Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4144
Title: MODELING OF EQUATION FOR ESTIMATING POSTMORTEM INTERVAL OF UNNATURAL DEATH IN THAILAND
รูปแบบสมการสำหรับการประเมินช่วงเวลาหลังการตายของศพที่ตายผิดธรรมชาติในประเทศไทย
Authors: Warachate KHOBJAI
วรเชษฐ์ ขอบใจ
Woratouch Witchuvanit
วรธัช วิชชุวาณิชย์
Silpakorn University. Science
Keywords: ช่วงเวลาการตาย
รูปแบบสมการ
โพแทสเซียม
อุณหภูมิสะสมรายวัน
อุณหภูมิสะสมรายชั่วโมง
คะแนนร่างกายรวมศพ
Postmortem interval
Equation model
Potasstium
Accumulated degree day
Accumulated degree hour
Total body score
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis consists of 4 parts: Part 1, Regression models for postmortem interval (PMI) estimation by using accumulated degree hours (ADH) and potassium in vitreous and blood. Part 2, Equation model for postmortem interval assessment from ambient temperature, total body score (TBS) and time since death. Part 3, Predictive equation model to estimate PMI using total body score. Part 1: The relationship between the accumulated degree day and the potassium ion level in the vitreous was 0.9931. The exponential equation was Y = 0.5252 + 1.2368(1-exp-0.01283X). The relationship between potassium ion levels and vitreous humor in pig and corpse and corpse blood were 0.9183, 0.8296 and 0.5476, respectively. The equations are Y = 0.5252 + 1.2368(1-exp-0.0847X), Y = 2.779 + 7.491(1-exp-0.1159X) และ Y = 3.795 + 39.575(1-exp-0.1047X), respectively. This equation can apply in practice, but there are precautions to be taken in case of longer death times. Part 2: The equation models of ADH with PMI, ADD with PMI and TBS with PMI were PMI = 0.1255ADH – 0.7524, PMI = 3.0105ADD -13.175 และ PMI = 4.5389TBS -27.833, respectively. Based on the criterion for the total body change score in fresh corpses, the lowest total body score was 8, when applied to the equation, the lowest time since death was 8.48 hours. The wide postmortem interval is used to compare total body score and accumulated degree day and accumulated degree hour. This resulted in an estimate of the time of death that was not as accurate as it should have been. It may be that the cause of death was caused by a water disaster and the bodies were not well preserved prior to the autopsy and ambient temperature factors may contribute to the increase in body changes in the corpse. Part 3: Postmortem interval from autopsy reports were assessed using the total body scores equation model from Tsunami disaster. These results suggest that the TBS can be optimally used to assess PMI. While the ADD and ADH were used to overestimate PMI. Therefore, Postmortem interval equations should be established for indoor, outdoor, aquatic locations and an ambient temperature specific to the region of Thailand. Which is a factor that affects the decay process. Further research is needed before it can be used as evidence in court. Part 4: The postmortem interval from the correlation equation of total body score with time of death had a better relationship than the correlation equation of accumulated degree day and accumulated degree hour with time of death. Which has a correlation coefficient (R2) equal to 0.8727. While, the both of the relationship between the accumulated degree day and accumulated degree hour with time of death was not correlated (R2 = 0.00001). The equation models reveal strengths and current limitations of all tested methods, as well as promising synergistic effects, and thus, provide a baseline for targeted future research
