Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3746
Title: A  Comparative  Study  of  Hanumāna  in  Vālmīki’s  Rāmāyaṇa and  in  King  Rama I’s  Rāmakian.
การศึกษาเปรียบเทียบหนุมานในรายณะของวาลมีกิและบทละครรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
Authors: Thichakorn PALIN
ทิชากร พลิน
Chainarong Klinoi
ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: หนุมาน, รามายณะ, รามเกียรติ์
Hanumāna Rāmāyaṇa Rāmakian
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Hanumāna created by Vālmīki is the child of mother Añjanā and father Māruta. He is an ape-born creature because Añjanā’s mother is ape king. Due to blessing from the Brahma God, he becomes greatly strong and invincible. While serving in joining Rāma’s troop, he has strict behaviors, responsibility, intelligence, deliberation, morality, and chasteness. Meanwhile, Hanumāna depicted within the royal work has ape race because his mother, Svāha, gets cursed to give birth to an ape. This Hanumāna has father named Vāyu, the god of wind. He gets blessed by the high god Śiva to have the great and unbeatable power. He has resurrective ability which allows him to revive his life after the death merely by a wind blow. As same as the Rāmāyaṇa story, the royal portrayed Hanumāna serves Rāma. This Hanumāna has various differences when compared to the Vālmīki’s. In other words, the royal portrayed Hanumāna has four faces, eight arms, earring, crystal fang, diamond white hair, the star yawning ability, and many wives. Besides, Rāmakian also depicts the Hanumāna’s roles as king and father.           With respect to creation and presentation, the Vālmīki’s Hanumāna is portrayed as an avatar of the god. He is calm, tranquil, celibacy-practicing, and worshiped by people. Meanwhile, the Rāmakian illustrates him as a creature with human-like. In the King’s literature, Hanumāna has wild range of emotions including fear, anger, anxiety, and flirting characteristic. This can be said that the Rāmakian’s Hanumāna is created to be close to human-being when compared to the Rāmāyaṇa’s. Therefore, it is easily understood and perceived by readers.           Regarding to Rasa, due to the two literatures are relating to the battles among humans, apes, and ogres, the similar taste embraced within is bravery (Vera Rasa). Rāmakian expresses fondness taste (Śṛiṅgāra Rasa) of Hanumāna which is absent from Rāmāyaṇa. While Vālmīki’s Hanumāna is chasten, and expresses the fondness taste as the second taste following the bravery.  
หนุมานในรามายณะเป็นบุตรของพระมารุตกับนางอัญชนา  เป็นวานรโดยกำเนิดเนื่องด้วยมารดาเป็นธิดาของพญาวานร  หนุมานมีกำลังมหาศาลและไม่มีใครฆ่าให้ตายได้เนื่องจากได้รับพรจากพระพรหม  เมื่อถวายตัวเป็นทหารรับใช้พระราม  ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด  มีความรับผิดชอบ  มีความฉลาด  รอบคอบ  มีศีลธรรม  และประพฤติพรหมจรรย์   ส่วนหนุมานในรามเกียรติ์เป็นบุตรของพระพายกับนางสวาหะ  เป็นวานรเนื่องด้วยนางสวาหะถูกสาปให้มีบุตรเป็นวานร  ได้รับพรจากพระอิศวรให้มีกำลังมหาศาล  และเมื่อถูกฆ่าตายเพียงลมพัดมาต้องกายก็จะฟื้นคืนมา  หนุมานได้ถวายตัวเป็นทหารรับใช้พระรามเช่นเดียวกับเรื่องรามายณะ  แต่ในรามเกียรติ์นั้นตัวละครหนุมานมีความแตกต่างจากรามายณะ  ได้แก่  มีสี่หน้า  แปดมือ  มีกุณฑล  ขนเพชร  เขี้ยวแก้ว  หาวเป็นดาวเป็นเดือน  มีเมียหลายคน นอกจากนี้หนุมานยังมีบทบาทเป็นบิดาและเป็นกษัตริย์อีกด้วย           ด้านกลวิธีการสร้างและนำเสนอตัวละคร  หนุมานในรามายณะถูกประพันธ์ให้เป็นสมมุติเทพ  กล่าวคือ  มีความนิ่ง  สงบ  ประพฤติพรหมจรรย์  ไม่ข้องเกี่ยวกับสตรี  อีกทั้งยังถูกผู้อื่นบูชา  ในขณะที่หนุมานในรามเกียรติ์ถูกสร้างให้มีลักษณะที่สมจริงตามธรรมชาติของความเป็นมนุษย์  กล่าวคือ  มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ทั้งโกรธ  กลัว  วิตกกังวล  และเจ้าชู้  แสดงให้เห็นว่าหนุมานในรามเกียรติ์ถูกสร้างให้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากกว่ารามายณะเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงบทประพันธ์ได้ง่ายและอ่านเข้าใจมากขึ้น           ด้านรสวรรณคดีที่ปรากฏเฉพาะตอนของหนุมาน  เนื่องจากเนื้อเรื่องเป็นการทำสงครามระหว่างมนุษย์  วานร  และยักษ์  ดังนั้นรสวรรณคดีทั้งในรามายณะและรามเกียรติ์ปรากฏรสวรรณคดีที่ใกล้เคียงกัน  คือ วีรรส (ความกล้าหาญ)  และรสวรรณคดีที่ไม่ปรากฏในรามายณะตอนของหนุมาน  คือ  ศฤงคารรส (ความรัก) เนื่องด้วยหนุมานประพฤติพรหมจรรย์  แต่ในรามเกียรติ์กลับปรากฏ  ศฤงคารรส (ความรัก)  เป็นลำดับที่สองถัดจาก  วีรรส (ความกล้าหาญ) 
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3746
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59116209.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.