Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4087
Title: STYLES AND STORIES OF SCRIPTURE CABINRTS IN SANTIWAN LIBRARY OF WA PHRA CHETUPHON WIMON MANGKHALA
รูปแบบและเรื่องราวบนตู้พระธรรมในหอสมุดสันติวัน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
Authors: Kanyanat WEERACHEPSUK
กัญณัฐ วีระชีพสุข
Achirat Chaiyapotpanit
อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: ตู้พระธรรม, ตู้ลายรดน้ำ, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลราม, หอสมุดสันติวัน
Scripture Cabinet Gilded Cabinet Wat Phra Chetuphon Wimon Mangkhalaram Santiwan Library
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this dissertation is to analyze patterns for determining the age and story on the scripture cabinets at Santiwan Library in the monastery area of Wat Phra Chetuphon Wimon Mangkhalaram. The study concluded that the scripture cabinets at Santiwan Library are since late Ayutthaya till Rattanakosin period, in King Rama IV reign. The patterns in each periods contain their own unique characteristics such as the cabinets in late Ayutthaya era till Thonburee period depict natural pattern i.e., Kranok Phak Kut Hua Mon Farang Pattern, or adding the space between Kranok lines and the lines are thin and clear but smooth and flow. The characteristic still persists until Rattanakosin period on King Rama I and King Rama II’s reign. The painting style still contain the late Ayutthaya period and Thonburee period style. Afterward, in the reign of King Rama II which still preserve the painting style from King Rama I, but there is still a distinguish in Kranok Plaew pattern in the narrative painting, namely Ramayana, The Ten incarnations of the Buddha, Dhammapada, and also Honwichai-Khawi on the Ramayana painted cabinet in the King Rama II period. In the King Rama III and King Rama IV reign, the Kranok painting gained the visible development to Rattanakosin style e.g., Kranok Bai Tet, Phut Tan pattern, Acanthus pattern. The notable distinguished in King Rama III period is the combination of Thai Arts and Chinese Arts. This combination favored by King Rama III. Also, the western arts style can be found in this period. In the King Rama IV period, the previous pattern still present, but the western style become dominant such like Acanthus pattern or western knotted method. Due to the western arrival in King Rama IV period, influencing the art and became unique pattern in this period. For narrative painting, there are Ramayana, The Ten incarnations of the Buddha, which Ramayana is the most found, especially Indrajit battle scene. Moreover, heaven painting can be found along with the Chinese deity’s principle in combination with Thai’s principle, and Hierarchy of Devas.
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบเพื่อกำหนดอายุและเรื่องราวบนตู้พระธรรมในหอสมุดสันติวัน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผลจากการศึกษาพบว่าตู้พระธรรมในหอสมุดสันติวัน  มีอายุสมัยตั้งแต่ช่วงอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 ลวดลายในแต่ละสมัยมีวิธีการเขียนรูปแบบลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ อย่างเช่นตู้ในศิลปะยอยุธยาตอนปลาย - กรุงธนบุรี พบภาพทิวทัศน์ลวดลายธรรมชาติ ลายก้านขดผักกูดหัวมนฝรั่ง หรือการเว้นระยะห่างของช่องไฟ วิธีการเขียนลายเส้นกระหนกมีความบางคมชัดมีความนุ่มและอิสระ ซึ่งคุณลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นมาถึงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 - 2 กระบวนการเขียนลายเส้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ยังคงรูปแบบวิธีการสืบมาจากศิลปะอยุธยาตอนปลาย – กรุงธนบุรี ต่อมาลวดลายในสมัยรัชกาลที่ 2 ยังคงธรรมเนียมการเขียนจากรัชกาลที่ 1 แต่ถึงกระนั้นในรัชกาลนี้พบว่าเริ่มมีการพัฒนาการวิธีการเขียนกระหนกเปลวที่แตกต่างออกไป ในส่วนของภาพเล่าเรื่องพบเรื่องรามเกียรติ์ ทศชาติชาดกและนิทานธรรมบท รวมถึงพบเรื่องหลวิชัยคาวีเขียนแทรกอยู่บนตู้ที่เขียนเรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 หลังจากเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 3 - 4 วิธีการลวดลายกระหนกต่างๆได้ถูกพัฒนาเป็นรูปแบบของสมัยรัตนโกสินทร์อย่างชัดเจน อาทิเช่นลายใบเทศ ลายพุดตาน ลายใบไม้ฝรั่ง ซึ่งลวดลายในสมัยรัชกาลที่ 3 มีความโดดเด่นของการรวมกันระหว่างศิลปะไทยและศิลปะจีนจนกลายเป็นงานแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ 3 รวมถึงเริ่มพบลวดลายจากตะวันตกประดับสอดแทรกร่วมด้วย ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ลวดลายบางส่วนยังรับสืบทอดมาจากรัชกาลที่ 3 แต่ในรัชกาลนี้จะพบลวดลายจากฝรั่งตะวันตกมากอย่างใบอะแคนทัสหรือกระบวนการผูกลายอย่างฝรั่ง เนื่องจากรัชกาลนี้เป็นช่วงที่ชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศ ทำให้ศิลปะในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะจากชากตะวันตก ถือเป็นจุดเด่นของงานลวดลายประดับที่พบในช่วงรัชกาลนี้ ในส่วนของภาพเล่าเรื่องพบเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องทศชาติชาดก เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องที่พบมากที่สุดและฉากที่นิยมคือฉากศึกอินทรชิต นอกจากนั้นยังพบการเขียนภาพจับเกี่ยวกับคติเทพเจ้าจีนผสมกับคติของไทย รวมไปถึงการเขียนการลำดับคติเทพในชั้นสวรรค์
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4087
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60107201.pdf37.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.