Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/387
Title: ศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย
Other Titles: STRATEGIC CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY MANAGEMENT CAPABILITY OF FOOD PROCESSING INDUSTRIES IN THAILAND
Authors: สิมะขจรบุญ, พนัชกร
Simakhajornboon, Panuschagone
Keywords: ความรับผิดชอบต่อสังคม
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การสร้างคุณค่าร่วม
ผลการดำเนินงาน
CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY
STRATEGIC MANAGEMENT
SHARED VALUE
BUSINESS PERFORMANCE
Issue Date: 7-Jun-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ และเปรียบเทียบสมการโครงสร้างศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ จำแนกตามขนาดของกิจการและระยะเวลาในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย และได้รับการตอบกลับ 268 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 20.96 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ถือว่ายอมรับได้ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและสมการโครงสร้าง ตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อช่วยอธิบาย สนับสนุน และตีความจากผลของการวิจัยเชิงปริมาณในตอนต้นผลการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปที่มีการทำความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างโดดเด่น จำนวน 6 ราย วิธีวิจัยในลักษณะผสมผสานนี้จัดเป็นบริบทของคุณภาพการวิจัยด้วยการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของวิธีวิทยาการวิจัยแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR Management Capability; CSC) ประกอบด้วย 1) ความร่วมมือกับเครือข่ายทางสังคม 2) ประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม 3) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สังคม และ4) การผสานประโยชน์ชุมชน องค์ประกอบการวางแผนวาระทางสังคม (Corporate Social Intensiveness; CSI) ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนจากผู้บริหาร 2) การมุ่งเน้นประเด็นทางสังคมที่เฉพาะ 3) ประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร และ4) การสร้างการรับรู้ องค์ประกอบของคุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ (Economic Intangible Value; EIV) ประกอบด้วย 1) ความน่าเชื่อถือ 2) ชื่อเสียง และ 3) ภาพลักษณ์ขององค์การ โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 84.40, df = 75, p-value = .138, X2/df = 1.179, CFI = .996, RMSEA =.026) และพบว่า CSI มีอิทธิพลโดยตรงต่อ CSC (y = .87, p<.001) และ EIV (y = .34, p<.05) และยังมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อผลการดำเนินงาน (Business Performance; BP) โดยมี CSC เป็นตัวแปรคั่นกลาง (Mediator) ส่วน EIV ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อ BP นอกจากนี้ยังพบว่า CSC มีอิทธิพลโดยตรงต่อ EIV (ß = .60, p<.001) และ BP (ß = .48, p<.05) แบบจำลองสามารถอธิบาย BP ได้ร้อยละ 49 สมการโครงสร้างไม่มีความแตกต่างในด้านขนาดของกิจการ และระยะเวลาในการดำเนินงาน งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่มุ่งหวังให้เกิดคุณค่าร่วมระหว่างกิจการและสังคม The purpose of this research are to study factors of strategic CSR management capability, the causal relationship of strategic CSR management capability, and to compare the structural equation modeling (SEM) of strategic CSR management capability by firm size and age of operation of food processing industry in Thailand. This research was conducted by mixed method research started from quantitative research, using questionnaires to an executive of food processing industries and got response amount of 268 participants, 20.96 percent of response rate that followed to the criterial acception. It used computer programs to analyze the confirmatory factor analysis and SEM. Next, it used the qualitative research by interviewing with 6 executives of food processing industries in order to explain, support, and interpret the quantitative research result. This mixed methodology classified as a research quality context because it is reliable by triangulation. The research found that factors of the strategic CSR management capability (CSC) composed of 1) social network collaboration 2) value chain efficiency for society 3) product social creativeness and 4) community social synergy. The factors of corporate social intensiveness (CSI) were 1) executive support 2) specific social issues focus 3) resources allocation efficiency and 4) perception creation. The factors of economic intangible value (EIV) were 1) corporate social credibility 2) corporate social reputation and 3) corporate social image. The SEM of the strategic CSR management capability was consistent with empirical data (X2 =84.40, df = 75, p-value = .138, X2/df = 1.179, CFI = .996, RMSEA = .026). Additionally, found that the CSI had a direct influence on both of the CSC (y = .87, p <.001) and the EIV (y = .34, p <. 05). It also had an indirect influence on the performance through the CSC as an intermediate variable. The EIV had not direct influence on the performance. Also, it found the CSC had a direct influence on the EIV (ß = .60, p <.001) and business performance (ß = .48, p <.05). This model could explain the performance at 49 percent. Compare its size of business and age of the operation, the result found that there was no difference in each group. This research can be used as a guideline for the operation of social responsibility that aim to shared value of business and society.
Description: 54604923 ; สาขาวิชาการจัดการ -- พนัชกร สิมะขจรบุญ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/387
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พนัชกร.pdf6.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.