Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4037
Title: THE DEVELOPMENT OF LOCATION-BASED LEARNING MODEL : A CASE STUDY OF RELIGIOUS SITES IN SATHORN
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ : กรณีศึกษาศาสนสถานในเขตสาทร
Authors: Supawadee LAKSANAKOSAN
สุภาวดี ลักษณะโกศัลย์
orawan chaowalit
อรวรรณ เชาวลิต
Silpakorn University. Graduate School
Keywords: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
การเรียนรู้ตามสถานที่
การเรียนรู้ผ่านมือถือ
The Development of Learning Model
Location based Learning
Mobile Learning
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract:             The objectives of this research are to: 1) Development of location-based learning model. 2) Compare the learning outcomes before and after learning of students studying with a location-based learning model. 3) A study of student satisfaction towards location-based learning styles : a case study of religious sites in Sathorn. The sample groups used in the research were: Undergraduate students 250 students at Saint Louis College using a simple random sampling method. Area Research tools are: 1) Location-based learning model. 2) Before and after learning assessment test. 3) Student satisfaction questionnaire. The statistics used to analyze the data include: 1) mean. 2) standard deviation. 3) t-test dependent. The results of the research found that: 1. Location-based learning model : a case study of religious sites in Sathorn. Appropriate mean was 4.79, standard deviation was 0.49, very good. 2. Learning outcomes with a location-based learning model : a case study of religious sites in Sathorn. Before school, the mean was 17.02, the standard deviation was 5.74, and after school, the mean was 29.25. The standard deviation was 5.25. It was found that the learning outcomes after school were higher than before, statistically significant at the .05 level. 3. Results of the study of student satisfaction towards places-based learning style : a case study of religious sites in Sathorn area overall, it was found that very in line, the total mean was 4.06, the standard deviation was 0.80.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ ของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ : กรณีศึกษาศาสนสถานในเขตสาทร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จำนวน 250 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลัง 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) สถิติที (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ : กรณีศึกษาศาสนสถานในเขตสาทร มีความเหมาะสมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 อยู่ในระดับดีมาก 2. ผลการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ : กรณีศึกษาศาสนสถานในเขตสาทร ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.02 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.74 และหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.25 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.25 พบว่า ผลการเรียนรู้หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ตามสถานที่ : กรณีศึกษาศาสนสถานในเขตสาทร ในภาพรวมพบว่า อยู่ในเกณฑ์มาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.06 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4037
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60902305.pdf6.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.