Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3754
Title: A Study of Essence and Usage of Diplomatic Language in Royal Letters in the reign of King Rama IV
การศึกษาสารัตถะและการใช้ภาษาทางการทูตในพระราชสาส์นสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Authors: Pratsaneeporn PHLAYKUMNERD
ปรัศนีภรณ์ พลายกำเหนิด
Orawan Bunyarith
อรวรรณ บุญยฤทธิ์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: พระราชสาส์น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สารัตถะ
การใช้ภาษาทางการทูต
Royal Letters
King Mongkut
Essence
Usage of diplomatic language
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study investigated the physical appearance, the essence and the usage of diplomatic language of 75 royal letters during the reign of King Mongkut (King Rama IV) consisting of 64 royal letters to the heads of states of the western countries, and 11 royal letters from those countries. The study of the physical appearance showed that the royal letters were written in Thai traditional book [Thai long book made from Khoi paper], also known as Samuttheufao, with Rattanakosin and Roman scripts. There are 3 script patterns; scribble script, scribble-clear script and clear script. Error correction was done in many ways such as rubbing out, marking circles or underlining the mistakes, as well as adding corrections above or under those errors. In terms of orthography, the words used in the letters had similar spellings to the modern language; however, some consonants, vowels or tone marks positioning were slightly shifted. There is no indentation for each paragraph. In addition, ancient symbols were used for the purpose of beauty and neatness. The obvious symbol found is the great crown symbol representing the name of King Mongkut. The results of the essence were as follows: 1) The essence found in the drafts had more details than that in official royal letters and their copy, mostly concerning the process of writing the royal letters. 2) The letters’ essence could be categorized into 4 parts. 2.1) The process of writing the royal letters, the finding revealed that King Mongkut mostly drafted the letters, in Thai by himself before being approved by the royal commission. After receiving an approval, the royal scribe copied content in the royal letters. For the English version, King Mongkut translated and wrote every royal letter himself. 2.2) Diplomatic ceremonial and protocol, the royal receptions, the preparation for the procession of the royal letter, the royal audience, the presentation of the letter, and the appointment ambassadors of Siam and western countries were mentioned. 2.3) The tribute, pictures were the most popular gifts. Additionally, other royal gifts like Siamese apparels, the Emerald Buddha image painted partition, and Rajawadi-style golden inkwell with elephant-shape ink cap illustrated that Siam was rich in natural resources, cultural heritage and local wisdom. The royal letters were also considered as royal gifts since they were engraved on the golden plates accompanied by the exquisite and valuable gold containers. The heads of states of the western countries usually sent some technological artifacts, such as the device for transmitting messages (magnetic telegraph like) and printing machines. In return, Siam also sent some products made out of the western artifacts, for instance, daguerreotype and coins from coin-operated machines. 