Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3682
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Peerapong WONGTAWEE | en |
dc.contributor | พีระพงษ์ วงษ์ทวี | th |
dc.contributor.advisor | Chaiyosh Isavorapant | en |
dc.contributor.advisor | ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts | en |
dc.date.accessioned | 2022-07-11T07:27:48Z | - |
dc.date.available | 2022-07-11T07:27:48Z | - |
dc.date.issued | 1/7/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3682 | - |
dc.description | Master of Fine Arts (M.F.A.) | en |
dc.description | ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) | th |
dc.description.abstract | Edo period (1603 – 1868) is regarded as the junction between the Mediaeval and Modern Japan. The country in the post-war state led to an establishment of the organising policy along with the development of the country in various fields, both in terms of governance, economy, as well as arts and culture. The advancement of this new capital gradually shaped people's way of life in unprecedented ways. Until there is a term to call such movement that appeared through paintings and prints, “Ukiyo” which means the floating world. The purpose of this thesis is to study the roles, values, as well as to analyse the factors of the use of blue colour in Edo Ukiyo-e prints which are the important pieces of evidence that captured the overview of the period. With the assumption that blue colour has played a prominent role in Japanese society and has led to its use in art which comes from external environmental factors coupled with the thought of the Japanese as an internal factor and also affects back and forth between each other in such a cycle. Qualitative research with this description, researcher used a researching method to study the history of Japanese prints, information about socio-cultural and the visual arts characteristics of nine Edo period ukiyo-e prints, along with other related works, to be summarised as an analysis. The results showed that blue colour has long been associated with Japanese culture and Japanese people’s way of life. Until it appeared in the outstanding role in the Edo period ukiyo-e prints from various factors, which can be classified as follows: 1. Japanese people’s perceptions of blue are contradictory to the religion or sanctity; 2. Blue colour used to be one of the forbidden colours for common people in ancient times; 3. The correlation between the popularity of blue colour both from creative artists and market demands; and 4. Importing of Prussian blue from abroad. | en |
dc.description.abstract | สมัยเอโดะ (1603 – 1868) ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลารอยต่อระหว่างสมัยกลางและยุคสมัยใหม่ของประเทศญี่ปุ่น บ้านเมืองในสภาวะหลังสงครามนำไปสู่นโยบายการจัดระเบียบควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ความเจริญของเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ค่อย ๆ หล่อหลอมวิถีชีวิตของผู้คนในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนขึ้นมา กระทั่งมีคำเรียกขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวที่ปรากฏให้เห็นผ่านทางผลงานจิตรกรรมและภาพพิมพ์ว่า “อุคิโยะ” (Ukiyo) อันหมายความถึงโลกที่ล่องลอย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาบทบาท คุณค่า ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยในการใช้สีน้ำเงินในภาพพิมพ์อุคิโยะเอะสมัยเอโดะ หลักฐานชิ้นสำคัญที่ได้ทำการบันทึกภาพรวมของช่วงเวลาดังกล่าวไว้ โดยมีสมมติฐานว่า สีน้ำเงินนั้นแสดงบทบาทอันโดดเด่นในสังคมญี่ปุ่นจนนำไปสู่การนำไปใช้ในผลงานศิลปะ โดยที่มาจากปัจจัยแวดล้อมภายนอก ควบคู่ไปกับความคิดคำนึงของชาวญี่ปุ่นอันเป็นปัจจัยภายใน ทั้งยังส่งผลกลับไปมาระหว่างกันเป็นวงจรเช่นนั้น การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของภาพพิมพ์ญี่ปุ่น ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรม และลักษณะทางทัศนศิลป์ของภาพพิมพ์อุคิโยะเอะสมัยเอโดะจำนวน 9 ชิ้น ประกอบกับผลงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์สรุป ผลการวิจัยพบว่า สีน้ำเงินนั้นมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้คนและวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้งมาเป็นเวลายาวนาน กระทั่งปรากฏด้วยบทบาทอันโดดเด่นในภาพพิมพ์อุคิโยะสมัยเอโดะจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้ 1. การรับรู้สีน้ำเงินของชาวญี่ปุ่นที่เป็นไปคนละทางกับเรื่องศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 2. สีน้ำเงินเคยเป็นหนึ่งในสีต้องห้ามสำหรับสามัญชนในยุคโบราณ 3. การสอดรับกันระหว่างความนิยมในสีน้ำเงินทั้งจากศิลปินผู้สร้างสรรค์และจากความต้องการของตลาด และ 4. การนำเข้าสีน้ำเงินปรัสเซียนจากต่างประเทศ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | สีน้ำเงิน | th |
dc.subject | โลกที่ล่องลอย | th |
dc.subject | ภาพพิมพ์ | th |
dc.subject | อุคิโยะเอะ | th |
dc.subject | เอโดะ | th |
dc.subject | blue | en |
dc.subject | floating world | en |
dc.subject | prints | en |
dc.subject | Ukiyo-e | en |
dc.subject | Edo | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | THE BLUE COLOUR IN UKIYO-E PRINTS | en |
dc.title | สีน้ำเงินในภาพพิมพ์อุคิโยะเอะ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60005205.pdf | 10.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.