Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3827
Title: | OUTCOMES LEARNING BY MULTIMEDIA MOTION GRAPHICSWITH COOPERATIVE LEARNING TECHNIQUE COMPETITION BETWEEN GROUPSWITH GAMES TOWARDS THE ABILITY OF SOLUTIONSFOR SECONDARY LEVEL 1 STUDENTS. ผลการเรียนด้วยมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Authors: | Chutamat SUDSAIDEE จุฑามาศ สุดใสดี Nammon Ruangrit น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | มัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิก ร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม ความสามารถในการแก้ปัญหา MOTION GRAPHICS MULTIMEDIA COOPERATIVE LEARNING TECHIQUES OF INTERGROUP COMPETITION WITH GAMES PROBLEM SOLVING ABILITY |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) To study students' problem-solving abilities after learning with multimedia motion graphics and cooperative learning management techniques for intergroup competition with games. 2) To study the results of group work of students learning using multimedia motion graphics in combination with cooperative learning management techniques of intergroup competition with games. 3) To study the satisfaction of Grade 1 students who learned using motion graphics combined with cooperative learning techniques of intergroup competition with games. The sample is students of mathayomsuksa 1/3 at Dipangkornwittayapat (Taweewattana) Under Royal Patronage School. Academic year 2021, 40 students.
The research instruments were 1) A multimedia learning plan with motion graphics combined with collaborative learning. Techniques for competing between groups with games 2) Multimedia motion graphics Fundamentals of Science, Technology (Computational Science), Mathayomsuksa 1 Chapter 2 on Problem Solving 3) Questionnaire students' ability to solve problems with algorithms 4) group work assessment form Fundamental Science Technology (Computational Science) Level 1 5) Student satisfaction questionnaire affecting learning with motion graphics combined with cooperative learning techniques of intergroup competition with games. Analyze data with ready-made programs.
The results of the research were as follow:
1) The students' problem-solving abilities after learning with multimedia motion graphics combined with cooperative learning and game-based competition techniques were good.
2) The results of the collaboration of students with multimedia, motion graphics combined with cooperative learning, the technique of intergroup competition with most games were at a very good level.
3) Student satisfaction with multimedia learning with motion graphics combined with collaborative learning The technique of competition between groups with games was at the most satisfactory level. (Mean = 4.54, Standard Deviation = .017) การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิกร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม 2) เพื่อศึกษาผลการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนด้วยมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิกร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยโมชันกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม 2) สื่อมัลติมีเดียโมชันกราฟิก รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 บทที่ 2 เรื่อง การแก้ปัญหา 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึมของนักเรียนแบบเลือกตอบ 4) แบบประเมินการทำงานกลุ่ม รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการเรียนด้วยโมชันกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิกร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม อยู่ในระดับดี 2) ผลการทำงานร่วมกันของนักเรียนที่ด้วยมัลติมีเดียบแบบโมชันกราฟิกร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดีมาก 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยมัลติมีเดียแบบโมชันกราฟิกร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.54, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = .017) |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3827 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60257409.pdf | 4.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.