Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/424
Title: ความรู้ ทักษะ และความต้องการการฝึกอบรมด้านสารสนเทศศาสตร์ของเภสัชกรโรงพยาบาล
Other Titles: INFORMATICS KNOWLEDGE, SKILLS AND TRAINING NEEDS OF HOSPITAL PHARMACISTS.
Authors: ชลศิลปวิทย์, ธีรพร
CHONSILAPAWIT, TEERAPORN
Keywords: สารสนเทศศาสตร์
ความรู้
ทักษะ
เภสัช
INFORMATICS
KNOWLEDGE
SKILL
PHARMACY
Issue Date: 12-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่องานด้านเภสัชกรรม ดังนั้น ความรู้และทักษะด้านสารสนเทศศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลักสูตรเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักสูตร 5 ปี เป็น 6 ปี แต่ยังคงมีการเรียนการสอนเน้นทางด้านสารสนเทศศาสตร์ค่อนข้างน้อย ผู้ที่มีความสนใจต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนมาก ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจทักษะด้านสารสนเทศศาสตร์ที่มีในเภสัชกรโรงพยาบาล รวมถึงความต้องการในการฝึกอบรมด้านสารสนเทศศาสตร์ ซึ่งจะนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรด้านสารสนเทศศาสตร์ของเภสัชกรในประเทศไทย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามที่เกี่ยวข้องกับการประเมินตนเองในเรื่องความรู้และทักษะด้านสารสนเทศศาสตร์ และสอบถามความคิดเห็นเรื่องความจำเป็นต่องานและความต้องการในการฝึกอบรมในหัวข้อต่างๆ จำนวนคำถามรวมทั้งสิ้น 73 ข้อ แบบสอบถามได้ถูกส่งไปยังเภสัชกรในโรงพยาบาล 601 แห่ง ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2002 ฉบับ เป็นระยะเวลา 3 เดือน แบบสอบถามจำนวน 805 ฉบับได้ถูกส่งกลับมา (40.2%) เมื่อนำไปวิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินว่าตนเองมีทักษะด้านอินเทอร์เน็ต, ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และทักษะด้านการสื่อสาร ในระดับ ดีมาก, ดี, ดี ตามลำดับ มีความรู้และทักษะด้านการจัดการข้อมูลในระดับพอใช้ ในขณะที่ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีและการออกแบบฐานข้อมูลอยู่ในระดับต่ำผลการประเมินความรู้และทักษะสอดคล้องกับผลการสอบถามความคิดเห็นในเรื่องความต้องการการฝึกอบรม โดยพบว่า หัวข้อความรู้และทักษะด้านการจัดการข้อมูล และหัวข้อความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีและการออกแบบฐานข้อมูลได้รับการประเมินว่ามีความต้องการการฝึกอบรมในระดับสูง เมื่อนำไปวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับทักษะและระดับความคิดเห็น พบว่า เพศ อายุ รายได้ การศึกษา และระยะเวลาปฏิบัติงานมีผลต่อระดับทักษะ ในขณะที่ อายุ รายได้ การศึกษา และระยะเวลาปฏิบัติงานมีผลต่อระดับความคิดเห็นในเรื่องความต้องการการฝึกอบรม อย่างไรก็ตาม ระดับความรู้และทักษะของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นเรื่องความต้องการการฝึกอบรม โดยสรุปแล้ว เภสัชกรไทยมีความเชี่ยวชาญในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังตระหนักถึงข้อจำกัดของตนเองซึ่งส่งผลให้มีความต้องการการฝึกอบรมในหัวข้อความรู้ทักษะทางสารสนเทศศาสตร์ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม จากการที่ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีและการออกแบบฐานข้อมูลได้รับการประเมินในระดับต่ำ และผลการประเมินระดับความคิดเห็นในเรื่องความจำเป็นต่องานอยู่ในระดับกลาง และได้คะแนนต่ำกว่าหัวข้ออื่นๆ แสดงให้เห็นว่าเภสัชกรไทยยังคงขาดความตระหนักถึงความสำคัญในหัวข้อดังกล่าว As information technology is employed in pharmacy practice and healthcare considerably, informatics skills are required for all health professions in order to handle information and utilization information technology effectively. Therefore, in addition to professional knowledge and skills, pharmacy schools should also educate and train their students on informatics. However, most current pharmacy curricula in Thailand scarcely address informatics principle and skills. Thai pharmacists generally acquire computer literacy and informatics skills through personal-interest training and self-study. In this study, we surveyed Thai hospital pharmacists’ informatics skills and their training needs which would be basis information for course development. Self-assessment postal surveys of 73 questions were developed and sent to 2002 pharmacists in 601 hospitals throughout Thailand. A total of 805 (40.2%) questionnaires were returned after 3 months. Averagely, respondents rated their internet skills, computer skills, and communication skills as proficient, competent, and competent, respectively. They rated themselves on information literacy skills as advance beginners whereas they rated their information technology and database design knowledge and skills as novices. The low level skills were correlated with high level of training needs as information literacy skills and technology and database design knowledge and skills got the high need score. The factors that affected their skill levels were gender, age, income, education levels and time of practice. The factors that affected their attitude to training needs were age, income, education levels and time of practice. There were no relationship between skill levels and training needs. In conclusion, Thai pharmacists were confident in using computer and internet. They realized their limitation of informatics knowledge and skills, and needed more training. Of concern were their technology and database design knowledge and skills. Although training needs was rated as high, the skills level was rated as novice and got the lowest necessity toward work score. This information will be useful for pharmacy curriculum development.
Description: 54363201 ; สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ -- ธีรพร ชลศิลปวิทย์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/424
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54363201 ธีรพร ชลศิลปวิทย์.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.