Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4097
Title: TRADITIONAL WISDOM AND PHILOSOPHY IN ARTISTRY OF PULPIT TO CREATION OF CONTEMPORARY SPACE DESIGN
ภูมิปัญญา และปรัชญาในศิลปกรรมธรรมาสน์สู่การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบพื้นที่ร่วมสมัย
Authors: Arnuphap CHANTHARAMPORN
อานุภาพ จันทรัมพร
Phuvanat Rattanarungsikul
ภูวนาท รัตนรังสิกุล
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: ภูมิปัญญา / ปรัชญา / ธรรมาสน์ / ร่วมสมัย
WISDOM / PHILOSOPHY / PULPIT / CONTEMPORARY
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   Historical and archaeological evidence indicates that in the Ayutthaya era, it was popular to build a pulpit for a Buddhist place, continuing until Rattanakosin. This pulpit art has been created with devotion both in craftsmanship style that is full of meticulousness. Demonstrates mechanical skills which expresses understanding aesthetics material properties structural design including decoration and in terms of cultural appropriateness. But nowadays it has been neglected and is no longer used. The relevant wisdom is being lost if there is no study and collect as a body of academic knowledge. The researcher speculates that the knowledge gained from the collection and analysis, as well as the application model, will show the potential for further application or integration in other fields of science. The study will be divided into 3 areas: First, the survey of knowledge principles in Artisan wisdom, collecting, understanding and reporting the results. This will help to preserve, repair or maintain it in a more structured manner than telling. Secondly, analysis of techniques and materials will enable appropriate selection, problem solving, or development related to the creation of Thai arts in religion of the present era. Thirdly, the process of creating works will create an example of the revist of existing knowledge and wisdom to be useful in accordance with the present era. The main tools used in the research consisted of literature review to determine the time period related to social conditions in the creation of the pulpit. Field trips to explore the context, spatial, environmental and cultural factors of artisans, the designers created the dharmas in different places, the changing attitudes towards the Buddhist activities of the people and the monks. The results of the survey found that Today's Buddhist rituals are extravagant, complex, but unable to explain the Dharma principle clearly. A use of difficult-to-understand language were not able to be understood by reason, inconsistent with the current lifestyle and no longer emphasize the faith of the majority of the devotees. Found the basic idea of the ancient scientific method of knowledge wisdom and philosophy revoval in determining the structure to create the static center of the representative of power that will effectively the use of space in proclaiming or sending messages both from creator and patroage. The findings were constructively tested in four sets to present and validate the established hypotheses and the methodology discovered. It has been concluded that the knowledge of wisdom and philosophy especially the discovery that the essence of the pulpit art is to define the center area for both the concrete and the abstract. It can be inherited by modifying the form according to the specific cultural context of a situated area in harmony with the changing ideals and attitudes of contemporary society.
หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีบ่งชี้ว่า ความนิยมจัดสร้างธรรมาสน์ประจำพุทธสถานเกิดขึ้น ในยุคอยุธยา ต่อเนื่องจนถึงรัตนโกสินทร์ ศิลปกรรมธรรมาสน์ ได้รับการรังสรรค์ด้วยความทุ่มเท ทั้งในด้าน รูปแบบฝีมือ ที่เต็มเปี่ยมด้วยความปราณีตบรรจง แสดงทักษะเชิงช่าง ซึ่งแสดงออกถึงความเข้าใจ ทั้งสุนทรียศาสตร์ คุณสมบัติของวัสดุ การออกแบบโครงสร้าง การตกแต่ง และความเหมาะสมสัมพันธ์ในเชิงวัฒนธรรมเป็นอย่างสูง แต่แล้วกลับถูกละเลย ไม่ได้นำมาใช้ปัจจุบันแล้ว จนกระทั่งภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกำลังสูญหายไปหากไม่มีการศึกษารวบรวมเป็นองค์ความรู้ ทางวิชาการ ผู้วิจัยคาดการณ์ว่าความรู้ที่ได้จากการรวบรวมและการวิเคราะห์รวมถึงแบบอย่างการนำองค์ความรู้นั้นมาใช้ จะแสดงให้เห็นแนวทางการนำเอาไปใช้ต่อยอดหรือบูรณาการในศาสตร์อีกหลายแขนง ประเด็นศึกษา แบ่งออกได้ 3 ประการ คือ หนึ่ง การสำรวจหลักการ ความรู้ในภูมิปัญญาช่าง รวบรวม ทำความเข้าใจ และรายงานผลจะเป็นส่วนช่วยในการอนุรักษ์ ซ่อมแซมหรือ บำรุงรักษาไว้ได้อย่างมีแบบแผนมากกว่า การบอกเล่า ประการที่สอง การวิเคราะห์เทคนิคและตัววัสดุจะทำให้การเลือกใช้การแก้ไขปัญหา หรือเกิดการพัฒนา ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทยในศาสนาของยุคปัจจุบัน ประการที่สาม กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน จะทำให้เกิดตัวอย่างของการนำเอาองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่มีอยู่นำเสนอใหม่ให้ได้ประโยชน์สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน กระบวนการวิจัย ใช้เครื่องมือวิจัยหลักประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมเพื่อกำหนดช่วงระยะเวลาซึ่งสัมพันธ์กับสภาวะ การทางสังคมในการสร้างสรรค์ธรรมมาสน์ การลงพื้นที่สำรวจ เข้าถึงบริบท เชิงพื้นที่ สภาพแวดล้อม และปัจจัยทาง วัฒนธรรมของช่างฝีมือ ผู้ออกแบบสร้างสรรค์ธรรมมาสน์ในสถานที่ต่าง ๆ ทัศนคติที่เปลี่ยนไปต่อกิจกรรมทางพุทธศาสนาของประชาชนและพระสงฆ์ ผลจากการสำรวจพบว่า ในปัจจุบัน พิธีกรรมในพระพุทธศาสนา ที่ฟุ่มเฟือย ซับซ้อน แต่ไม่สามารถอธิบาย หลักธรรมได้กระจ่างแท้ รวมถึงวิธีการสั่งสอนโดยใช้ภาษาสื่อสารที่ยากต่อความเข้าใจ ไม่สามารถคลี่คลายได้ด้วยหลักเหตุผล ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ไม่สามารถเน้นย้ำความเชื่อ ความศรัทธา แก่ศาสนิกชนส่วนใหญ่ได้อีกต่อไป การถอด องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาและปรัชญา พบแนวคิดพื้นฐานวิธีวิทยาโบราณ ในการกำหนดโครงสร้างเพื่อสร้างสรรค์ศูนย์กลาง ที่สถิตของตัวแทนพลังอำนาจ ข้อค้นพบดังกล่าวได้ถูกนำมาทดสอบ โดยสร้างสรรค์เป็นงานจำนวน 4 ชุด เพื่อนำเสนอ และตรวจสอบ สมมติฐานที่กำหนดและตามหลักวิธีวิทยาที่ค้นพบ ได้ผลสรุปว่า องค์ความรู้จากภูมิปัญญาและปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อค้นพบว่า แก่นแท้ของศิลปกรรมธรรมาสน์ คือการกำหนดพื้นที่ศูนย์กลางทั้งรูปธรรมและนามธรรมนั้น สามารถสืบสาน ส่งต่อได้ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามบริบททางวัฒนธรรมเฉพาะตัวของพื้นที่ที่กำหนด อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับอุดมคติและทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคมร่วมสมัย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4097
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620430029.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.