Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3676
Title: | The denotation and connotation of materials and objests in art การผันแปรของความหมายของวัสดุกับวัตถุในงานศิลปะ |
Authors: | Araya PHANPROM อารยา แผนพรหม Jakapan Vilasineekul จักรพันธ์ วิลาสินีกุล Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts |
Keywords: | วัสดุ วัตถุ แก้ว การให้ความหมาย งานศิลปะ materials objects glass meaning art |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | “Glass” is a term used both materialistically and to describe superimposed objects in which the definition shifts according to the context. The properties of glass have two implications. Glass may refer to a transparent and opaque material or an object made of glass, such as glass panels and water containers. The distinctive features of glass are prominent when produced as items; therefore, the use of glass in art keeps both connotations or singular as either an object or material. Altering the state of glass in art led to the study of denotation and connotation. This study examines the analogy between the materiality of glass and glass as an object, conducted through a series of experiments and various conditions, including the spatial and environmental context that affects vision. The results of the experiment were cross-examined to philosophical concepts, art theory and artist’s case studies as a guide to constructing the artwork.
The project uses the properties of glass to change the physical appearance and form, seamlessly merging glass with the environment and considering the visual aspects as a reference to examine the inversion state of glass and the possibility of creation. This research also examines the potential of using representational images, symbolism and other materials in combination with glass to create art open for interpretation. The project may coincide with the audience’s personal experience, leading to an understanding of the world of objects, the meaning of art, and the aesthetic experience. “แก้ว” เป็นคำเรียกทั้งที่เป็นวัสดุและวัตถุทับซ้อนในคำเดียวกัน และมีความหมายแตกต่างกันตามบริบทของการสื่อสาร แก้วอาจหมายถึงวัสดุชนิดหนึ่งที่มีความโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง หรือหมายถึงวัตถุที่ทำจากแก้ว เช่น แผ่นกระจก ภาชนะใส่น้ำ คุณสมบัติของแก้วเอื้อให้เกิดความหมายสองนัยยะ คุณลักษณะที่โดดเด่นจะยังคงอยู่เมื่อนำแก้วมาผลิตสิ่งของ การนำแก้วมาใช้ในงานสร้างสรรค์ทางศิลปะจะคงความหมายสองนัยไว้ หรืออาจใช้ประโยชน์จากความเป็นวัตถุหรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง และยังทำให้แก้วกลายเป็นวัตถุทางศิลปะอีกด้วย การแปรเปลี่ยนสถานะของแก้วในทางศิลปะนำมาสู่โจทย์ของการศึกษาความผกผันรูปและความหมาย การศึกษานี้มุ่งทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นวัสดุและวัตถุของแก้ว มีการทดลองตรวจสอบแก้วบนเงื่อนไขและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่และบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อการเห็น มีการเทียบเคียงผลการทดลองกับแนวคิดทางปรัชญา ทฤษฎีทางศิลปะ และผลงานของศิลปินกรณีศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางของการสร้างสรรค์งานศิลปะ การสร้างสรรค์ของโครงการนี้ใช้คุณสมบัติพิเศษของแก้วในการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและรูปทรง การกลืนกลายเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบเนียนและความสัมพันธ์กับการมองเห็น ในการตรวจสอบความผกผันของสถานะของแก้วและความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ทางสร้างสรรค์ การค้นคว้านี้ยังตรวจสอบความเป็นไปได้ในการใช้รูปลักษณ์ ภาพ หรือภาพแทน และวัสดุอื่นร่วมกับวัสดุแก้ว เพื่อสร้างงานศิลปะที่มีความหมายปลายเปิด และอาจเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้ชม ซึ่งนำไปสู่การทำความเข้าใจโลกของวัตถุ การเกิดความหมายทางศิลปะ และการรับประสบการณ์ทางสุนทรียะ |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3676 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60002204.pdf | 8.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.