Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3764
Title: COMMUNICATION DESIGN FOR ALTERNATIVE TOURISM IN KHEK NOI HMONG COMMUNITY OF PHETCHABUN’S KHAO KHO DISTRICT 
การออกแบบสื่อสารเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวนอกระแส ชุมชนม้งเข็กน้อย อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
Authors: Thanyatorn PANVONGSA
ธันยธรณ์ แป้นวงษา
Pradiphat Lertrujidumrongkul
ประดิพัทธุ์ เลิศรุจิดำรงค์กุล
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: การท่องเที่ยว
ชุมชนม้ง
ออกแบบสื่อสาร
Tourism
Hmong Community
Communication design
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Phetchabun’s Khao Kho District was previously a battlefield (1965-1982) between the government and the communists. At that time, Khek Noi was the area where the Royal Thai Army allowed the Hmong allies to settle, and approximately 20,000 Hmong people lives in the Khek Noi Hmong Community at present. Keeping their cultural traditions alive, the Hmong people possess various skills including embroidery, fabric dying, hemp fabric making and food processing. They also develop their soft skills in hospitality and tourism. Due to the investment from numerous parties and tourism organizations, there are currently exact number of popular tourist attractions in Khao Kho District and the economy there has grown rapidly. However, the investors can yield much greater profits from natural resources than the local Hmong people. Not only being affected by income inequality, the Khek Noi Hmong Community is faced with problems about limited access to technology. As a result, different forms of communication assets are created to promote alternative tourism in the Khek Noi Hmong Community. They are used as tools to create awareness among tourists, to directly communicate with the target audience craving for local experience, to facilitate tourism services in the community as well as to increase effective communication among the community members. The service designs also offer a helpful guideline for working with the community and can be put to practical use in the future. 
ดินแดนเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมทีเป็นสมรภูมิรบระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ เริ่มในปี พ.ศ. 2508 และยุติลงในปี พ.ศ. 2525  ซึ่งชุมชนม้งเข็กน้อยเป็นพื้นที่ที่กองทัพจัดสรรให้แก่ราษฎรชาวเขาเผ่าม้งที่อาสาสมัครร่วมรบในสงคราม มีประชากรชาวม้งประมาณสองหมื่นคนในปัจจุบัน โดยภายในชุมชนยังคงดำรงวิถีชีวิตดั้งเดิมและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีทักษะความสามารถหลายด้าน ทั้งงานผ้าปัก อาหาร ผลผลิตแปรรูป รวมถึงทักษะงานบริการด้านการท่องเที่ยว  แต่ในปัจจุบันอำเภอเขาค้อมีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมหลายสิบแห่งจากการเข้ามาลงทุนของหลายฝ่าย มีหน่วยงานเข้ามาส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง   จึงทำให้อำเภอเขาค้อเติบโตอย่างรวดเร็ว นายทุนสามารถทำกำไรจากทรัพยากรธรรมชาติได้มากกว่าคนในชุมชนดั้งเดิม ส่งผลให้ชุมชนม้งไม่ได้รับการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม มีปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีและยังต้องแบกรับต้นทุนทางทรัพยากรจากการท่องเที่ยวที่ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วม ด้วยเหตุนี้เอง การออกแบบสื่อสารจึงมีส่วนสำคัญที่จะสามารถเข้ามาส่งเสริมการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับความนิยม สร้างการรับรู้และสื่อสารได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวมุ่งหาประสบการณ์ การออกแบบสื่อสารยังเป็นสื่อที่ใช้อำนวยความสะดวกให้กับการบริการด้านการท่องเที่ยว สามารถลดความสับสนในการทำงานของคนในชุมชน โดยผู้วิจัยได้ดำเนินงานภายใต้เครื่องมือการออกแบบบริการ Service Design ซึ่งนำมาเป็นแนวทางทำงานร่วมกับคนในชุมชนและผลักดันสู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3764
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620420023.pdf24.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.