Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4278
Title: THE DEVELOPMENT EMPOWERING MODEL TO PROMOTE THE QUALITY ELDERS LIFE IN THE ELDERLY SCHOOL OF NAKHON PATHOM PROVINCE
การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม
Authors: Suthee KANDAMRI
สุธี การดำริห์
Narin Sungrugsa
นรินทร์ สังข์รักษา
Silpakorn University
Narin Sungrugsa
นรินทร์ สังข์รักษา
narin@ms.su.ac.th
narin@ms.su.ac.th
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การเสริมสร้างพลังอำนาจ
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
โรงเรียนผู้สูงอายุ
THE DEVELOPMENT MODEL
EMPOWERING MODEL
THE QUALITY ELDERS LIFE
THE ELDERLY SCHOOL
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) To study basic information and conditions of quality of life for the elderly 2) To develop an empowerment model to promote the quality of life of the elderly 3) To try out the model and 4) To assess and improve the model. Using research and development methodology. By using Mixed Method Research. Collect information: Quantitative Research Qualitative Research and Multi-case Multi-side. The results of the research found that 1. The process of operation of the school for the elderly They have the same setup and operation characteristics. and differ in terms of liability care. There are admissions and study according to the specified course. Provide general knowledge necessary for the elderly Caring for the health of the elderly and nutrition knowledge for the elderly. Guidelines for managing the health and welfare of the elderly in the school of the elderly: Physically, there is a volunteer spirit to take care of the elderly. Psychologically, the elderly showed their potential. Intellectually, emotionally, the elderly have learned to use modern technology. Social / Environment The elderly can use their knowledge and life experiences to benefit the community and society. 2. The origin of the pattern development “KENG Model” was a format that has been checked for accuracy of content (Content Analysis) from 5 qualified experts. 3. Model development experiment: Knowledge, activities to promote learning Network and participation in learning centers in schools for the elderly and the aspect of utilization was at a moderate level. Pre-test with a moderate average score. Post-test has a high average score. The “KENG Model” was suitable for use. There are sub-components: 1) K = Knowledge 2) E = Elderly School 3) N = Network and 4) G = Good 4. The satisfaction assessment of the elderly in the experimental group found that the overall satisfaction of the trainees for model development training was at a high level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม ใช้ระเบียบวิธีแบบการวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D) โดยใช้เทคนิควิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ร่วมกับ Multi-case Multi-side ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการดำเนินการของโรงเรียนผู้สูงอายุ มีลักษณะการจัดตั้งและการดำเนินการที่เหมือนกัน และแตกต่างกันในด้านการดูแลรับผิดขอบ มีการรับสมัครและเรียนตามหลักสูตรที่กำหนด และกิจกรรมการเรียนการสอนมีการจัดหลักสูตรที่คล้ายกัน คือ ให้ความรู้ทั่วไปที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ แนวทางการจัดการสุขภาวะและสวัสดิการของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ด้านกายมีจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ ด้านจิต ผู้สูงอายุได้แสดงออกถึงศักยภาพที่มีอยู่ ด้านปัญญา อารมณ์ ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ ด้านสังคม / สิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ชีวิตที่มีให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม การเสริมสร้างเครือข่ายในการจัดการสุขภาวะสวัสดิการผู้สูงอายุ มีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในแต่ละตำบล 2. ที่มาของการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม “KENG Model” ได้จากการสังเคราะห์แนวคิด/ทฤษฎีและงานวิจัยและข้อมูลในพื้นที่ เป็นรูปแบบที่ผ่านการตรวจสอบความถูกเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Analysis) จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน 3. การทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม ด้านความรู้ ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านเครือข่ายและการมีส่วนร่วมศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนผู้สูงอายุ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนก่อนการอบรม (Pre-test) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการอบรมได้ทดสอบ (Post-test) มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รูปแบบ “KENG Model” มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ มีองค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) K  = Knowledge (ความรู้) 2) E = Elderly School (โรงเรียนผู้สูงอายุ) 3) N = Network (เครือข่าย) และ 4) G = Good (ความดี) 4. การประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุของจังหวัดนครปฐม โดยการสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มทดลอง พบว่า ความพึงพอใจของผู้รับการอบรมการพัฒนารูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4278
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60260910.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.