Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3950
Title: DEVELOPMENT OF INNOVATIVE KNOWLEDGE TRANSFER OFCENTRAL REGION FOOD RECIPES FOR YOUNG ENTREPRENEUR
การพัฒนานวัตกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่
Authors: Kamolbhibhat CHANASITH
กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์
Pitak Siriwong
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: : อาหารไทยภาคกลาง
ผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่
นวัตกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา
CENTRAL THAI FOOD
NEW FOOD ENTREPRENEUR
INNOVATION OF WISDOM TRANFER
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this paper is to study the composition, model of innovative development, and the development of innovation form to transfer the knowledge of Thai recipes in the Central Region for the new generation of food entrepreneurs. This paper uses qualitative and quantitative research methods, and quasi-experimental research as a research and development in Mixed Methods. The work process was divided into 2 steps: Step 1, research, systematic literature review, and participatory theory application (Participation Theory), in-depth interviews, including Lesson Learned to synthesize and develop as a guideline for creating an innovative development manual to transfer knowledge of Central Thai food recipes for new generation of food entrepreneurs. There are 2 process within the second step; 2.1) to study the approaches of the composition of the manual by using EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) technique and in-depth interview with experts on relevant issues in order to conclude and synthesize the confirmation elements. Then, create a questionnaire from the trends, elements, features, elements and the model of broadcasting Central Thai recipes for new generation food entrepreneurs which obtained from focus group discussions and was selected the trends of different elements by relevant experts. 2.2) Quasi-Experimental Research by using the before-after knowledge scale include the assessment of differences in the three samples by the Mann-Whitney U test to compare the differences in the evaluation scores in order to improve and develop as a manual for developing innovations to transfer knowledge of Thai food recipes in the Central Region for new generation entrepreneurs according to the objectives of this research. The results of this study showed that the development of innovative food knowledge transfer in central Thailand for new generation entrepreneurs must have the process when creating a product or service. Constantly fostering creative ideas to enhance the value of products. There are 6 contributions of elements in product development as follows: 1) there are 8 impulse components, 2) 6 issues of motivation, 3) 21 issues of Learning elements, 4) perception contains 9 issues, 5) 3 issues for using knowledge to apply, and 6) 3 components of applied knowledge assessment. The findings found that the 3 elements is the most necessary as the new entrepreneurs must constantly learn new things in order to be the based of product development and knowledge expansion. There are pre-test and post-test which the result of 3 Mean Ran in 3 samples are 26.47 for pre-test and 34.53 for post-test. Therefore, Z-test and p-values equals 1.789 and 0.074, respectively. The result of Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) found that all element is suitable, and the value between each element is equal to 1 which the consistencies in all component are 0.084, 0.093, o.066, 0.063, o.025 and 0.046, respectively. Finally, these results lead to create the innovation guide to transfer the knowledge of Thai recipes in the Central Region for the new generation of food entrepreneurs which contains these details as follows; 1) The standard of Thai food development for new generation of food entrepreneurs in 6 components, 2) 50 assessments of Thai food learning and developing for new generation of Entrepreneurs, 3) the knowledge assessment method of the new generation of Thai food entrepreneurs, and 4) the knowledge assessment standard of the new generation of Thai food entrepreneurs. The results of this study can be used to develop and improve the international standards of Thai food.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ และพัฒนารูปแบบนวัตกรรมทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยวิธีแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และวิจัยกึ่งทดลอง โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การทำวิจัยการทบทวนวิจัยเอกสารใช้การทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systematic literature Review) และการประยุกต์ทฤษฎีแบบมีส่วนร่วม (Participation Theory) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) รวมถึงการถอดบทเรียน   (Lesson Learned) ทำให้เกิดการสังเคราะห์และพัฒนาเป็นแนวทางในการสร้างคู่มือการพัฒนานวัตกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ และขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 2.1) เป็นการศึกษาแนวทางขององค์ประกอบในการจัดทำคู่มือด้วยเทคนิควิจัยอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) และด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ (In-depth Interview) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสรุปและสังเคราะห์หาองค์ประกอบยืนยันกันแล้วนำแนวโน้มองค์ประกอบคุณลักษณะองค์ประกอบและรูปแบบการถ่ายทอดตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ที่ได้จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มาสร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) แล้วส่งให้กับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกแนวโน้มขององค์ประกอบต่าง ๆ  2.2) การทำวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) โดยทำการประเมินความแตกต่างโดยใช้แบบวัดความรู้ก่อน-หลัง รวมถึงการประเมินความแตกต่างกลุ่มทดลองจำนวน 3 กลุ่ม โดยใช้วิธีการของแมนวิทนีย์  (The Mann-Whitney U test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนประเมิน และนำไปปรับปรุงพัฒนาจัดเป็นคู่มือการพัฒนานวัตกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนานวัตกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ต้องมีกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการ (ส่วนควบผลิตภัณฑ์) อย่างต่อเนื่อง โดยต้องปลูกฝังความคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่ากับผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังสรุปองค์ประกอบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1)  องค์ประกอบ     ด้านแรงกระตุ้นมี 8 ประเด็น  2)  องค์ประกอบด้านแรงจูงใจมี 6 ประเด็น 3)  องค์ประกอบการเรียนรู้ มี 21 ประเด็น 4) องค์ประกอบด้านการรับรู้ มี 9 ประเด็น 5)  องค์ประกอบด้านการนำความรู้ไปใช้ มี 3 ประเด็น และ 6) องค์ประกอบด้านการประเมินความรู้ไปประยุกต์ใช้ มี 3 ประเด็น ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่ 3 (การเรียนรู้) มีจำนวนประเด็นมากที่สุด ทั้งนี้มาจากผู้ประกอบการรุ่นใหม่ต้องมีการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และพัฒนาองค์ความรู้ ผลการวิจัยยังได้สร้างแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้กับผู้ประกอบการ โดยมีค่าสถิติ Mean Rang ทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ก่อนการเรียนรู้ ค่า Mean Ran เท่ากับ 26.47 และหลังการเรียนรู้ค่า Mean Ran เท่ากับ 34.53 โดยมีค่า Z- Test และ P – Value เท่ากับ -1.789 และ 0.074 ตามลำดับ ผลจากการสัมภาษณ์ด้วยวิธีแบบอนาคต (EDFR) พบว่า ในทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมทุกหัวข้อ โดยมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เท่ากับ 1 และมีค่าความสอดคล้องในทุกองค์ประกอบ (0.084, 0.093, 0.096, 0.063, 0.025 และ 0.046 ตามลำดับขององค์ประกอบ นอกจากนี้ผลการวิจัยสามารถสร้างคู่มือนวัตกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาตำรับอาหารไทยภาคกลางสำหรับผู้ประกอบการอาหาร  รุ่นใหม่ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1)  เกณฑ์การพัฒนาอาหารไทยสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ จำนวน 6 องค์ประกอบ 2)  หัวข้อในการเรียนรู้ และพัฒนาอาหารไทยสำหรับผู้ประกอบการอาหารรุ่นใหม่ จำนวน 50 รายการประเมิน  3) วิธีการประเมินความรู้การเป็นผู้ประกอบการอาหารไทย     รุ่นใหม่ และ 4) เกณฑ์การประเมินความรู้การเป็นผู้ประกอบการอาหารไทยรุ่นใหม่ โดยคู่มือที่ได้จากผลการวิจัย สามารถนำไปประยุกต์ พัฒนา และต่อยอดเพื่อยกระดับคุณค่าของอาหารไทยให้ได้ระดับมาตรฐานสากลในอนาคต
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3950
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59604801.pdf12.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.