Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3978
Title: A STUDY EFFECT OF INSTRUCTION ARTFUL THINKING IN ART FOUNDATION COURSE TO ENHANCE CREATIVITY  AND AESTHETICS PERCEPTION  FOR 11TH GRADE STUDENTS
การศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะในรายวิชาศิลปะพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานและการรับรู้สุนทรียภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Sasiwimon SAENGKROD
ศศิวิมล แสงกรด
Pisit Tangpondparsert
พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education
Keywords: การศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
การส่งเสริมสุนทรียภาพ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
A Study of Instruction Artful Thinking in Art Foundation Course
Creativity in the Arts
Aesthetics Enhancement
Mathayomsuksa 5 (Grade 11) Students
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to 1) study efficiency of the lesson plans on instruction artful thinking in art foundation course to enhance creativity and aesthetics for 11th grade students. 2) study student creativity in art after learning by instruction artful thinking in art foundation course to enhance creativity and aesthetics for 11th grade students. 3) study student aesthetics in art after learning by instruction artful thinking in art foundation course to enhance creativity and aesthetics for 11th grade students. This research is an experimental research with a sample group of research in Mathayomsuksa 5/2 Pakred School 26 students. The research instruments were : Lesson plans on artful thinking, aesthetics evaluation form of art and evaluation form of work of art. The data were analyzed by percentage, mean and content analysis. The research found that 1) the efficiency of the lesson plans on instruction artful thinking in art foundation course to enhance creativity and aesthetics for 11th grade students was on the efficiency of 92.09/93.90  higher than the criteria. 2) the level of student creativity in art foundation course; the score was at an excellent level  x̅ =30.05 confirming the hypothesis. 3) the level of student aesthetics in art foundation course ; the score was at 5th level AUTONOMY x̅ =85.89 confirming the hypothesis.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ ในรายวิชาศิลปะพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานและสุนทรียภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการสร้างสรรค์งานศิลปะของผู้เรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ ในรายวิชาศิลปะพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานและสุนทรียภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาสุนทรียภาพในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของผู้เรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ ในรายวิชาศิลปะพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานและสุนทรียภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนปากเกร็ด จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ แบบประเมินการรับรู้สุนทรียภาพ แบบประเมินการสร้างผลงานศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) และค่าเฉลี่ย (x) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินประสิทธิภาพแผนการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ ในรายวิชาศิลปะพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานและสุนทรียภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 92.09/93.90                       2. ผลการศึกษาระดับการรับรู้สุนทรียภาพหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ มีระดับการรับรู้สุนทรียภาพอยู่ในระดับที่ 5 ความเป็นตัวตน (Autonomy) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.89 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3. ผลการศึกษาการสร้างผลงานศิลปะ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการคิดอย่างมีศิลปะ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.05 ตรงตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3978
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59901320.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.