Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/413
Title: การสำรวจปริมาณเชื้อ Staphylococcus aureus ในอากาศภายในโรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ด้วยวิธีการวางจานอาหารเลี้ยงเชื้อ
Other Titles: QUANTITATIVE SURVEY OF STAPHYLOCOCCUS AUREUS IN AN AMBIENT AIR WITHIN SAI NOI HOSPITAL, NONTHABURI, USING AN OPEN PLATE METHOD
Authors: เกิดนาค, พรพรรณ
Keadnak, Pornpan
Keywords: การสำรวจปริมาณเชื้อ
โรงพยาบาล
สิ่งแวดล้อม
QUANTITATIVE SURVEY
HOSPITAL
AMBIENT AIR
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณเชื้อ Staphylococcus aureus ในอากาศภายในอาคารของโรงพยาบาลไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยเก็บตัวอย่างอากาศในอาคารเพื่อนำไปวิเคราะห์เดือนละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ด้วยวิธีการวางจานอาหารเลี้ยงเชื้อ แต่ละครั้งจะทำการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 6 จุดในภายในแผนกต่าง ๆ ของโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่าเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ในอากาศมีปริมาณมากที่สุดในบริเวณแผนกผู้ป่วยนอกโดยมีปริมาณที่ตรวจวัดได้เท่ากับ 37.558 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที รองลงมาได้แก่ แผนกผู้ป่วยในชาย 25.309 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน 6.125 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที แผนกผู้ป่วยในหญิง 2.043 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที และห้องแยกโรค 1.025 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที ตามลำดับ และไม่พบแบคทีเรียชนิดนี้ในอากาศภายในห้องคลอด เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในกรณีของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยนอกจะมีปริมาณเชื้อโดยเฉลี่ยมากที่สุด คือ 37.60 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที รองลงมาคือแผนกผู้ป่วยในชาย 25.31 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที ส่วนแผนกผู้ป่วยในหญิงจะมีปริมาณน้อยมากคือ 2.04 โคโลนีต่อตารางฟุตต่อนาที เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเชื้อ S. aureus ที่พบกับเกณฑ์มาตรฐานการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ (IMA) พบว่าจำนวนเชื้อแบคทีเรียในอากาศในอาคารในโรงพยาบาลไทรน้อยยกเว้นห้องคลอด มีการปนเปื้อนอยู่ในระดับที่แย่มาก จึงต้องมีมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อต่อไป The objectives of the study were to conduct the quantitative survey of airborne Staphylococcus aureus in an indoor air within Sainoi hospital, Nonthaburi province. Indoor air samples were collected monthly during February to April in 2014 using an open plate technique. Six samples were taken each time from different medical wards within the hospital. The analysis revealed that the concentration of airborne S. aureus was highest in the outpatient ward, 37.558 CFU/ft2.min, whereas the male inpatient ward, emergency ward, female inpatient ward and isolating room had the lower load of airborne S. aureus; 25.309 CFU/ft2.min, 6.125 CFU/ft2.min, 2.043 CFU/ft2.min and 1.025 CFU/ft2.min, respectively. However, the airborne bacteria was not found in the indoor air of the delivery room. Comparison of data between inpatients and outpatients service areas indicated that concentration of the bacteria was higher in the outpatient ward, 37.60 CFU/ft2.min. followed by the male-inpatient ward, 25.31 CFU/ft2.min. While concentration of the bacteria in the female-inpatient ward was considerably low, 2.04 CFU/ft2.min. According to the index of microbial air contamination (IMA) the contamination of S. aureus in all six sampling sites was in a very poor level.
Description: 55311310 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม -- พรพรรณ เกิดนาค
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/413
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พรพรรณ.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.