Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3871
Title: GOOD GOVERNANCE IN SENA “SENAPRASIT” SCHOOL
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์”
Authors: Numchai RATREECHOT
นำชัย ราตรีโชติ
Saisuda Tiacharoen
สายสุดา เตียเจริญ
Silpakorn University. Education
Keywords: การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล
GOOD GOVERNANCE
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to study; 1) the good governance in Sena “Senaprasit” School, and 2) the guideline to develop the good governance in Sena “Senaprasit” School. The sample comprises were 4 school administrators and 82 teachers in Sena “Senaprasit” School, a total of 86 persons. The research instruments were to opinionnaire about good governance based on Office of Public Sector Development Commission concept and structured Interview for discover the guidelines to develop good governance. The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis. The findings reveal that: 1. The good governance in Sena “Senaprasit” School was at high level in overall and in each aspect was at high level. When ranking by arithmetic mean from the highest to the lowest; there were efficiency, participation, responsiveness, accountability, equity, transparency, effectiveness, rule of law, decentralization and consensus oriented. 2. The guideline to develop the good governance in Sena “Senaprasit” School had guidelines such as: 1) the school should organize training to enhance knowledge and understanding and should make training course for teacher’s development to get knowledge, capability and information technology skill. Also, the school should adjust working up-to date form, especially online form to make it easy for data collecting, communication and process of school. 2) the school should set up mission framework and working schedule or activities as guide lined to fix time line and control them to follow the school’s working plan. 3) The school should provide opportunities for concerned parties, teachers, school committees, students and communities to be able to access school's information by showing signboard and publicizing school's news and activities to parents and the community to know. This can be done by using various technologies to keep them informed of the movements as well as the report of school's working operation. 4) The school should emphasize and instill values as well as compliance with laws, rules and regulations with fairness and justice. And the school should establish the rules considered mutual agreements, should clarify the correct way of working and should establish the order of responsibility to perform duties in according to the knowledge and ability with appropriateness and the official regulations. 5) the school should set up mission framework and working schedule or activities and use.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน และครูผู้สอน จำนวน 82 คน รวมทั้งสิ้น 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลตามแนวคิดของสำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อหาแนวทางในทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักประสิทธิภาพ หลักเปิดเผย/โปร่งใส หลักประสิทธิผล หลักการตอบสนอง หลักภาระรับผิดชอบ/สามารถตรวจสอบได้ หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักความเสมอภาค หลักนิติธรรม หลักการกระจายอำนาจและหลักการมีส่วนร่วมตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” มีแนวทาง ดังนี้ 1) สถานศึกษาควรจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและจัดทำหลักสูตรการพัฒนาฝึกอบรมครูให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและควรปรับรูปแบบการทำงานให้ทันสมัย เป็นรูปแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารและการดำเนินของทางสถานศึกษา 2) สถานศึกษาควรวางกรอบภารกิจของสถานศึกษา ตลอดจนปฏิทินการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดระยะเวลาและควบคุมให้ตรงตามที่วางแผนเอาไว้ 3) สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้อง ครู กรรมการสถานศึกษา นักเรียนและชุมชนเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของสถานศึกษา มีป้ายประกาศและประชาสัมพันธ์ข่าวสารหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชนทราบ ทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับทราบถึงความเคลื่อนไหวตลอดจนผลการดำเนินงานอยู่เสมอ 4) สถานศึกษาควรเน้นย้ำและปลูกฝังค่านิยมตลอดจนเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม ความยุติธรรมและควรกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาที่ถือเป็นข้อตกลงร่วมกันและชี้แจงแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง กำหนดคำสั่งความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามความรู้ความสามารถด้วยความเหมาะสมและเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ 5) สถานศึกษาควรวางกรอบภารกิจ ตลอดจนปฏิทินการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมที่ต้องดำเนินการและควรใช้กระบวนการตัดสินใจร่วมกัน รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3871
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620620044.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.