2.4) Treaty of amity and commerce, under the influence of the Great Britain, Siam was forced to sign the new treaty resulting in changes in the country’s foreign policy. After the first treaty, Siamese government agreed to sign other treaties with many western countries under the similar terms of agreement made with the Great Britain. The usage of diplomatic language in the royal letters can be categorized into 4 parts. 1) Self-introduction and the purpose of communication, King Mongkut introduced himself with his full title, followed by the name of the country and its territory, whereas, the heads of states of western countries usually stated with his or her names and mentioned God’s mercy. The purpose of the royal letters was to cultivate friendly relationships with western countries. 2) Diplomatic etiquette, in the royal letters, King Mongkut expressed his gratitude after receiving gifts. He also stated that he expected those tributes to be tokens of friendship among the nations. Apart from that, the king expressed condolences and conveyed his worry when there was no response from western countries. 3) Diplomatic persuasion. diplomatic language was used to pave the way for establishing the treaty of amity and commerce. 4) The letter closing, it was found that King Mongkut and the heads of states of western countries ended the royal letters by sending their regards and expressing expectation to maintain the relationship in the future. Nevertheless, the statements showing admiration toward western countries were only found in royal letters of Siam. The date and place may or may not be mentioned. Moreover, the date in Thai royal letter was written based on the solar and lunar calendars.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ สารัตถะ รวมถึงการใช้ภาษาทางการทูตในพระราชสาส์นฉบับร่างที่มีไปมาระหว่างสยามกับประเทศตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) จำนวน 75 ฉบับ แบ่งเป็นพระราชสาส์นที่พระราชทานไปยังประมุขของประเทศตะวันตกจำนวน 64 ฉบับ และพระราชสาส์นของประมุขประเทศตะวันตกจำนวน 11 ฉบับ จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพ พบว่า วัสดุที่ใช้บันทึกพระราชสาส์นเป็นเอกสารตัวเขียนประเภทหนังสือสมุดไทย เรียกอีกชื่อว่า “สมุดถือเฝ้า” บันทึกด้วยทั้งอักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ภาษาไทย และอักษรโรมันภาษาอังกฤษ พบทั้งลายมือหวัด ลายมือบรรจง และลายมือหวัดแกมบรรจง การแก้ไขคำหรือข้อความใช้การลบให้เลือนและตกแทรกวงกา อักขรวิธีในพระราชสาส์นมีวิธีการเขียนสะกดคำคล้ายคลึงกับปัจจุบัน แต่มีการวางตำแหน่งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และการสะกดคําแตกต่างจากการเขียนแบบปัจจุบันบ้าง การขึ้นต้นเนื้อความไม่มีการย่อหน้า มีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายโบราณเพื่อความเป็นระเบียบและสวยงาม โดยสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดคือสัญลักษณ์รูปพระมหามงกุฎ หมายถึง “เจ้าฟ้ามงกุฎ” หรือ “คิงส์มงกุฎ” ซึ่งเป็นพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการศึกษาสารัตถะในพระราชสาส์น พบว่า 1) สารัตถะที่พบเฉพาะในพระราชสาส์นฉบับร่าง มีการเขียนข้อความที่อยู่นอกเหนือจากพระราชสาส์นสุพรรณบัฏและสำเนาพระราชสาส์น ส่วนใหญ่เน้นเรื่องกระบวนการจัดทำพระราชสาส์น 2) สารัตถะที่พบในพระราชสาส์นที่ส่งไปยังประเทศต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 ส่วนย่อย ได้แก่ 2.1) กระบวนการจัดทำพระราชสาส์น พบว่า รัชกาลที่ 4 ทรงร่างข้อความเป็นภาษาไทยด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ ก่อนให้ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบแล้วจึงให้อาลักษณ์จารลงบนพระราชสาส์นฉบับจริง ส่วนข้อความในพระราชสาส์นฉบับภาษาอังกฤษ พระองค์ทรงแปลและเขียนด้วยพระองค์เอง 2.2) ระเบียบพิธีการทูต พบเรื่องการต้อนรับผู้แทนทางการทูตประเทศตะวันตก การจัดเตรียมพิธีแห่รับพระราชสาส์น การเข้าเฝ้าฯ ถวายพระราชสาส์น และการแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตทั้งฝ่ายสยามและตะวันตกตามคุณสมบัติที่เหมาะสม 2.3) เครื่องมงคลราชบรรณาการ สยามและต่างประเทศนิยมส่งรูปภาพมากที่สุด เครื่องมงคลราชบรรณาการอื่น ๆ จากสยาม เช่น ผ้าทรงแบบต่าง ๆ ฉากรูปพระแก้วมรกต ขวดหมึกทองคำลงยาราชาวดีที่ฝาขวดเป็นรูปช้าง สะท้อนพระราชประสงค์แนะนำสยามว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากร วัฒนธรรมและภูมิปัญญาสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน อนึ่ง พระราชสาส์นสุพรรณบัฏน่าจะจัดเป็นเครื่องมงคลราชบรรณาการชนิดหนึ่งด้วย เนื่องจากจารึกลงบนแผ่นทองคำและมีบรรจุภัณฑ์ที่ประณีตทำจากทองคำซึ่งเป็นของมีค่า ส่วนเครื่องมงคลราชบรรณาการจากประมุขประเทศตะวันตกมักเป็นสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ของใช้ด้านเทคโนโลยี เช่น เครื่องส่งข่าวด้วยกำลังแม่เหล็ก เครื่องตีพิมพ์หนังสือ พระราชสาส์นยังให้ข้อมูลอีกว่าสยามสามารถสร้างผลผลิตจากเครื่องบรรณาการตะวันตกอันเป็นวิทยาการใหม่ ๆ ถวายกลับไป ดังเช่น หนังสือทำพิมพ์ในศิลา เงินเหรียญที่ผลิตจากเครื่องจักรทำเงิน 2.4) สนธิสัญญาทางไมตรีและการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากสยามต้องทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ตามเงื่อนไขของประเทศตะวันตก และมีผลให้เกิดการปลี่ยนแปลงนโยบายการต่างประเทศ ภายหลังการทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้าฉบับแรกกับอังกฤษแล้ว ประเทศตะวันตกอื่น ๆ ก็เข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้าด้วย ทั้งนี้ ฝ่ายสยามยอมทำสนธิสัญญาให้ประเทศคู่สัญญาได้รับสิทธิประโยชน์ไม่มากไปกว่าที่สยามยอมให้แก่อังกฤษ ผลการศึกษาการใช้ภาษาทางการทูตในพระราชสาส์น ซึ่งมี 4 ส่วน 1) การแนะนำตัวและการแสดงเจตจำนงในการสื่อสาร พบว่า ส่วนใหญ่รัชกาลที่ 4 ทรงแนะนำพระองค์ด้วยพระนามขนาดยาว ขยายความด้วยชื่อประเทศและพื้นที่การปกครอง ซึ่งเป็นการแนะนำสยามสู่สายตาชาวตะวันตก ในขณะที่การแนะนำตัวของประมุขประเทศตะวันตกเน้นการระบุพระนามและอ้างถึงพระเมตตาของพระเจ้า ส่วนการแสดงเจตจำนงในการสื่อสาร เป็นการแสดงวัตถุประสงค์เพื่อขอผูกมิตรและตอบรับพระราชสาส์น 2) การแสดงมารยาททางการทูต พบการแสดงความขอบใจเมื่อได้รับเครื่องมงคลราชบรรณาการ การแสดงไมตรีโดยคาดหวังให้เครื่องบรรณาการเป็นที่ระลึกถึงทางพระราชไมตรีระหว่างประมุขทั้งสองประเทศเสมือนได้พบหน้ากัน การแสดงความเสียใจใช้ถ้อยคำแสดงความรู้สึกสูญเสียร่วม และการแสดงความวิตกกังวลปรากฏเมื่อไม่มีการตอบรับพระราชสาส์นจากประเทศตะวันตก 3) การโน้มน้าว พบว่า พระราชสาส์นมีการใช้ภาษาทางการทูตเพื่อปูทางหรือหยั่งเชิง ก่อนเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้าอย่างเป็นทางการ 4) การลงท้ายพระราชสาส์น พบว่า ทั้งพระราชสาส์นของรัชกาลที่ 4 และประมุขประเทศตะวันตกเหมือนกัน คือ คำลงท้ายเป็นการฝากความระลึกถึงและคาดหวังให้มีการสานสัมพันธไมตรีต่อไป โดยการกล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศตะวันตกเพื่อแสดงความคาดหวังให้ช่วยอนุเคราะห์พบในพระราชสาส์นจากสยามเท่านั้น ข้อความต่อจากคำลงท้ายในพระราชสาส์น อาจระบุวัน เดือน ปี สถานที่ที่เขียนพระราชสาส์นหรือไม่ก็ได้ โดยพระราชสาส์นจากสยามจะระบุวัน เดือน ปี ด้วยระบบปฏิทินจันทรคติตามความนิยมแบบไทย และระบบปฏิทินสุริยคติตามความนิยมแบบตะวันตก   
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3754
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60114210.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.