Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3771
Title: Analysis of Khlong Lilit Suphap Tamrap Phra Boromracha Phisek Sappadama Ratcha Maha Chakriwong
การวิเคราะห์โคลงลิลิตสุภาพ ตำรับ พระบรมราชาภิเษก สัปดมะราชมหาจักรีวงศ์
Authors: Sirimas BAMRUNGSIN
สิริมาส บำรุงสิน
SUMALEE LIMPRASERT
สุมาลี ลิ้มประเสริฐ
Silpakorn University. Arts
Keywords: โคลงลิลิตสุภาพ
ตำรับ
วรรณกรรมบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
Khlonglilitsuphap
handbook
coronation literature
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis aims to investigate the characteristics of Tam-rap (handbook) and the literary features of Khlonglilitsuphap appearing in Khlong Lilit Suphap Tamrap Phra Boromracha Phisek Sappadama Ratcha Maha Chakriwong. The result shows that Khlong Lilit Suphap Tamrap Phra Boromracha Phisek Sappadama Ratcha Maha Chakriwong is a literary work which is a handbook including the features of royal ceremony handbook, the features of royal ceremony memo, and the features of the king’s eulogy. Due to the combination of three types of writing, this work becomes the unique handbook. The combination of three types of writing supports this work to present the content relating to the characteristics of the writings.  The author systematically presents three parts of the content. Firstly, the “Prelude” includes the introduction and invocation. Secondly, the “Content” contains the features of three types of writing: 1) the features of the handbook providing the knowledge of the coronation and providing the additional knowledge to define the work, 2) the features of the royal ceremony memo including the memo of feeling, the memo of occurred event decorating with imagination, and the memo of the author’s direct experience, and 3) the features of the king’s eulogy including the king as the demigod, the king as the king of righteousness, and the king as the emperor. Lastly, the “Epilogue” includes the final part and the additional part. For the literary strategies, the verse forms of “Khlongsuphap” and “Raisuphap” are combined as “Lilitsuphap”. The author mainly adopts “Khlongsuphap” to set the story while adopts “Raisuphap” to record the content of religious rite and to emphasize the form of “Khlong”. Furthermore, the author adopts the art of language to build four types of literary aesthetic: the uses of sound, the king terms, the figurative expressions, and the poetic license narration to complete the aesthetic to the work.     In conclusion, Khlong Lilit Suphap Tamrap Phra Boromracha Phisek Sappadama Ratcha Maha Chakriwong is the unique handbook composed by adopting the verse forms to present the concept and the content of the king's eulogy. These features help this work to be remarkable, and also set the goal of presenting its own concept and content which are different from the other handbook’s.
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะงานเขียนประเภทตำรับ และศึกษาลักษณะเฉพาะของวรรณศิลป์โคลงลิลิตสุภาพ ที่ปรากฏในโคลงลิลิตสุภาพ ตำรับ พระบรมราชาภิเษก สัปดมะราชมหาจักรีวงศ์ เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมเรื่องนี้ ผลการศึกษาพบว่า โคลงลิลิตสุภาพ ตำรับ พระบรมราชาภิเษก สัปดมะราชมหาจักรีวงศ์ เป็นวรรณกรรมประเภทตำรับ โดยปรากฏลักษณะของตำราพระราชพิธี ลักษณะของวรรณกรรมบันทึกพระราชพิธี และลักษณะของวรรณกรรม ยอพระเกียรติร่วมด้วย ดังนั้น วรรณกรรมเรื่องนี้จึงเป็นตำรับที่มีลักษณะเฉพาะด้วยมีการผสมผสานของงานเขียนทั้ง 3 ประเภท การผสมผสานลักษณะงานเขียนทั้ง 3 ประเภท ทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้นำเสนอเนื้อหาที่สัมพันธ์กับลักษณะงานเขียนที่ปรากฏ โดยผู้นิพนธ์ทรงนำเสนอเนื้อหาอย่างเป็นระบบตามโครงสร้างเนื้อหาทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนนำเรื่อง ประกอบด้วยส่วนนำหนังสือ และ ส่วนประณามพจน์ 2) ส่วนเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่แสดงเนื้อหาที่สัมพันธ์กับลักษณะงานเขียนทั้งสามประเภท ได้แก่ 1. เนื้อหาที่สัมพันธ์กับลักษณะของตำรา ประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยตรง และการให้ความรู้เพิ่มเติมเพื่ออธิบายตัวบทวรรณกรรม 2. เนื้อหาที่สัมพันธ์กับการบันทึกพระราชพิธี แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การบันทึกอารมณ์ความรู้สึก การบันทึกเหตุการณ์ผสมจินตนาการ และการบันทึกประสบการณ์ตรงของผู้นิพนธ์ และ 3. เนื้อหาที่สัมพันธ์กับ การยกย่องพระมหากษัตริย์ แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ การยกย่องพระมหากษัตริย์ในฐานะสมมติเทพ การยกย่องพระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา และการยกย่องพระมหากษัตริย์ในฐานะจักรพรรดิราช และ 3) ส่วนปิดเรื่อง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ ส่วนลงท้าย และส่วนท้ายหนังสือ ส่วนกลวิธีทางวรรณศิลป์ พบว่า วรรณกรรมเรื่องนี้มีการใช้ฉันทลักษณ์ประเภท “โคลงสุภาพ” และ “ร่ายสุภาพ” ผสมผสานกัน ในลักษณะของ “ลิลิตสุภาพ” โดยผู้นิพนธ์ทรงใช้ฉันทลักษณ์ประเภท “โคลงสุภาพ” ดำเนินเรื่องเป็นหลัก และใช้ “ร่ายสุภาพ” บันทึกเนื้อหาที่สัมพันธ์กับพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญในการใช้ฉันทลักษณ์ประเภทโคลงอย่างชัดเจน ทั้งยังพบว่า ผู้นิพนธ์ทรงใช้ศิลปะการใช้ภาษาในการสร้างความงามทางวรรณศิลป์ในวรรณกรรมเรื่องนี้ 4 ลักษณะ คือ การเล่นเสียง การใช้คำเรียกพระมหากษัตริย์ การใช้ความเปรียบ และการเล่าเรื่องตามเอกสิทธิ์กวี เพื่อสร้างความงามพร้อมให้แก่วรรณกรรมเรื่องนี้อย่างสมบูรณ์ สรุปได้ว่า โคลงลิลิตสุภาพ ตำรับ พระบรมราชาภิเษก สัปดมะราชมหาจักรีวงศ์ เป็นตำรับที่มีลักษณะเฉพาะ ด้วยมีการสร้างสรรค์ตำรับออกมาในรูปแบบวรรณกรรมร้อยกรอง โดยนำเสนอแนวคิดและเนื้อหาที่มีการยอพระเกียรติผ่านรูปแบบตำรับ ลักษณะดังกล่าวทำให้ตำรับเรื่องนี้มีความโดดเด่นเฉพาะตัว และมีหมุดหมายในการนำเสนอแนวคิดและเนื้อหาที่ต่างกับวรรณกรรมประเภทตำรับทั่วไป
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3771
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60202208.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.