Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4064
Title: THE MYTHOLOGY OF BEAUTY AND SOCIAL MEDIA INFLUENCES
 มายาคติความงาม และการคุกคามทางความคิดจากสื่อโซเชียลมีเดีย
Authors: Watinee PALEEBUTT
วาทินี พาลีบัตร
Thanarit Thaipwaree
ธณฤษภ์ ทิพย์วารี
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: จิตรกรรม
ความงาม
มายาคติ
สื่อโซเชียลมีเดีย
painting
beauty
beauty myth
social media
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: what is beauty? It would be difficult to give a clear and fixed answer. And it's something that has been debated for a long time. If going back in the past Beauty if not answered according to what was known in Plato's way. That said, true beauty lies in the world of ideology. Reality is an imperfect reflection of the perfect ideal called form. Plato believed that all truth, understanding, and beauty came from the ideal. in that phenomenon We cannot experience the truth of things. Because our senses only perceive illusions in this physical world. He believed that there was a pattern for everything that existed. And the phenomena that we experience through our senses are reflections of greater ideals. Or if beauty is not like this, then what is true beauty? and does it exist? or does it exist according to its own reality? Or does it exist in our thoughts? And where did we get this idea from? Why are there so many different people as the days pass by? or because in the past there has never been enough diverse perspectives to explain who thinks what and why. Later philosophers such as David Hume (1711-1776) and Edmund Burke (1729-1797) viewed beauty as subjective, largely based on the viewpoint of the observer. American historian George Brantcroft (1800–1800) 1891) Says, “Beauty is a rational image of infinity.” The nature of beauty is one of the most interesting philosophical mysteries. Is beauty universal? How do we know? How can we convince ourselves to accept it? If beauty is universal, as Plato said There is reason to assume that we cannot perceive with the senses. But is there something in common with all perceptions of beauty? In principle Attitudes about beauty can relate to anything. through any conceivable form of experience: sensation, imagination, intelligence, or a combination of these. Therefore, by the broader picture, beauty is a matter of individual opinions and may or may not be the same It depends on the perception of each person. Many people believe that beauty is a meaning associated with different types of experiences. according to cultural influence and personal preferences. When the world changes and technology has taken a huge part in human life. fast recognition It is the surge of information and insight coupled with the raging values ​​that come with these technologies that are transforming the value of different perceptions of beauty in today's world which is not a philosophical idea from any philosopher in this world. Those ideas were destroyed with the word’s technology and social media. It was born a new beauty that creeps in and becomes overwhelmed with new values ​​from a new world of twisted reality, and we willingly embrace it.
ความงามคืออะไร คงเป็นสิ่งที่ยากจะให้คำตอบที่ชัดเจนและตายตัว และเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันมายาวนาน หากย้อนกลับไปในอดีต ความงามหากไม่ได้ตอบตามสิ่งที่ได้รับรู้กันมาในแบบของเพลโต้ ที่กล่าวว่าความงามแท้จริงอยู่ในโลกมโนคติ ความเป็นจริงเป็นภาพสะท้อนที่ไม่สมบูรณ์ของอุดมคติที่สมบูรณ์แบบที่เรียกว่า form เพลโตเชื่อว่าความจริง ความเข้าใจ และความงามทั้งหมดมาจากอุดมคติ ในปรากฏการณ์นั้น เราไม่สามารถสัมผัสความจริงของสิ่งต่าง ๆ ได้ เนื่องจากประสาทสัมผัสของเรารับรู้เพียงภาพลวงตาในโลกทางกายภาพนี้เท่านั้น เขาเชื่อว่ามีรูปแบบสำหรับทุกสิ่งที่ดำรงอยู่ และปรากฏการณ์ที่เราสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสของเราคือภาพสะท้อนของอุดมคติที่ยิ่งใหญ่กว่า หรือหากความงามไม่ใช่แบบนี้แล้วความงามที่แท้จริงคืออะไร และมันมีอยู่หรือไม่ หรือมันดำรงอยู่ตามความเป็นจริงของมันเอง หรือมันดำรงอยู่ตามความเป็นจริงในความคิดของเรา และเราได้ความคิดนี้มาจากไหน เหตุใดเมื่อวันเวลาผ่านไปจึงมีคนที่คิดต่างกันออกไปมากมาย หรือเพราะที่ผ่านมาไม่เคยได้ได้มีการมุมมองความคิดที่หลากหลายออกมามากพอที่จะแจกแจงได้ว่า ใคร คิดอย่างไร และเพราะเหตุใดนักปรัชญาในยุคหลังอย่าง David Hume (1711-1776) และ Edmund Burke (1729-1797) ก็มีทัศนะทางความงามว่าเป็นเรื่องส่วนตัวโดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้สังเกต George Brantcroft นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน (1800–1891) กล่าวว่า “ความงามเป็นเพียงภาพที่มีเหตุมีผลของความไม่สิ้นสุด” ธรรมชาติของความงามเป็นหนึ่งในปริศนาทางปรัชญาที่น่าสนใจที่สุด ความงามเป็นสากลหรือไม่? เรารู้ได้อย่างไร? เราจะโน้มน้าวใจตนเองให้ยอมรับได้อย่างไร หากความงามเป็นสากล เช่น เพลโตได้กล่าวไว้ ก็มีเหตุผลที่จะถือเอาว่าเราไม่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส แต่มีบางอย่างที่เหมือนกันกับการรับรู้ถึงความงามทั้งหมดหรือไม่? โดยหลักการแล้ว ทัศนคติเกี่ยวกับความงามสามารถสัมพันธ์กับเรื่องใดๆ ก็ได้ผ่านรูปแบบประสบการณ์ใดๆ ที่เป็นไปได้ ทั้งความรู้สึก จินตนาการ สติปัญญา หรือกจาการผสมผสานของสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นโดยภาพกว้างแล้วความงามก็คงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลว่าใครมีความเห็นอย่างไร อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกัน ก็แล้วแต่การรับรู้ของแต่ละบุคคล ซึ่งหลายคนก็เชื่อว่าความงามเป็นความหมายที่ยึดโยงกับประสบการณ์ประเภทต่างๆ ตามความชอบที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและความชอบส่วนบุคคลนั่นเอง เมื่อโลกเปลี่ยนไป และเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนในชีวิตมนุษย์อย่างมาก การรับรู้ที่รวดเร็ว ความหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารและความรู้ความเข้าใจที่หลอมรวมกับค่านิยมที่ซัดกระหน่ำมาพร้อมกับเทคโนโลยีเหล่านี้นั้นต่างหากที่เปลี่ยนแปลงคุณค่าของการรับรู้ความงามที่ต่างไปในโลกปัจจุบัน ซึ่งหาใช่ความคิดแนวปรัชญาจากนักปราชญ์คนใดในโลกนี้ไม่ แนวคิดเหล่านั้นได้ถูกทำลายไปพร้อมกับคำว่าเทคโนโลยีและสื่อโซเชี่ยลมีเดีย เกิดเป็นความงามแบบใหม่ที่ค่อยๆคืบคลานเข้ามาจนกลายเป็นถาโถมไปด้วยค่านิยมใหม่จากโลกใหม่อันเป็นความจริงที่บิดเบี้ยวและเราก็ช่วยกันอ้าแขนรับมันอย่างเต็มใจ
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4064
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630120050.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.