Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4274
Title: | Guidelines for the development of learning innovations in social studies, religion and culture learning groups in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 8, Kanchanaburi Province แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี |
Authors: | Suttipon LEECHALEAN สุทธิพร ลีเจริญ Ratchadaporn Ketanon รัชฎาพร เกตานนท์ Silpakorn University Ratchadaporn Ketanon รัชฎาพร เกตานนท์ KETANONNEAW_R@SU.AC.TH KETANONNEAW_R@SU.AC.TH |
Keywords: | การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ขนาดสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา Learning innovations Social studies School size |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | research this time intended for 1) Study the current state of using learning innovations. in Social studies, religion and culture department 2) Compare the opinions of administrators and teachers toward the use of learning innovations. Social studies, religion and culture department by the size of the school and 3) To study ways to develop innovative learning in Social studies, religion and culture department. It's a mixed research. using quantitative research methods and qualitative research The sample group and key informants used in the research were: 1) School administrators, 15 people 2) 100 teachers in Social studies, religion and culture department 3) 382 high school students who gave key information in the interview were 4 people. The tools used to collect data were: structured questionnaires and interviews Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. content analysis The results showed that
1. Current state of using innovative learning in Social studies, religion and culture department In secondary schools, it was found that 1) According to the students' opinions, it is at a moderate level (3.40). 2) The teacher's opinions were at the moderate level (4.19) and 3) The opinions of school administrators were at a moderate level (5.00).
2. Comparison of opinions of using learning innovations in Social studies, religion and culture department Classified by school size, it was found that
Executive Opinion 1) Management Medium schools are different from large schools. 2) Teaching and learning Medium and large schools are different from extra large. 3) Service Medium schools have a different opinion than extra large. and opinions of teachers 1) Management medium school Large and extra large are different. 2) Teaching and learning medium school large and extra large no difference 3) Service Medium and large schools are different from extra large.
3. Guidelines for learning innovation development in Social studies, religion and culture department learning subjects To create a guideline for the development of learning innovation in Social studies, religion and culture department in 3 areas: 1) Management 2) Teaching and learning 3) Service การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมจำแนกตามขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เป็นการวิจัยแบบผสม ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน 2) ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 100 คน 3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 382 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า 1) ตามความคิดเห็นของของนักเรียน อยู่ในระดับ ปานกลาง (3.40) 2) ความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับ ปานกลาง (4.19) และ 3) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับ ปานกลาง (5.00) 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เมื่อจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร 1) ด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดกลางแตกต่างกับขนาดใหญ่ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่แตกต่างกับขนาดใหญ่พิเศษ 3) ด้านการบริการ โรงเรียนขนาดกลางมีความคิดเห็นที่แตกต่างกับใหญ่พิเศษ และความคิดเห็นของครูผู้สอน 1) ด้านการบริหาร โรงเรียนขนาดกลาง,ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ แตกต่างกัน 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนขนาดกลาง,ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ ไม่แตกต่างกัน 3) ด้านการบริการ โรงเรียนขนาดกลางกับขนาดใหญ่ที่แตกต่างกับขนาดใหญ่พิเศษ 3.แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเพื่อสร้างเป็นแนวทางการพัฒนาการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหาร 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริการ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4274 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60260313.pdf | 5.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.