Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3759
Title: Nam Pak Sathorn : The Processes of Identity Construction in Dansai Food Case Study Nadi Village, Nadi Sub-District, Dansai District, Loei Province
น้ำผักสะทอน: กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ในอาหารด่านซ้าย กรณีศึกษาบ้านนาดีตำบลนาดี อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
Authors: Jariya NAKHAMPHA
จริยา นาคำภา
Ekarin Phungpracha
เอกรินทร์ พึ่งประชา
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: อัตลักษณ์
วัฒนธรรมอาหาร
คนด่านซ้าย
น้ำผักสะทอน
identity
food culture
Dan Sai poeple
Nam Pak Sathorn
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study of Nam Pak Sathorn (Sathorn Juice), a process of constructing identities of Dansai food and a case study of Nadee village, Nadee sub-district, Dansai district, Loei province aimed at 1) to examine values and meaning of Nam Pak Sathorn in Nadee Village, Dansai district, Loei province 2) to explore Sathorn Juice production process as a Dansai identity. The research was conducted with an anthropological methods that used a holistic approach by interviewing and investigating both a participation and non-participation to analyze food culture along with an identity and to find out how Nam Pak Sathorn became a Dansai identity construction process. The findings indicated that Nam Pak Sathorn as a Dansai’s identity was created by a local context and has been with Dansai people a very long time. It has been adapted to new generation as well as a new economic corridor which is a significant condition nowadays. Dansai can be used to explain a meaning in different dimension according to their cultures. Consequently, a use in either social or cultural meaning identifies an identity. A process of constructing Nam Pak Sathorn identities is to identify a meaning of Nam Pak Sathorn which was reflected through a sophisticated meaning also has adapted and stayed over a new economic corridor which is a major condition nowadays.
การศึกษาเรื่อง “น้ำผักสะทอน กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ในอาหารด่านซ้าย กรณีศึกษาบ้านนาดี ตำบลนาดี อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณค่าและความหมายของน้ำผักสะทอนในบริบทบ้านนาดี อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย 2) ศึกษากระบวนการทำน้ำผักสะทอนให้เป็นอัตลักษณ์ของคนด่านซ้าย ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา อาศัยการเก็บข้อมูลแบบองค์รวม ทั้งการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดวัฒนธรรมอาหาร (food culture) และแนวคิดอัตลักษณ์ (identity) เพื่อตอบคำถามว่า “น้ำผักสะทอน เป็นกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของคนด่านซ้ายได้อย่างไร”  ผลการศึกษา พบว่า การที่น้ำผักสะทอนกลายเป็นอัตลักษณ์ด่านซ้าย เกิดจากกระบวนการสร้างความหมายของน้ำผักสะทอนภายใต้พื้นที่หรือบริบทเฉพาะถิ่น และก่อปฏิสัมพันธ์กับคนด่านซ้ายมายาวนาน มีการปรับตัวและต่อรองกับเงื่อนไขทางสังคมในยุคสมัยต่าง ๆ จนกระทั่งปรับตัวร่วมกับพื้นที่ทางเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของโลกปัจจุบัน และเพราะความหมายที่หลากหลายเหล่านั้นเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและเงื่อนไขต่าง ๆ ในพื้นที่หรือวัฒนธรรมเดียวกัน คือ ด่านซ้าย ทำให้คนด่านซ้ายสามารถหยิบชูและหยิบใช้ความหมายของน้ำผักสะทอนในมิติต่าง ๆ ได้ตามเงื่อนไขในชีวิต การหยิบใช้ความหมายทางสังคม/วัฒนธรรมเพียงด้านใดด้านหนึ่ง คือ ลักษณะการแสดงออกเชิงอัตลักษณ์ ดังนั้น “กระบวนการสร้างอัตลักษณ์น้ำผักสะทอน” คือ กระบวนการสร้างความหมายของน้ำผักสะทอนที่สะท้อนผ่านความหมายที่ซับซ้อนและมีการปรับตัว ต่อรอง และเหยียบยืนเหนือพื้นที่ทางเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของโลกยุคปัจจุบัน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3759
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620320015.pdf7.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.