Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4211
Title: Smart Factory Management with Lean Automation for a High-Performance and Sustainable Organization in the Food Industry
การบริหารจัดการโรงงานอัจฉริยะด้วยลีนออโตเมชั่นเพื่อความเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงและนำไปสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร
Authors: Wannachai THURAPANG
วรรณชัย ธุระแพง
Santidhorn Pooripakdee
สันติธร ภูริภักดี
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: ลีนออโตเมชั่น
องค์กรแห่งความยั่งยืน
อุตสาหกรรมอาหาร
Lean Automation
Sustainable Organization
Food industry
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aimed to study the practical guidelines and success factors in managing smart factories, to study and compare the practice guidelines with the actual practice of managing smart factories, and to study smart factory management with lean automation that influences the high-efficiency organization and organizational sustainability in the food industry. The research was an exploratory sequential design using mixed methods research. It was a sequence of qualitative research by in-depth interviews with 25 key informants who were involved in the use of automation with lean automation in the food industry through content analysis. That led to the adoption of automation with the approach of Lean Automation and factors leading to the sustainability of the organization. The researcher applied the automation approach with lean automation compared to the case studies of factories in the food industry. The focus group interview with 10 people was conducted to confirm all steps practically. Besides, the factors for corporate sustainability were studied through data that were collected from 460 people involved in the automation of food factories in Thailand, and analyzed by Structural Equation Modeling (SEM) to test the influence of latent variables. The results revealed a 12-step implementation of lean automation in the food industry and confirmed the implementation for practical usage of all steps in the case study. The influencing research could be divided into 2 groups. The automation-adapting factors with lean automation had an influence on the high-performance organization only in the first group. Factors of the business alliance were not interfering variables of both groups. Variables of a high-performance organization had influenced to smart factory in both groups, but to competitive advantage only in the first group. Factors of smart factory and competitive advantage had influenced sustainability organization in both groups. The implementation of lean automation helped improve the efficiency of the automation system with lean performance improvement that made the organization reduce the costs from the loss-free work processes and the workforce to solve the labor shortage problem and lead to higher work efficiency from the case study. Moreover, the organization became a high-performance organization that transformed into a smart organization, and the competitive advantage led it to a sustainability organization. It would develop continuously and practically with the concept of lean automation.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารโรงงานอัจฉริยะด้วยลีนออโตเมชั่นที่นำไปสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการปฏิบัติกับการปฏิบัติงานจริงในการบริหารโรงงานอัจฉริยะด้วยลีนออโตเมชั่นในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโรงงานอัจฉริยะด้วยลีนออโตเมชั่นที่มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงและความยั่งยืนขององค์กรในอุตสาหกรรมอาหาร การวิจัยเป็นแบบขั้นตอนเชิงสำรวจ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสานวิธี  ลำดับจากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ระบบอัตโนมัติด้วยลีนออโตเมชั่นในอุตสาหกรรมอาหาร ผ่านการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สู่แนวทางการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ด้วยแนวทางของลีนออโตเมชั่น และปัจจัยที่นำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร ผู้วิจัยนำแนวทางการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ด้วยแนวทางของลีนออโตเมชั่นที่ได้เปรียบเทียบกับกรณีศึกษาของโรงงานในอุตสาหกรรมอาหารด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงกลุ่ม จำนวน 10 คน เพื่อยืนยันขั้นตอนที่สามารถปฏิบัติได้จริง ส่วนของปัจจัยสู่ความยั่งยืนขององค์กรเก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องกับการทำงานในระบบอัตโนมัติของโรงงานผลิตอาหารในประเทศไทย จำนวน 460 คนวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง เพื่อทดสอบอิทธิพลของตัวแปรแฝง ผลการศึกษาพบแนวทางการปฏิบัติด้วยขั้นตอนทั้งหมด 12 ขั้นตอนเพื่อนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ด้วยลีนออโตเมชั่นในอุตสาหกรรมอาหาร ยืนยันการนำไปปฏิบัติจริงได้ทุกขั้นตอนตามกรณีศึกษา การวิจัยทางด้านอิทธิพลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม พบปัจจัยการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ด้วยแนวทางของลีนมีอิทธิพลต่อความเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงเฉพาะในกลุ่มที่1 ตัวแปรพันธมิตรทางธุรกิจไม่เป็นตัวแปรแทรกในทั้ง 2 กลุ่ม ตัวแปรความเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงมีอิทธิพลต่อความเป็นโรงงานอัจฉริยะในทั้ง 2 กลุ่ม แต่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีอิทธิพลเฉพาะในกลุ่มที่ 2 ตัวแปรความเป็นโรงงานอัจฉริยะและตัวแปรความได้เปรียบทางการแข่งขันมีอิทธิพลต่อความยั่งยืนขององค์ในทั้ง 2 กลุ่ม การดำเนินงานตามแนวคิดแบบลีนออโตเมชั่นช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติตามแนวคิดการปรับปรุงประสิทธิภาพแบบลีนและการลงทุนด้วยระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมตามสถานะการณ์ สามารถช่วยองค์กรลดต้นทุนจากกระบวนการทำงานที่ปราศจากความสูญเสีย ช่วยลดกำลังคนในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานที่ขาดแคลน นำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นตามกรณีศึกษา อีกทั้งองค์กรเข้าสู่ความเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งยังสามารถเปลี่ยนองค์กรเป็นองค์กรอัจฉริยะ และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน จะนำไปสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามแนวคิดลีนออโตเมชั่น 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4211
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621230022.pdf8.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.