Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/426
Title: ผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
Other Titles: EFFECT OF HOME HEALTH CARE IN HYPERTENSIVE PATIENTS BY MULTIDISCIPLINARY TEAM.
Authors: มากชุมนุม, พุทธชาติ
MAKCHUMNUM, PUTTACHART
Keywords: การเยี่ยมบ้าน
โรคความดันโลหิตสูง
ความร่วมมือในการใช้ยา
คุณภาพชีวิต
HOME HEALTH CARE
HYPERTENSION
MEDICATION ADHERENCE
QUALITY OF LIFE
Issue Date: 3-May-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ป่วยจำนวน 73 คน ถูกจัดเข้ากลุ่มโดยวิธีสุ่มให้อยู่ในกลุ่มศึกษา (36 คน) หรือกลุ่มควบคุม (37 คน) กลุ่มศึกษาได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 3 ครั้ง ทุก 4-8 สัปดาห์ และได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติของโรงพยาบาล ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมตามปกติของโรงพยาบาลเท่านั้น การศึกษานี้มีระยะเวลา 12 เดือน ผลลัพธ์ที่วัดคือ สัดส่วนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ความร่วมมือในการใช้ยาที่วัดด้วยแบบประเมิน modified Morisky Medication Adherence Scale 8-item (modified MMAS-8) และการนับเม็ดยา และคุณภาพชีวิตที่วัดด้วยแบบประเมิน EuroQol-5D-3L (EQ-5D-3L) ผลการศึกษา พบว่า สัดส่วนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 58.30 เทียบกับ 43.20) และค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวของทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวในกลุ่มศึกษาลดลงจาก 153.42±4.55 มิลลิเมตรปรอท เป็น 139.75±14.55 มิลลิเมตรปรอท กลุ่มควบคุมลดลงจาก 155.19±4.35 มิลลิเมตรปรอท เป็น 145.78±15.86 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวในกลุ่มศึกษาลดลงจาก 83.08±8.78 มิลลิเมตรปรอท เป็น 79.14±10.40 มิลลิเมตรปรอท และกลุ่มควบคุมลดลงจาก 83.86±9.50 มิลลิเมตรปรอท เป็น 75.49±11.64 มิลลิเมตรปรอท กลุ่มศึกษามีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.22±1.20 คะแนน เทียบกับ 5.16±1.01 คะแนน, p-value < 0.001) ผลการนับเม็ดยา พบว่า ความร่วมมือในการใช้ยาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คุณภาพชีวิตแยกตามมิติสุขภาพและที่วัดจาก EQ visual analogue scale (EQ VAS) ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นมิติด้านการเคลื่อนไหวและความเจ็บปวด/ความไม่สุขสบาย ส่วนคะแนนอรรถประโยชน์ในกลุ่มศึกษา (0.86±0.10) มากกว่ากลุ่มควบคุม (0.74±0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.009) สรุปการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น This study aimed to evaluate the effects of home health care on hypertensive patients by a multidisciplinary team from Bannasan Hospital, Bannasan District, Surat Thani Province. Seventy-three patients were randomly allocated to a study group (n=36) or a control group (n=37). The study group received 3 visits of home health care every 4-8 weeks in addition to usual pharmaceutical care service provided at the hospital, while the control group received only the usual pharmaceutical care service at the hospital. The total study duration was 12 months. The proportion of patients whose blood pressure control was within target, systolic blood pressure (SBP), diastolic blood pressure (DBP), medication adherence as measured by the modified Morisky Medication Adherence Scale 8-item (modified MMAS-8) and pill count, and quality of life as measured by EuroQol-5D-3L (EQ-5D-3L) were evaluated at baseline and the end of the study. The results showed non-significant differences in the proportion of patients whose blood pressure control was within target (58.30% vs. 43.20%), SBP and DBP between the two groups. SBP in the study group was reduced from 153.42±4.55 to 139.75±14.55 mmHg, and in the control group it was reduced from 155.19±4.35 to 145.78±15.86 mmHg. DBP was reduced from 83.08±8.78 to 79.14±10.40 mmHg in the study group and in the control group it was reduced from 83.86±9.50 to 75.49±11.64 mmHg. Medication adherence significantly improved in the study group compared to the control group (6.22±1.20 vs. 5.16±1.01, p-value < 0.001). The results from pill count showed non-significant difference between the two groups. The health profiles as measured by EQ-5D and EQ visual analogue scale (EQ VAS) were not statistically different between the two groups in any of the dimensions, except for mobility and pain/discomfort, whereas the EQ-5D utility score in the study group (0.86±0.10) was higher than that in the control group (0.74±0.21) (p-value = 0.009). This showed that home health care by the multidisciplinary team could help hypertensive patients to have better drug adherence and achieve a better quality of life.
Description: 53351205 ; สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก -- พุทธชาติ มากชุมนุม
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/426
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53351205 พุทธชาติ มากชุมนุม.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.