Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3753
Title: O Smach Inscription K.1198 : Ancient Khmer Vocabulary and Essence
จารึกโอเสม็ด K.1198 : คำศัพท์เขมรโบราณและสารัตถะ  
Authors: Kmonrat VISADSIRIVARRAKUL
กมลรัตน์ วิเศษสิริวรกุล
Kangvol Khatshima
กังวล คัชชิมา
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: จารึกโอเสม็ด,พระเจ้าสูรยวรมันที่1,คำศัพท์เขมรโบราณ
Inscription O SMACH
Sūryavarman I
ancient Khmer Vocabulary
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis aims to study the ancient Khmer vocabulary and essence in the O SMACH inscription. By transliterating the text in the O SMACH inscription from the ancient Khmer script to the Roman script and translating the text from ancient Khmer and Sanskrit into Thai. The study found that Ancient Khmer words in the O SMACH inscription can be divided into 9 groups: 1. Vocabulary about nomenclature 2. Vocabulary related to royal terms 3. Vocabulary about property 4. Vocabulary related to religious and ritual 5. Vocabulary about Laws and regulations 6. Vocabulary related to time and direction 7. Grammatical vocabulary 8. Vocabulary about Weights and Measures 9. Vocabulary related to kinship, which the group with the highest number of words is Vocabulary about nomenclature. However, among the 9 vocabulary groups, some words did not have a meaning, some words appear in use until now, but the sound has been changed and some words are lost and no longer appear in use nowadays. From the study, it was found that The O SMACH inscription has 3 themes of the essence: 1. The historical essence of politics and governance reflected the possibility of the ancient Khmer kingdom during the 10 th century, such as the ascended the throne of King Sūryavarman I, the administration of the monarch, the ruling of the dispute over land ownership, and the extension of power to the city of Lavapura (Lopburi), 2. The Economic and social essence reflects trade dealings, collection, taxation, borrowing, and trading. and 3. Religion and Rituals essence reflects that King Sūryavarman I mainly adheres to the Shiva sect of Hinduism but did not block other religions for the people such as Vaishnav Sect and Buddhism. Moreover, there are 5 significant rituals namely: 1. Brahmayajña 2. Mātṛyajña 3. Pan-lyaṅ suvarṇnaliṅga 4. Dhānyadaha 5. BaddhaPratijñā by studying the rituals that appear in the inscriptions also enables students to recognize and understand more ancient traditions.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำศัพท์เขมรโบราณและสารัตถะในจารึกโอเสม็ด โดยในเบื้องต้น ผู้วิจัยได้ปริวรรตข้อความในจารึกโอเสม็ดจากอักษรเขมรโบราณให้เป็นอักษรโรมัน และแปลตัวบทจากภาษาเขมรโบราณและภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย จากนั้นจึงศึกษาตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ จากการศึกษาคำศัพท์พบว่า คำศัพท์ภาษาเขมรโบราณในจารึกโอเสม็ด สามารถแบ่งออกได้เป็น 9  กลุ่ม ได้แก่ 1. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับชื่อเฉพาะ 2. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำราชาศัพท์ 3. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ สิ่งของ 4. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา พิธีกรรมและเทพ  5. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและกฎระเบียบ 6. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำบอกเวลาและทิศทาง 7. คำศัพท์ทางไวยากรณ์ 8. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ มาตรา ชั่ง ตวง วัด 9. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเครือญาติ กลุ่มที่พบมากที่สุด คือ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับชื่อเฉพาะ ทั้งนี้ ในบรรดาคำศัพท์ทั้ง 9 กลุ่ม คำศัพท์บางคำไม่พบความหมายในปัจจุบัน บางคำปรากฏการใช้มาจนถึงปัจจุบันโดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางเสียง และบางคำสูญหายไปไม่ปรากฏการใช้อีกในปัจจุบัน จากการศึกษาสารัตถะพบว่า จารึกโอเสม็ดมีสารัตถะ 3 ประเด็น ได้แก่ 1. สารัตถะด้านประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง ได้สะท้อนภาพความเป็นไปของอาณาจักรเขมรโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ได้แก่ การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 การเสด็จออกว่าราชการ การพิพากษาคดีความในการแย่งชิงกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน และการขยายอำนาจไปยังเมืองลวปุระ (ลพบุรี) 2. สารัตถะด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้สะท้อนให้เห็นภาพการติดต่อซื้อขาย มีการเก็บและเสียภาษี การกู้หนี้ยืมสิน และการซื้อขายแลกเปลี่ยน และ 3. สารัตถะด้านศาสนาและพิธีกรรม ได้สะท้อนให้เห็นว่าพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ทรงนับถือศาสนาฮินดูไศวนิกายเป็นหลัก แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นการนับถือศาสนาอื่น เช่น ไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ สำหรับพิธีกรรมนั้นมีพิธีพรหมยัชญะ พิธีมาตฤยัชญะ พิธีปัลยางคสุวรรณลิงคะ พิธีพัทธประติชญาหรือพิธีสาบานตน และพิธีธานยเทาะห์หรือพิธีเผาข้าว
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3753
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60114207.pdf8.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.