Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3769
Title: A study of social problems in Saowari’s literary works
การศึกษาปัญหาสังคมในงานเขียนของเสาวรี
Authors: Supalak HOMCHUEN
ศุภลักษณ์ หอมชื่น
Nantawan Sunthonparasathit
นันทวัลย์ สุนทรภาระสถิตย์
Silpakorn University. Arts
Keywords: ปัญหาสังคม
เสาวรี
วรรณกรรมกับสังคม
social problem
Saowari
literature and society
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis aims to study social problems and social contexts in the Saowari’s literary works, and to analyze Soawari’s social perception appearing in the literary works. By investigating 60 literary works of Saowari in 1999 to 2017, the works can be categorized into three novels and fifty-seven short stories. The result reveals that social problem can be divided into three groups. Firstly, the violence against women is presented through female characters. Saowari takes the sexual assault, abortion, and domestic violence as serious problems. The female characters, in this group, are presented as victims of violence. Saowari criticizes the myth of sexual assault by projecting settings and offender characters. It projects that the motivation of sexual assault is not caused by the women, but it is caused by the men who are unable to control their own sexual desires. The women are physically and mentally offended. Besides, Saowari also projects the myth of social virtues dominating the women to perceive that abortion is guilty without considering that they are victims of sexual assault.  In family, the female characters, in the works, project that women are imprisoned in the roles of wife and mother. They suffer with the cheating on, physical violence, HIV infection, and expectation as ideal mother. Secondly, ignorance causes the problems. Saowari questions the trustworthiness of modern knowledges and technologies because it degrades the value of conventional wisdoms. Saowari’s social perception shows that the knowledges from conventional beliefs and wisdoms are not poorer than the modern knowledges. Conversely, the fascination of technology incautiously leads human to the destruction.  Saowari presents the politic of knowledge through the historical knowledges by indicating that the history seems to be power of conqueror. Moreover, the ignorance is also in the form of fascination: the fascination of money and the fascination of physical body. However, the ignorance does not mean only stupidity from the trustworthiness and fascination, but also means the uncontrollable fate making the human as commoner who lives in suffering cycle. Thirdly, the society is weak. Saowari presents the cause of the problems weakening the society is the effect of all parts of the society. They are the nurture of individual by unequal love in a family, the violation of ethics in the work, the unabandonned desires in the Buddhism, the insufficiency of teacher in the education, and the political division causing the hatred in the society.
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสังคมและบริบททางสังคมในงานเขียนของเสาวรี และเพื่อศึกษาทัศนะทางสังคมของเสาวรีที่ปรากฏผ่านงานเขียน โดยศึกษาจากงานเขียนของเสาวรีจำนวน 60 เรื่อง ที่รวมเล่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2560 แบ่งเป็นนวนิยาย 3 เรื่อง เรื่องสั้น 57 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่าปัญหาสังคมที่ปรากฏในงานเขียนแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงซึ่งนำเสนอผ่านต่อตัวละครหญิง เสาวรีให้ความสำคัญกับปัญหาการข่มขืน การทำแท้ง และความรุนแรงภายในครอบครัว ตัวละครหญิงในงานเขียนกลุ่มนี้ถูกนำเสนอในฐานะเหยื่อผู้ถูกกระทำ เสาวรีวิพากษ์มายาคติของการข่มขืนโดยนำเสนอผ่านฉากและตัวละครผู้กระทำผิด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามูลเหตุของการข่มขืนมิได้อยู่ที่ตัวผู้หญิง หากอยู่ที่ผู้ชายซึ่งไม่สามารถควบคุมความปรารถนาทางเพศของตนได้ ผู้หญิงคือผู้ถูกกระทำทั้งทางกายและทางใจ นอกจากนี้เสาวรียังแสดงให้เห็นมายาคติทางศีลธรรมของสังคมที่กดทับผู้หญิงในเรื่องการทำแท้งว่าเป็นความผิดบาปโดยไม่ได้สนใจว่าพวกเธอคือเหยื่อของการถูกข่มขืน ในระดับครอบครัว ตัวละครหญิงในงานเขียนของเสาวรีแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงถูกจองจำอยู่ในบทบาทของภรรยาและแม่ ที่ต้องทนทุกข์กับการนอกใจ การใช้กำลัง การติดโรคร้ายอย่างเอชไอวี และการแบกรับความคาดหวังของลูกและสังคมในฐานะแม่ที่ดี 2) ภาวะความไม่รู้อันนำพามนุษย์ไปสู่ปัญหา เสาวรีตั้งคำถามกับองค์ความรู้สมัยใหม่และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เนื่องจากความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ดังกล่าวทำให้มนุษย์ลดทอนคุณค่าขององค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ซึ่งในทัศนะของเสาวรีที่ส่งผ่านงานเขียนได้แสดงให้เห็นว่าความรู้ที่มาจากความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิมไม่ได้มีคุณค่าน้อยกว่าองค์ความรู้สมัยใหม่แต่อย่างใด ตรงกันข้ามการหลงในเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากลับนำพามนุษย์ไปสู่หายนะอย่างไรรู้ตัว เสาวรีนำเสนอแง่มุมการเมืองของความรู้ผ่านองค์ความรู้ประวัติศาสตร์โดยชี้ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์คืออำนาจกำหนดความรู้ของผู้ชนะมากกว่าจะเป็นความจริงของอดีต นอกจากนี้ยังมีความไม่รู้ในรูปของความหลงทั้งหลงในเงินตราและมายาของรูปลักษณ์ซึ่งไม่อาจนำพามนุษย์ให้พบความสุข อย่างไรก็ตาม ความไม่รู้ในที่นี้มิใช่เพียงความเขลาจากความเชื่อมั่นและความหลง แต่ยังหมายรวมถึงความไม่อาจกำหนดรู้ในชะตากรรมของตนเอง ซึ่งทำให้มนุษย์ยังเป็นปุถุชนผู้วนเวียนอยู่ในความทุกข์ 3) ความอ่อนแอของสังคม เสาวรีนำเสนอถึงมูลเหตุของปัญหาที่ทำให้สังคมอ่อนแอว่าเป็นผลมาจากองคาพยพต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าเป็นครอบครัวที่บ่มเพาะเลี้ยงดูบุคคลด้วยความรักที่ไม่เท่าเทียม สังคมการทำงานที่เต็มไปด้วยการละเมิดจรรยาบรรณ สถาบันศาสนาที่สงฆ์ยังมิอาจละกิเลส สถาบันการศึกษาที่ครูไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน และรวมถึงความแตกแยกทางการเมืองที่สร้างความเกลียดชังขึ้นภายในสังคม
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3769
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60202204.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.