Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3729
Title: Design Concepts between Day and Night Architecture
แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมระหว่างกลางวันและกลางคืน
Authors: Keattiphoom CHOCKTHANADECH
เกียรติภูมิ โชคธนเดช
Likit Kittisakdinan
ลิขิต กิตติศักดินันท์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: การทำงานร่วมกันของสถาปัตยกรรมระหว่างกลางวันและกลางคืนจากความหลากหลายของโปรแกรม
ความซับซ้อนของอาคารพาณิชยกรรมร่วมสมัย
ความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษย์
วิธีการออกแบบสถาปัตยกรรมจากโปรแกรมการใช้งานระหว่างกลางวันถึงกลางคืน
cooperations of day-till-night multiple architectural programs
contemporary commercial building complex
multiplicity of human lifestyles
architectural design methods for day-till-night programmatic components
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Throughout the history of architecture, most architects put much emphasis of natural daylight condition for their building designs.  For the practical aspects of how human use their living spaces, the provision of active daylight hours has usually become the priority in the designs of their habitats. In response to the contemporary lifestyles, several building projects mainly valued for their business qualities and successes in matters of economy and productivity have been appropriated as an integral part of design goals. Thus, the maximum extent of active/passive human occupancy and private/commercial usage between day shifts to night shifts hence need to be discussed and further explored. In recent times, the multiplicity and complexity of modern-man lifestyles have been influencing the practices of interior and exterior building design. However, as part of the master thesis this article focuses on the exemplary series of the architectural solution responding to the coexistence of multiple programs together with complex functional requirements. The unique conditions from the brief rest upon the uncommonly combined programmatic features which are all situated within each of the three bounded properties and whose three distinct operations and uses expand across the cycle of day-night hours. Subsequently, architecture and its innovative arrangement of natural and artificial lighting qualities will be utilized as the main design instrument. In the hope to provide new possibilities in architectural design, the proposal through the method of integrated instrumentation between natural daylight and artificial nightlight aims to demonstrate a new type of potential harmony generated by the incoherent timetables of various occupants and the diverse locations of access/exit points. Moreover, the three different physical scopes and scales of these architectural prototypes apply the same sets of design approach upon three building sites: a private residential model, a small neighborhood model and a large community model.
ในประวัติศาสตร์ในการออกแบบสถาปัตยกรรม สถาปนิกส่วนมากให้ความสำคัญกับการจัดการคุณภาพแสงธรรมชาติในการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากความต้องการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติในการอยู่อาศัยของมนุษย์ แนวทางในการจัดการแสงธรรมชาติจึงมีบทบาทสำคัญในการออกแบบสถานที่อยู่อาศัย และเพื่อตอบสนองต่อวิถีชีวิตที่ร่วมสมัย ในหลายโครงการก่อสร้างให้ความสำคัญกับคุณภาพทางธุรกิจเป้าหมายทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญ จึงเป็นแนวคิดในการกำหนดเป็นเป้าหมายสำคัญในการออกแบบ ในการค้นหาประสิทธิภาพสูงสุดในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติและการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความยั่งยืนในการใช้พลังงาน ในระดับการใช้งานพื้นที่ส่วนตัวตลอดจนถึงการใช้งานเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ในระหว่างกลางวันและกลางคืนจึงเป็นที่มาของการศึกษา ในช่วงที่ผ่านมาวิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ที่มีความหลากหลายและมีความซับซ้อน ได้มีอิทธิพลส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งการใช้งานจากภายในและภายนอก อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ในระดับปริณญาโทฉบับนี้ เนื้อหาของบทความมุ่งเน้นในการศึกษารูปแบบตัวอย่างสำหรับแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่สามารถตอบสนองต่อการอยู่ร่วมกันของโปรแกรมที่หลากหลายและความต้องการในการใช้งานที่มีความซับซ้อน ด้วยเงื่อนไขที่มีความเฉพาะจากคุณลักษณะของการอยู่รวมกันของโปรแกรม ซึ่งทั้งหมดที่เป็นคุณสมบัติที่มีขอบเขตและการทำงานที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ โดยมีแนวคิดในการขยายเวลาในการใช้งานสถาปัตยกรรมตลอดจนระหว่างกลางวันและกลางคืน โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมและนวัตกรรมในการออกแบบในการจัดการแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการออกแบบ โดยมีความคาดหวังในการนำเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบใหม่ผ่านวิธีการบูรณาการแนวคิดในการออกแบบระหว่างแสงธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ในเวลากลางคืน โดยมีเป้าหมายในการแสดงออกถึงความกลมกลืนรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอาคารที่ต่างสภาพเวลากันของผู้ใช้งาน และสถานที่เข้าออกที่หลากหลาย ด้วยความแตกต่างของขอบเขตและขนาดทางกายภาพที่แตกต่างกันทั้ง3รูปแบบ สถาปัตยกรรมต้นแบบทั้ง3หน่วยถูกนำมาออกแบบโดยใช้แนวทางเดียวกันในการออกแบบลงบนพื้นที่ตั้งทั้งสาม โดยมีลำดับจากรูปแบบอาคารพักอาศัยที่มีความเป็นส่วนตัว พื้นที่ขนาดกลางในละแวกชุมชนและพื้นที่ชุมชนขนาดใหญ่
Description: Master of Architecture (M.Arch)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3729
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630220007.pdf15.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.