Kumārasambhava's contents that are similar and different from Purāṇa.  (2) particular contents that were only found in Kumarasabhava.  2. the styles of composition show 6 issues as follow: 1) the composition with characteristics of Mahākāvya. 2) the 8 meters of verses, namely Anuṣṭubh, Upajāti, Rathoddhatā, Vaṃśastha, Vasantatilakā, Mālinī, Viyoginī, and Puṣpitāgrā. 3) the art of epithet in the Kumārasambhava. 4) the description of details with the adjective. 5) the composition with nature in each characteristic. and 6) the composition of denouement like dramatic theory. A study of the rhetoric or figures of speech in Kumārasambhava was found that the literature consists of beauty with Alankaras (figures of speech) that were divided into 2 types: 1) Arthālankāra (figures of speech of sense) and 2) Śabdālankāra (figures of speech of sound). The former consists of 44 types divided into 8 groups, i.e. 1) group of the comparison (found 11 types). 2) group of the description of reality and details (found 6 types). 3) group of the multiple levels of description (found 8 types). 4) group of the power of imagination (found 5 types). 5) group of the intensity of the descriptive text (found 5 types). 6) group of the reasonable arguments (found 4 types). 7) group of the description in sequence (found 1 type). 8) group of the description with many types of Arthālankāras on the same verse. But the latter (i.e. figures of speech of sound) consists of Anuprāsa that was distinguished and composed frequently.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและแปลวรรณคดีเรื่องกุมารสัมภวะของกาลิทาส สรรคที่ 1-8 และศึกษาสารัตถะด้านเนื้อหา การใช้ภาษาและอลังการที่ปรากฏ โดยเบื้องต้นได้ปริวรรตวรรณคดีเรื่องกุมารสัมภวะจากอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทยและแปลตัวบทจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย แล้วจึงวิเคราะห์สารัตถะด้านเนื้อหา การใช้ภาษาและอลังการ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ในการศึกษาสารัตถะด้านเนื้อหาในกุมารสัมภวะ ผู้วิจัยศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) การเปรียบเทียบเนื้อหาของกุมารสัมภวะกับปุราณะ พบการพรรณนาเนื้อหาใน 2 ลักษณะคือ (1) ลักษณะที่คล้ายและแตกต่างจากปุราณะ (2) ลักษณะเฉพาะของเนื้อหาในกุมารสัมภวะ  2) รูปแบบการประพันธ์และสำนวนภาษา พบรูปแบบและกลวิธีการประพันธ์คือ (1) กลวิธีการประพันธ์ด้วยลักษณะมหากาวยะ (2) รูปแบบฉันทลักษณ์ พบว่ากาลิทาสนิยมใช้ฉันท์ประเภทสมวฤตตะ จำนวน 6 ชนิด รวมทั้งสิ้น 567 บท ซึ่งใช้มากกว่าฉันท์ประเภทอรรธสมวฤตตะ จำนวน 2 ชนิด รวมทั้งสิ้น 46 บท กล่าวคือกาลิทาสนิยมใช้อุปชาติฉันท์ จำนวน 226 บท ซึ่งนิยมใช้มากกว่าฉันท์ชนิดอื่น ๆ รองลงมาเป็นอนุษฏุภฉันท์ จำนวน 157 บท รโถทธตาฉันท์ จำนวน 90 บท วัมศัสถฉันท์ จำนวน 84 บท และวิโยคนีฉันท์ จำนวน 44 บท ส่วนฉันท์นอกจากนี้ ได้แก่ มาลินีฉันท์ จำนวน 6 บท วสันตติลกาฉันท์ จำนวน 4 บท และปุษปิตาคราฉันท์ จำนวน 2 บท ใช้เพียงเพื่อพรรณนาปิดสรรคตอนจบเท่านั้น จึงมีจำนวนที่น้อยกว่าฉันท์ประเภทอื่นที่ใช้พรรณนาเนื้อหาหลัก  3) ศิลปะการหลากคำหรือการใช้คำไวพจน์ในกุมารสัมภวะ  4) การใช้คำขยายประโยคสำหรับพรรณนารายละเอียด  5) การนำธรรมชาติมาพรรณนาในบทประพันธ์ และ 6) กลวิธีการเล่าเรื่องคล้ายบทละคร ในการศึกษาอลังการที่ปรากฏในกุมารสัมภวะ พบว่า วรรณคดีเรื่องกุมารสัมภวะอุดมไปด้วยความงามแห่งอลังการ โดยแบ่งเป็นอรรถาลังการ (อลังการทางความหมาย) และศัพทาลังการ (อลังการทางเสียง) ในส่วนของอรรถาลังการพบการใช้อลังการจำนวน 42 ประเภท โดยจำแนกออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เน้นความหมายเปรียบเทียบ พบอลังการจำนวน 11 ประเภท  กลุ่มที่ 2 เน้นการบรรยายหรือพรรณนาความ พบอลังการจำนวน 6 ประเภท  กลุ่มที่ 3 เน้นพรรณนาความหลายระดับ พบอลังการจำนวน 8 ประเภท  กลุ่มที่ 4 เน้นแสดงพลังของจินตนาการ พบอลังการจำนวน 5 ประเภท  กลุ่มที่ 5 เน้นความหนักแน่นของเนื้อความที่พรรณนา พบอลังการจำนวน 5 ประเภท  กลุ่มที่ 6 เน้นแสดงเหตุและผล พบอลังการจำนวน 4 ประเภท  กลุ่มที่ 7 เน้นกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ เรียงต่อกันตามลำดับ พบอลังการจำนวน 1 ประเภท  และกลุ่มที่ 8 เน้นแสดงอลังการหลายประเภทรวมเข้าในบทเดียวกัน  นอกจากนี้ในส่วนของศัพทาลังการยังพบว่ากาลิทาสนิยมใช้ศัพทาลังการประเภทอนุปราสะอีกด้วย
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3624
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61116204.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.