Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3849
Title: THE  ADMINISTRATOR’S LEADERSHIP AND HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION OF SCHOOL UNDER  SAMUTSONGKHRAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
Authors: Bunthita SITTHIPONGSAKUL
บัณฑิตา สิทธิพงศากุล
Prasert Intarak
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
Silpakorn University. Education
Keywords: ภาวะผู้นำ
องค์กรสมรรถนะสูง
leadership
high performance organization
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research objectives were to determine 1)  the school administrator’s leadership under  Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office 2) the school high performance organization under  Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office 3) the relationship between administrator’s leadership and high performance organization of school  under  Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office . The sample was 63 schools under  Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office. The three respoondents from each school consisted of a school director or acting school director , deputy director or a head of personnal  division and a teacher with the total of 189. The research instrument was a opinionnaire regarding administrator’s leadership, based on the concept of Kouzes and Posner , and high performance organization  , based on the concept of Blanchard . The statistics used for data analysis were frequency, percentage,arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s product–moment correlation coefficient The research findings revealed that: 1. The school  administrator’s leadership under  Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office as a whole was at highest level. The arithmetic mean ranking from the highest to the lowest were as follows; encourage the heart, Inspire a shared vision, enable other to act, model the way and challenge the process. 2. The school high performance organization  under  Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office as a whole was at highest level. The arithmetic mean ranking from the highest to the lowest were as follows; shared information and open communication relentless focus on customer results, energizing systems and structures, ongoing learning, shared power and high involvement and compelling vision. 3. The relationship between administrator’s leadership and high performance organization of school  under  Samutsongkhram Primary Educational Service Area Office were high correlation, with significantly at .01
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) เพื่อทราบภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม 2) เพื่อทราบองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม 3) เพื่อทราบความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม  จำนวน 63 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ หรือ รักษาราชการแทน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ หรือ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล จำนวน 1 คน และครูผู้สอนจำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามแนวคิดของคูซและพอสเนอร์ และองค์กรสมรรถนะสูงตามแนวคิดของบลังชาร์ด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน  โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้  ด้านการเสริมสร้างกำลังใจ และด้านการสร้างแรงบันดาลใจในการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน  อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมอบอำนาจให้ผู้อื่นสามารถปฏิบัติงาน  ด้านการแสดงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ  และ ด้านการท้าทายกระบวนการ 2. องค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสื่อสารอย่างเปิดเผยระหว่างบุคลากรในองค์กร รองลงมาคือด้านการให้ความสำคัญต่อผู้รับบริการเป็นสำคัญ ด้านระบบ โครงสร้าง และกระบวนการการทำงานสนับสนุนวิสัยทัศน์ และด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการแบ่งปันอำนาจและการมีส่วน และ ด้านการมีวิสัยทัศน์ที่ทุกคนในองค์กรมองเห็นภาพ 3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูงและลักษคล้อยตามกัน
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3849
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61252322.pdf4.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.