Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3721
Title: THE STUDY OF COMPONENT IN CULTURAL LANDSCAPE:CASE STUDY KET KARAM TEMPLE CHIANGMAI PROVINCE
การศึกษาองค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมกรณีศึกษาชุมชนวัดเกตการาม จ.เชียงใหม่
Authors: Natsinee RUNGPHETMANEE
ณัฎฐ์สิณี รุ่งเพ็ชรมณี
RUJIROTE ANAMBUTR
รุจิโรจน์ อนามบุตร
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ภูมิทัศน์วัฒนธรรม
การประเมินคุณค่า
ชุมชนวัดเกตการาม
CULTURAL LANDSCAPE
VALUATION
WATKETKARAM COMMUNITY
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This article is intended to identify and describe the significant cultural landscape components of Wat ket karam community, located in Muang district, Chiang Mai province. This is a part of a study that assessed the value of the cultural landscape of Wat ket karam community to conserve and develop components the community. The Important components of the cultural landscape was identified and studied. Data is analyzed to eveluate the community’s attributes area to find the value and importance of these cultural landscape components. Wat ket karam community, with 500 years history was settled on the Ping River. It is known as one of Chiang Mai's important and well preserved residential communities. Currently, the community has been going through changes to support the tourism. The changes have impacted on way of life, cultural traditions and the community’s economy, which are important components of the cultural landscape.                                                                                                   From field surveys of the community, physical attributes may be classified into four important components; physical, socio-cultural scenery, historical and economic components. A questionnaire interview was conducted. Respondents were also asked to give rating to twenty four representative pictures to indicate values and importance of cultural landscape components. Respondents rating identified pictures of areas with the highest value; namely the banks of the Ping River, Charoen Rat Road, Wat ket karam and important religious places. Reccommendations were made to pay particular attentions to the critical areas and social economic activities considered essential to the conservation of the cultural landscape.
วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาองค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีความสำคัญของชุมชนวัดเกตการาม เพื่อหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรม และการประเมินคุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนวัดเกตการามเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนวัดเกตการามต่อไป ชุมชนวัดเกตการามมีประวัติศาสตร์นานกว่า 500 ปี มีการตั้งถิ่นฐานบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง ชุมชนนี้มีความโดดเด่นทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม ชาวชุมชนมีศาสนาที่นับถือ 5 ศาสนาด้วยกัน ได้แก่ พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกข์ เป็นชุมชนอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัยของจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีการพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของชุมชน การวิเคราะห์ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ชุมชนวัดเกตการาม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการจำแนกองค์ประกอบที่สำคัญออกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านกายภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านประวัติศาสตร์และด้านเศรษฐกิจ หาเอกลักษณ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม 2 วิธี คือ 1) ใช้คำถามปลายปิด และ 2) ใช้การคัดเลือกภาพตัวแทน เพื่อหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม และทำการประเมินคุณค่าความสำคัญและหาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งนี้ผลที่ได้จากการหาความสัมพันธ์กันขององค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรม พบว่า ทุกองค์ประกอบของภูมิทัศน์วัฒนธรรมล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน โดยองค์ประกอบด้านสังคมและวัฒนธรรมและองค์ประกอบด้านประวัติศาสตร์ เป็นต้นกำเนิดขององค์ประกอบด้านกายภาพ และด้านเศรษฐกิจตามมา และผลจากการประเมินคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมพบว่า พื้นที่ที่มีคุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมสูงที่สุดในแต่ละด้านนั้นจะอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง แนวถนนเจริญราษฎร์และศาสนสถานที่มีความสำคัญ ดังนั้น แนวทางการพิจารณาคุณค่าจึงควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงต่อบริบทเมืองและสังคมวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม
Description: Master of Landscape Architecture (M.L.A.)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3721
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60060204.pdf15.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.