Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3908
Title: LEAVES FOR THE USE AS A STANDARD SUBSTANCE AND THE POLICE’S UNDERSTANDING OF AND ATTITUDE TOWARDS THE REMOVAL OF KRATOM FROM THE LIST IN THE FIFTH CATEGORY OF NARCOTICS
การทดสอบทางพฤษเคมีของพืชกระท่อมและการแยกไมทราไจนีนจากใบกระท่อมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐาน และการศึกษาความเข้าใจและทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5
Authors: Kittisak MUANDAO
กิตติศักดิ์ เหมือนดาว
Muhammad Niyomdecha
มูฮำหมัด นิยมเดชา
Silpakorn University. Science
Keywords: ไมทราไจนีน
กระท่อม
ทัศนะของตำรวจ
กฎหมายยาเสพติดประเภท 5
Mitragynine
Kratom
Attitudes of Police
Fifth Category of Narcotics
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis consists of 2 parts: Part 1, Phytochemical Testing and Isolation of Mitraginine from Kratom for Use as a Standard Substance and Part 2 A Study on Understanding of Kratom. And police understanding and attitudes toward removing kratom from the list in the fifth category of drugs.The objectives are as follows: 1. To study phytochemicals in part of Kratom, namely anthraquinones, terpenoids, saponins, tannins, flavonoids and alkaloids 2. To study how to separate mitragenine from kratom leaves to be used as standard substances and 3. to study the police’s understanding of and attitudes towards the removal of kratom from the list in the fifth category of narcotics. The results of the study were as follows Phytochemical screening and methods for separating mitragynine from kratom leaves for use as standardized substances in forensic science. The results showed the phytochemical screening of extracts was derived from different parts of cottage plants with hexane, dichloromethane, ethyl acetate, ethanol, and water. Phytochemicals were found in each part of the cottage plant, namely anthraquinones, terpenoids, saponins, tannins, flavonoids, and alkaloids. In this experiment, the active substance mitragynine was separated from the leaves of the kratom using three methods: separation of pure mitragynine from kratom leaves through the TLC technique, separation of standardized mitragynine through column chromatography from kratom crude extract, and separation of mitragynine through quick column chromatography technique from extracted kratom leaves and un-extracted kratom leaves. The results showed that to find a system for purifying mitragynine with thin layer chromatography (TLC) using the mobile phase as ethyl acetate: hexane (7:3), 1.132% of mitragynine was isolated. The column chromatography technique also isolated pure mitragynine at 38.55%. Rapid separation of mitragynine was also found using the quick column chromatography technique from finely ground dried kratom leaves in which 7.60% of mitragynine was isolated. The extraction of dried kratom leaves by the standard method before quick column chromatography was able to separate 36.00% of mitragynine with high purity when comparing the data of 1H-NMR 13C-NMR and FTIR with the standard compounds. This provided a cost-effective, solvent-based approach as well as less separation time to obtain standardized mitragynine sufficient. The fundamentals of kratom and attitudes in the case of kratom remove the fifth category of narcotics from the police. The results showed that the status, education, rank, and training of the four factors affected police officers' overall knowledge of kratom (p<0.05). Women's group, age group 20-30, Bachelor-Master's degree group. The unmarried group and the public service age group over 7 years had a higher average number of correct answers than the other groups. Impact of police opinions on kratom's removal from the fifth category of narcotics (p<0.05). The results were as follows: feeling (4.06±0.99, very), perception or belief (3.76±1.02, very), readiness to act (3.78±0.86, very), opinion on the benefits of using kratom (3.61±0.93, very). The opinion on the harm of kratom use (3.29±1.01, moderate) The opinion on the kratom plant act B.E. …(3.72±0.99, very). The police recommendations on removing the kratom from the fifth category of narcotics are largely in agreement with removing the kratom from the fifth category of narcotics. Sales should be controlled according to a standard in order not to hurt the population. Can be consumed and allowed to be sold freely and should be encouraged to organize lectures to educate those involved in improving cognitive skills.
