Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4189
Title: Outcomes of Telepharmacy on Asthma Control in Ratchaburi Hospital
ผลลัพธ์ของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลต่อการควบคุมโรคหืด โรงพยาบาลราชบุรี
Authors: Patchawalai NUALLAONG
พัชวไล นวลละออง
Wiwat Thavornwattanayong
วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: เภสัชกรรมทางไกล
การควบคุมโรคหืด
เทคนิคการสูดพ่นยา
ความพึงพอใจ
Telepharmacy
Asthma Control
Inhalation technique
Satisfaction
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Due to hospital overcrowding and the COVID-19 pandemic, many asthma patients have lost access to services. Therefore, the adoption of Telepharmacy is likely to be a way to improve asthma outcomes. This study aims to compare the results before and after receiving Telepharmacy. Three outcomes have been assessed: clinical outcomes, humanistic outcomes, and economic outcomes. The study method was Quasi-Experimental Research with only one experimental group. There were 29 asthma patients aged 18 years old and over. Research instruments consisted of TeleHealthRegion 7 program, general characteristics, the number of forgetting times to use the inhaled corticosteroids-containing controller (ICS-containing controller), and the number of emergency visits, and hospitalizations due to acute exacerbation. Assessments were inhaler technique, asthma control, satisfaction, and cost savings. The results showed that the sample had a mean age of 47.38 ± 13.76 years, 72.41 % female. The most commonly used ICS-containing controller, Salmeterol 25 mcg/ Fluticasone propionate 125 mcg Inhaler, representing 72.41 % of clinical outcomes, showed a change in asthma control levels, increased from 24.14 % to 75.86 % statistically significant (p<0.01), 51.72 % of patient inhaler technique advice from the pharmacist still needed. The mean number of problems decreased from baseline was statistically significant. 1.45±0.91 was 0.96±0.86, 0.59±0.73, and 0.21±0.41 at Week 4, Week 8, and at the end of the study (p=0.03, <0.01, and <0.01), respectively. Medication adherence increased statistically significantly, the mean percentage of the forgetting times number to use an ICS-containing controller decreased from 5.86 ± 18.67 at baseline to 0.21 ± 0.74 at the end of the study (p<0.01). The mean ICS-side effects were statistically significantly reduced from 0.66 ± 0.72 at baseline to 0.14 ± 0.44 at the end of the study (p<0.01). The number of emergency visits and hospitalizations due to acute exacerbation decreased from 1.724% at baseline to 0.00% after the end of the study. For humanistic outcomes, satisfaction was at a very satisfactory level, 4.82±0.27 based on a score full 5.00, and economic outcomes found that the cost-savings percentage was 49.99±34.90. Conclusion: Telepharmacy can help patients control asthma symptoms, reduce drug-related problems, increase adherence to the use of ICS-containing controllers, and prevent future risks, reduce side effects that make asthma patients meet their goals.
จากสถานการณ์ความแออัดของโรงพยาบาล และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดเสียโอกาสเข้าถึงการรับบริการ ดังนั้นการนำระบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล มาประยุกต์ใช้น่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคหืดดีขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างก่อนและหลังได้รับบริการเภสัชกรรมทางไกล โดยประเมินผลลัพธ์ 3 ด้าน ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านคลินิก ผลลัพธ์ด้านความเป็นมนุษย์ และผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว เป็นผู้ป่วยโรคหืดอายุ 18 ปี ขึ้นไปจำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมระบบบริการสุขภาพทางไกล เขต 7 แบบบันทึก ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยลืมใช้ยาสูดพ่นชนิดควบคุมอาการ อาการข้างเคียงจากการใช้ยาสูดพ่นชนิดควบคุมอาการ ประวัติการเข้ารับการพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากอาการของโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน แบบประเมิน ได้แก่ เทคนิคการใช้ยาสูดพ่น และระดับการควบคุมโรคหืด แบบสอบถามได้แก่ ความพึงพอใจและค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยสามารถประหยัดได้ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 47.38 ± 13.76 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 72.41 ยาพ่นชนิดควบคุมที่ใช้มากสุดคือ Salmeterol 25 mcg/ Fluticasone propionate 125 mcg Inhaler คิดเป็นร้อยละ 72.41 ผลลัพธ์ด้านคลินิกพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงระดับการควบคุมอาการโรคหืดเพิ่มจากร้อยละ 24.14 เป็น ร้อยละ 75.86 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผู้ป่วยร้อยละ 51.72 ยังจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำด้านเทคนิคการสูดพ่นยาเพิ่มเติมจากเภสัชกร ค่าเฉลี่ยของจำนวนปัญหาลดลงจากก่อนเริ่มการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือที่ก่อนเริ่มการศึกษา 1.45±0.91 เป็น 0.96±0.86, 0.59±0.73 และ 0.21±0.41 ที่สัปดาห์ที่ 4, สัปดาห์ที่ 8 และที่สิ้นสุดการศึกษา (p=0.03, <0.01 และ <0.01) ตามลำดับ ความร่วมมือของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยของร้อยละจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยลืมใช้ยาสูดพ่นชนิดควบคุมอาการลดลงจากก่อนเริ่มการศึกษา 5.86±18.67 เป็น 0.21±0.74 ที่สิ้นสุดการศึกษา (p<0.01) ค่าเฉลี่ยของอาการข้างเคียงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 0.66±0.72 ที่ก่อนเริ่มการศึกษา เป็น 0.14±0.44 ที่สิ้นสุดการศึกษา (p<0.01) จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการพ่นยาที่ห้องฉุกเฉินและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการของโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน ลดลงจากร้อยละ 17.24 เมื่อก่อนเริ่มการศึกษา เป็นร้อยละ 0.00 หลังสิ้นสุดการศึกษา สำหรับผลลัพธ์ด้านความเป็นมนุษย์ พบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก 4.82±0.27 จากคะแนนเต็ม 5.00 และผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้ร้อยละ 49.99±34.90 สรุปการให้บริการเภสัชกรรมโรคหืดทางไกล ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการของโรคหืด สามารถใช้ยาสูดพ่นได้ถูกวิธี ลดการพบปัญหาที่เกี่ยวกับยา เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาสูดพ่นสำหรับควบคุมอาการ และป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ได้แก่ การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลัน การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษา ทำให้ผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมาย
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4189
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630820008.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.