Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4268
Title: THE DEVELOPMENT OF LITERATURE ANALYSIS SKILLS OF MATTHAYOMSUKSA 2 STUDENTS BY USING CREATIVE DRAMA TECHNIQUES
การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์
Authors: Bodin NGAMSANG
บดินทร์ งามแสง
Atikamas Makjui
อธิกมาส มากจุ้ย
Silpakorn University
Atikamas Makjui
อธิกมาส มากจุ้ย
suloo62@hotmail.com
suloo62@hotmail.com
Keywords: ทักษะการวิเคราะห์วรรณคดี
เทคนิคละครสร้างสรรค์
LITERATURE ANALYSIS SKILLS
CREATIVE DRAMA TECHNIQUES
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were :1) to compare the literature analysis skills of Matthayomsuksa 2 students before and after using creative drama techniques,  2) to study Matthayomsuksa 2 students’ opinions towards the learning by using creative drama techniques.The sample this research were 40 students of Bangpakokwitthayakom school, Ratburana district, Bangkok who studied in Matthayomsuksa class 2 semester 2nd academic year 2021 (B.E.2564) which were chosen by simple random sampling - drawing lots - and using classroom as random unit. It was pre - experimental design and used the one-group pretest-posttest design. The research tools consisted of 1) Creative drama techniques’ Lesson Plans, 2) Literature analysis skills tests, and 3) Questionnaire on the students’opinions towards learning by using creative drama techniques. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test for dependent. The results of the study were as follows: 1) The literature analysis skills of Matthayomsuksa 2 students after learning by using creative dramatic techniques was significantly higher than before using creative dramatic techniques at .05 level. 2) The opinions of Matthayomsuksa 2 students towards learning by using creative dramatic techniques were at high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random  Sampling)  ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง (Pre-Experimental Design) ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลัง (The One-Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบวัดทักษะ การวิเคราะห์วรรณคดี และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t –test for dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการวิเคราะห์วรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคละครสร้างสรรค์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4268
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60255308.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.