วิทยานิพนธ์นี้ ประกอบด้วย 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบจำลองสมการถดถอยระหว่างอุณหภูมิสะสมและโพแทสเซียมกับเวลาตาย ตอนที่ 2 รูปแบบสมการจากอุณหภูมิแวดล้อมต่อคะแนนร่ายกายรวมและเวลาตายของศพ ตอนที่ 3 รูปแบบสมการทำนายเพื่อประเมินช่วงเวลาการตาย โดยใช้คะแนนร่างกายรวมของศพ และตอนที่ 4 เปรียบเทียบเวลาตายที่ได้จากรูปแบบสมการกับเวลาตายที่แพทย์นิติเวชรายงาน             ผลการศึกษาตอนที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสะสมรายชั่วโมง (X) กับระดับโพแทสเซียมไอออน (Y) ในน้ำวุ้นลูกตาและเลือด มีสมการเส้นโค้ง คือ Y = 0.5252 + 1.2368(1-exp-0.01283X) มีความสัมพันธ์เท่ากับ 0.9931 และความสัมพันธ์ระหว่างระดับโพแทสเซียมไอออน (Y) ของน้ำวุ้นลูกตาหมู น้ำวุ้นลูกตาศพ และเลือดศพ กับเวลาเสียชีวิต (X) เท่ากับ 0.9183, 0.8296 และ 0.5476 ตามลำดับ โดยมีสมการ คือ Y = 0.5252 + 1.2368(1-exp-0.0847X), Y = 2.779 + 7.491(1-exp-0.1159X) และ Y = 3.795 + 39.575(1-exp-0.1047X) ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำรูปแบบสมการนี้ไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ แต่มีข้อควรระวังในการใช้ในกรณีที่มีเวลาเสียชีวิตที่นานขึ้น             ผลการศึกษาตอนที่ 2 รูปแบบสมการความสัมพันธ์ของอุณหภูมิสะสมรายชั่วโมงกับเวลาตาย อุณหภูมิสะสมรายวันกับเวลาตาย และคะแนนการเปลี่ยนแปลงร่างกายรวมกับเวลาตาย คือ PMI = 0.1255ADH – 0.7524, PMI = 3.0105ADD -13.175 และ PMI = 4.5389TBS -27.833 ตามลำดับ ตามเกณฑ์คะแนนการเปลี่ยนแปลงร่างกายหลังตายในศพลักษณะสดมีคะแนนขั้นต่ำสุด คือ 8 คะแนน เมื่อนำมาใช้กับสมการจะได้เวลาตายต่ำสุดเป็น 8.48 ชั่วโมง ช่วงเวลาการเสียชีวิตที่กว้างเมื่อนำมาใช้เปรียบเทียบคะแนนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังตายและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสะสมรายวันและรายชั่วโมง ทำให้ได้ค่าประเมินเวลาการตายที่ยังไม่แม่นยำเท่าที่ควรจะเป็น อาจเป็นผลมาจากสาเหตุการตายเกิดจากภัยพิบัติทางน้ำและไม่ได้เก็บรักษาศพเป็นอย่างดีก่อนที่จะมีการชันสูตรศพ และปัจจัยอุณหภูมิแวดล้อมอาจส่งผลทำให้การเปลี่ยนแปลงร่างกายศพเพิ่มขึ้น             ผลการศึกษาตอนที่ 3 การประเมินเวลาตายจากรายงานการชันสูตรศพ โดยใช้รูปแบบสมการคะแนนร่างกายรวมศพจากภัยพิบัติซึนามิ พบว่าคะแนนร่างกายรวมสามารถใช้ในการประเมินเวลาเสียชีวิตได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่การใช้อุณหภูมิสะสมวันและอุณหภูมิสะสมชั่วโมงมีค่าประเมินเวลาเสียชีวิตสูงเกินไป ดังนั้น ควรมีการสร้างสมการประเมินเวลาการตายที่ใช้สำหรับสถานที่ในร่ม กลางแจ้ง และในน้ำ และอุณหภูมิแวดล้อมที่จำเพาะกับภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการเน่าสลาย จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมก่อนที่จะนำไปใช้เป็นหลักฐานในศาล             ผลการศึกษาตอนที่ 4 เวลาการตายจากสมการความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนร่างกายรวมศพกับเวลาตายมีความสัมพันธ์ที่ดีกว่าสมการความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสะสมรายวันกับเวลาตาย และสมการความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสะสมรายชั่วโมงกับเวลาตาย ซึ่งมีค่าความสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.8727 ในขณะที่สมการความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสะสมรายวันกับเวลาตาย และสมการความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสะสมรายชั่วโมงกับเวลาตายไม่มีความสัมพันธ์กัน (R2 = 0.00001)               รูปแบบสมการที่ได้แสดงให้เห็นจุดแข็งและข้อจำกัดในปัจจุบันของวิธีการทดสอบทั้งหมด เช่นเดียวกับผลลัพธ์ที่เสริมแนวโน้มการศึกษา ดังนั้นข้อมูลรูปแบบสมการนี้จึงเป็นพื้นฐานสำหรับเป้าหมายการวิจัยในอนาคต
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4144
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57312923.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.