Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3712
Title: TAI YUAN VERNACULAR DWELLING HOUSE: KU BUA AMPHOE MUEANG RATCHABURI. RATCHABURI PROVINCE
เรือนพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยกลุ่มไท-ยวน กรณีศึกษา บ้านคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
Authors: Suriyun CHANSAWANG
สุริยันต์ จันทร์สว่าง
Kreangkrai Kirdsiri
เกรียงไกร เกิดศิริ
Silpakorn University. Architecture
Keywords: เรือนพื้นถิ่น
เรือนไท-ยวนราชบุรี
Vernacular house
Tai yuan khu Bua house Ratchaburi
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to study changes of Tai Yuan ethnic group, which migrated to settle in Ratchaburi. There are several ethnic groups scatter in various areas throughout Ratchaburi and surrounded provinces.  Research framework therefore focuses on studying the changes of the Tai Yuan group in the area, within "Ethnic identity on the diversity of ethnic groups" conceptual framework. The research found that coexistence of different ethnic groups transmitted culturally. Cultural pluralism depicts acceptance between people, which is non-domination in each other. Setting up houses and planning is gradually blending tradition, culture and original style of the area. This stage can be explained in 2 levels, namely the community level and residential level. Community level- Khu Bua community is a collective cultural group with a mix of beliefs at residential level to community level. Worshiping area is as center of the mind of the inhabitants of the house. The village shrine also called "Pu Siew Shrine", which is like community protection from danger. Furthermore, the urban level, Buddha image is major spiritual value of city. At the house level- the identity of the Tai-Yuan Ku Bua house was clearly addressed in 2 issues. Issue 1: Layout and style are explained by a wooden house on stilts with wooden wall cladding. Creating important spatial symbols of the house through "bedroom", also known as "Nai Huen", in the main room. the direction of bedroom is different from original setting. Moreover, bedroom demonstrates central region style, on the other hand, Direction of houses are clearly shown northern traditional style as can be described as "Putting a house across the sun" Issue 2: The house adopts central region style as a model for identity building. The model has been adapted with its original culture. Proportion of houses are similar to those in central region. Differences are the reduction of height and roof steepness. The shape of the roof is rather flat, which is like a traditional northern house style. There possibly are 2-3 gable roof in a house, which is not separation of each one. There is a connecting terrace like a house in the central region. Eaves on sides protect houses from the sun and rain. Sloping roof help to cover the terrace and used areas.
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มไท-ยวน ที่มีการเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดราชบุรี โดยกรอบงานวิจัยจึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มไท-ยวนที่อยู่ในเขตพื้นที่ ในกรอบแนวคิดทาง“อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (Ethnic identity ) บนความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง” (Ethnic ground) ซึ่งการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างกลุ่มในพื้นที่เดียวกันจะมีการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม พบว่าการยอมรับกันของผู้คนที่มีความหลากหลายของวัฒนธรรมของตัวเองต่างมีการยอมรับซึ่งกันและกันมีความเป็น พหุวัฒนธรรม (Cultural Pluralism) ไม่พยายามที่จะครอบงำซึ่งกันและกัน ชาวไท-ยวนคูบัวมีการปรับตัวเข้าหากลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ในพื้นที่ การตั้งถิ่นฐานและปลูกเรือนมีการหยิบยืม ผสมผสานวัฒนธรรมในพื้นที่เดิมอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีการผสมผสานรูปแบบของตัวเองเข้ากับรูปแบบเดิมของพื้นที่ โดยสามารถอธิบายได้ใน 2 ระดับคือ ระดับชุมชนและระดับเรือน ระดับชุมชน  ชุมชนคูบัวเป็นกลุ่มวัฒนธรรมแบบร่วม มีการผสมผสานระหว่างคติความเชื่อในระดับภายในเรือนไปจนถึงระดับชุมชน ในระดับเรือนมีการตั้งหิ้งพระเคารพบูชาเพื่อเป็นศูนย์กลางของจิตใจของผู้อาศัยในเรือน ระดับชุมชนมีการสร้างศาลประจำหมู่บ้าน หรือศาลปู่ตา หรือชาวบ้านเรียกอีกอย่างว่า “ศาลปู่เสี้ยว” ในระดับเมืองที่พบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไท-ยวนในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง คือ พระพุทธรูปประจำเมือง ระดับเรือน  อัตลักษณ์เรือนไท-ยวนคูบัวถูกแสดงออกให้เห็นเด่นชัดอยู่ 2 ประเด็น ประเด็นที่ 1 รูปแบบการวางผัง การสร้างสัญลักษณ์ทางพื้นที่ที่สำคัญของเรือน โดยชาวไท-ยวนคูบัวแสดงออกถึงพื้นที่นี้ผ่านทาง “ห้องนอน” หรือที่เรียกว่า “ในเฮือน” ภายใต้บริบทการวางเรือนหรือทิศทางเรือนที่แตกต่างกับเรือนของเจ้าของพื้นที่เดิม กล่าวคือพบห้องนอนตามรูปแบบเรือนไทยภาคกลาง แต่วางเรือนแบบสอดคล้องกับรูปแบบวัฒนธรรมแบบเรือนชาวเหนือ คือ“การวางเรือนขวางตะวัน” ประเด็นที่ 2 รูปแบบเรือนนำรูปแบบเรือนภาคกลางเป็นต้นแบบในการสร้างอัตลักษณ์ มีการปรับรูปแบบของต้นแบบที่นำมาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิมของตัวเอง สัดส่วนเรือนคล้ายกับเรือนภาคกลาง แต่ลดสัดส่วนของตัวเรือนรูปทรงหลังคาเรียบดูคล้ายกับเรือนภาคเหนือ รูปทรงหลังคาแบบ 2 จั่วหรือ 3 จั่ว ไม่แยกเรือนออกเป็นหลังๆ มีชานเชื่อม ชายคายื่นคลุมด้านข้างบังแดดบังฝน ใช้หลังคาลาดเอียงคลุมพื้นที่ชานและพื้นที่ใช้สอย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3712
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59057805.pdf28.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.