Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4122
Title: | DEVELOPING PROBLEM SOLVING ABILITIES OF GRADE 2 STUDENTS
BY PROJECT-BASED LEARNING AND FUTURE SOLVING PROBLEMS การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาในอนาคต |
Authors: | Sutisa KHAMKHENGPREECHANON สุทิศา เข็มแข็งปรีชานนท์ chanasith Sithsungnoen ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน Silpakorn University. Education |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน การแก้ปัญหาในอนาคต การพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหา PROJECT-BASED LEARNING FUTURE PROBLEM SOLVING DEVELOPMENT OF PROBLEM-SOLVING ABILITIES |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to 1) study the development of problem-solving abilities of Grade 2 students who organized project-based learning and future problem-solving. 2) compare academic achievement in science subject of Grade 2 students before and after organized by project-based learning and future problem-solving. 3) study the satisfaction towards project-based learning and future problem-solving organization. The research sample was 35 students in Grade 2/6 in Watraikhing (Soonthon U-thit) school by using a Cluster random sampling method using 1 classroom as a random unit. The lesson plans of the Science and Technology learning subject group with project-based learning and future problem-solving, problem-solving ability evaluation form, academic achievement tests, and assessment of students' satisfaction towards project-based learning and future problem-solving organization were used as research tools. The statistics used to analyze the data were arithmetic mean, standard deviation, One-way ANOVA with Repeated Measures, and t-test dependent.
The findings indicated that:
1. The problem-solving abilities of Grade 2 students for 3rd time were at a very good level. (M = 2.71, SD =0.28) which is higher than 1st time (M = 2.26, SD = 0.28) and 2nd time (M = 2.27, SD = 0.23) respectively with significant at statistical .05. 2. The academic achievement of Grade 2 students after organized by project-based learning and future problem-solving (M = 15.74, SD = 2.03) is higher than before (M = 7.37, SD = 1.78) respectively with significant statistical .05.and 3. The satisfaction towards project-based learning and future problem-solving organization of Grade 2 students was found that has a very good level (M = 2.87 , SD = 0.10). การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาในอนาคต 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาในอนาคต และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาในอนาคต กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ) อำเภอสามพราน จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มจำนวน 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาในอนาคต 2) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาในอนาคต การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way ANOVA with Repeated Measures) และการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 3 อยู่ในระดับดีมาก (M = 2.71, SD =0.28) ซึ่งสูงกว่า ในครั้งที่1 (M = 2.26, SD =0.26) และครั้งที่ 2 (M = 2.57, SD =0.23) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานรูปของการแก้ปัญหาในอนาคต (M = 15.74, SD = 2.03) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 7.37, SD = 1.78) อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ .05 และ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐานร่วมกับการแก้ปัญหาในอนาคตโดยภาพพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก (M = 2.87 , SD = 0.10) |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4122 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620620074.pdf | 8.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.