วิทยานิพนธ์นี้ ประกอบไปด้วย 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การทดสอบทางพฤกษเคมี และการแยกสารไมทราไจนีนจากใบกระท่อมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐาน และตอนที่ 2 การศึกษาความเข้าใจเรื่องพืชกระท่อม และทัศนะต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในแต่ละส่วนของพืชกระท่อม ได้แก่ แอนทราควิโนน เทอร์พีนอยด์ ซาโปนิน แทนนิน ฟลาโวนอยด์ และแอลคาลอยด์ 2. ศึกษาวิธีการแยกสารไมทราไจนีน จากใบกระท่อม เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อศึกษาความรู้ทั่วไปต่อพืชกระท่อม และทัศนะต่อกรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ผลการศึกษาดังนี้ ผลการศึกษาตอนที่ 1 การทดสอบทางพฤกษเคมี และการแยกสารไมทราไจนีน จากใบกระท่อมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐาน ได้ผลการทดลองดังนี้ องค์ประกอบทางพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดที่ได้จากส่วนต่าง ๆ จากของพืชกระท่อม ด้วย เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทธิล อะซีเตท เอทานอล และน้ำ พบสารพฤกษเคมีในแต่ละส่วนของพืชกระท่อม ได้แก่ แอนทราควิโนน เทอร์พีนอยด์ ซาโปนิน แทนนิน ฟลาโวนอยด์ และแอลคาลอยด์ การทดลองแยกสารสำคัญไมทราไจนีน จากใบกระท่อม ใช้วิธีการทดลอง 3 วิธี คือ การแยกสารไมทราไจนีนบริสุทธิ์จากใบกระท่อมด้วยเทคนิค TLC การแยกสารมาตรฐานไมทราไจนีนด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโตกราฟฟี (column chromatography) จากสารสกัดหยาบกระท่อม และการแยกสารไมทราไจนีนด้วยเทคนิคแบบรวดเร็ว (quick column chromatography) จากใบกระท่อมที่ผ่านการสกัด และจากใบกระท่อมที่ไม่ผ่านการสกัด ผลการทดลองพบว่า จากการหาระบบเพื่อแยกสารไมทราไจนีนให้บริสุทธิ์ด้วยโครมาโตกราฟีแผ่นบาง (TLC) โดยใช้วัฏภาคเคลื่อนที่เป็น  ethyl acetate:hexane (7:3) สามารถแยกสารไมทราไจนีนได้ 1.132%   และจากเทคนิค Column chromatography สามารถแยก mitragynineได้ 38.55% และสามารถพบวิธีการแยกสารไมทราไจนีนด้วยวิธีแบบรวดเร็ว ด้วยเทคนิค quick column chromatography จากใบกระท่อมแห้งบดละเอียด สามารถแยกสารไมทราไจนีนได้ 7.60%  และผ่านการสกัดใบกระท่อมแห้งด้วยวิธีมาตรฐานก่อนลง quick column สามารถแยกสารไมทราไจนีนได้ 36.0% ซึ่งมีความบริสุทธิ์ที่สูงเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลของ 1H-NMR และ13C-NMR กับสารมาตรฐาน เป็นวิธีการที่ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้ปริมาณตัวทำละลาย รวมถึงเวลาที่ใช้ในการแยกที่น้อย เพื่อให้ได้สารมาตรฐานไมทราไจนีนเพียงพอสำหรับนำมาใช้งานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้ และผลการศึกษาตอนที่ 2 การศึกษาความเข้าใจเรื่องพืชกระท่อม และทัศนะต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ อำเภอเมืองนครปฐม หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเคยเกี่ยวข้องกับการทำคดียาเสพติดจำนวน 156 นาย ใช้แบบสอบถามชนิดปลายปิด และชนิดปลายเปิด กำหนดมาตรวัดแบบ Likert Scale พบว่า สถานภาพ การศึกษา ชั้นยศ และการอบรม ทั้งสี่ปัจจัยส่งผลต่อความรู้ทั่วไปของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อพืชกระท่อม (p < 0.05) กลุ่มเพศหญิง กลุ่มอายุ 20-30 ปี กลุ่มปริญญาตรี-โท กลุ่มที่ยังไม่สมรส และกลุ่มอายุราชการอายุมากกว่า 7 ปี เป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ตอบถูกมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ  ปัจจัยภูมิหลังของการศึกษาทั้งหมด มีผลต่อทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 (p < 0.05) ผลของทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ในด้านต่าง ๆ มีผลดังนี้ ด้านความรู้สึก (4.06±0.99, มาก) ด้านการรับรู้หรือการเชื่อ (3.76±1.02, มาก) ด้านความพร้อมที่จะกระทำ (3.78±0.86, มาก)  ด้านความคิดเห็นต่อประโยชน์ของการใช้พืชกระท่อม (3.61±0.93, มาก) ด้านความคิดเห็นต่อโทษของการใช้พืชกระท่อม (3.29±1.01, ปานกลาง) ด้านความคิดเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. …(3.72±0.99, มาก) ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปลดกระท่อมออกจากกฎหมายยาเสพติดประเภท 5 ควรควบคุมการขายให้ได้มาตรฐานเพื่อไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เปิดให้ขายได้โดยเสรี และควรมีการส่งเสริม ให้จัดการบรรยายให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3908
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620730005.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.