Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4012
Title: Techno economy analysis of solar green house system and hot air oven for crispy mango value chain
การวิเคราะห์เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์ของระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องอบลมร้อนสำหรับห่วงโซ่คุณค่ามะม่วงอบกรอบ
Authors: Patsanan KURDKAEW
ภัสนันท์ เกิดแก้ว
Kanokwan Kingphadung
กนกวรรณ กิ่งผดุง
Silpakorn University. Engineering and Industrial Technology
Keywords: มะม่วงกรอบ การทำแห้ง การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ระบบอบแห้งพลังงานแส้งอาทิตย์ เครื่องอบลมร้อน
crispy mango drying economic analysis greenhouse solar hot air dryer
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this research is To study the supply chain and the value chain of mango processing, it was found that the mango supply chain has 4 groups of farmers, collectors, processors and sellers, whose value will increase accordingly. The added value will be different depending on the choice of processing technology. In addition, this research a comparative study of the efficiency of hot air drying technology was also performed greenhouse solar dryer, hot air drying and hybrid (greenhouse solar dryer with hot air drying). Economic analysis Including analyzing the chemical properties of mango crisps, it was found that when considering different drying technologies by making forecasts at the industrial level which produces mango crisps using 24 kilograms of raw materials per day found that each technology It will take time and number of cycles to produce differently. It depends on the drying capacity of each system. The hybrid technology takes a minimum drying time of 7 hours. The chemical properties of phenolic compounds It was found that in Nam Dok Mai mango and Kaew Kamin were 34.41 mg GAE/100g db and 31.50 mg GAE/100g db, respectively, and the antioxidant activity of Nam Dok Mai mango was higher than Kaew Kamin. As for the content of beta-carotene extracted from the samples of the two crispy mango species, it was found that the content of beta-carotene, Kaew Kamin and Dok Mai mangoes were significantly different. when comparing the drying technology The integrated system maintains a higher beta-carotene content than hot air drying technology. Considering the added value Kaew Kamin mango had an added value of 27 times more than Nam Dok Mai mango and the %yield was 2.38% higher or the yield was greater than that of Nam Dok Mai cultivar. Greenhouse solar dryer are therefore more profitable. After economic analysis, it was found that the IRR value was greater than 4.875% and was greater than 1. The payback period was within 1 year of drying mangoes by solar drying and hot air drying. Making crispy mangos with both types of dryers and those of both types of mangoes is worth the investment. Therefore, the researcher proposes the hybrid as the best choice for operators in the long run as it can reduce the cost of electricity and also the shortest production time.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าของการแปรรูปมะม่วง พบว่า ห่วงโซ่อุปทานมะม่วงมีผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่ม คือ เกษตรกรหรือนักปลูก นักรวบรวม นักแปรรูป และนักขาย ซึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะมูลค่าเพิ่มจะแตกต่างกันขึ้นอยู่การเลือกเทคโนโลยีในการแปรรูป นอกจากนี้งานวิจัยนี้ ยังทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการทำแห้งแบบลมร้อน ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบผสมผสานระหว่างการทำแห้งแบบลมร้อนร่วมกับระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของมะม่วงอบกรอบ ซึ่งพบว่า เมื่อพิจารณาเทคโนโลยีการทำแห้งที่แตกต่างกัน โดยทำการคาดการณ์ในระดับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำการผลิตมะม่วงอบกรอบโดยใช้วัตถุดิบ 24 กิโลกรัมต่อวัน พบว่าแต่ละเทคโนโลยี จะใช้เวลาและจำนวนรอบในการผลิตแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำให้แห้งของแต่ละระบบ และเทคโนโลยีแบบผสมผสานระหว่างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องทำแห้งแบบลมร้อนใช้เวลาในการทำแห้งน้อยที่สุดอยู่ที่ 7 ชั่วโมง ส่วนคุณสมบัติทางเคมีด้านสารประกอบฟีนอลิก พบว่าในมะม่วงน้ำดอกไม้และแก้วขมิ้นสดอยู่ที่ 34.41 mg GAE/100g db และ 31.50 mg GAE/100g db ตามลำดับ และสารต้านอนุมูลอิสระมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สูงกว่าพันธุ์แก้วขมิ้น ส่วนปริมาณสารเบต้าแคโรทีนที่สกัดจากตัวอย่างของมะม่วงอบกรอบทั้ง 2 สายพันธุ์ พบว่า ปริมาณสารเบต้าแคโรทีนมะม่วงแก้วขมิ้นและน้ำดอกไม้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยีการทำแห้งพบว่า ระบบผสมผสานสามารถรักษาปริมาณเบต้าแคโรทีนได้ดีกว่าเทคโนโลยีการทำแห้งแบบลมร้อน เมื่อพิจารณาถึงมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นมะม่วงพันธุ์แก้วขมิ้นมีมูลค่าเพิ่มมากกว่ามะม่วงน้ำดอกไม้อยู่ 27 เท่า และ %yield มากกว่าหรือผลผลิตที่ได้มีจำนวนมากกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้ 2.38 % ต้นทุนค่าไฟของระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีค่าใช้จ่าย ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จึงมีกำไรมากกว่า จากนั้นทำการวิเคราห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ค่า IRR มีค่ามากกว่า 4.875% และ มีค่ามากกว่า 1 มีระยะเวลาคืนทุนภายใน 1 ปี ของการอบมะม่วงด้วยระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์และระบบอบแห้งแบบลมร้อนสรุปได้ว่าการทำมะม่วงอบกรอบด้วยเครื่องอบแห้งทั้ง 2 ชนิด และของมะม่วงทั้ง 2 สายพันธุ์ มีความุค้มค่าในการลงทุน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอเทคโนโลยีการทำแห้งแบบผสมผสานเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการในระยะยาวเนื่องจากสามารถลดต้นทุนในส่วนของค่าไฟฟ้าและยังใช้เวลาในการผลิตสั้นที่สุด
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4012
Appears in Collections:Engineering and Industrial Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620920027.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.