Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4283
Title: THE ADMINISTRATORS' ROLE AND INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE KANCHANABURI 
บทบาทของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี
Authors: Jirapat LUANGWATTANAWILAI
จิรภัทร์ เหลืองวัฒนวิไล
Nuchnara Rattanasiraprapha
นุชนรา รัตนศิระประภา
Silpakorn University
Nuchnara Rattanasiraprapha
นุชนรา รัตนศิระประภา
nuchnara14@hotmail.com
nuchnara14@hotmail.com
Keywords: บทบาทของผู้บริหาร
การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
ประกันคุณภาพการศึกษา
Administrator's roles
Internal quality assurance
Educational Quality Assurance
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract:           This purposes of this research were to determine 1) the administrator's roles of school under the Secondary Educational Service Area Office Kanchanaburi  2) the Internal quality assurance of school under the Secondary Educational Service Area Office Kanchanaburi 3) the relationship between administrator's roles and the Internal quality assurance of school under the Secondary Educational Service Area Office Kanchanaburi. The sample consisted of 28 schools under the Secondary Educational Service Area Office Kanchanaburi. The research instrument was a questionnaire regarding administrator's roles, based on the concept of Mintzberg and the Internal quality assurance of schools, based on the concept of Office of the Basic Education Commission. The data were analyzed using frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient.           The finding of this research were as follow; 1. The administrator's roles of school under the Secondary Educational Service Area  Office Kanchanaburi, overall and each perspective, was found at a highest level, sorting from the highest to the lowest arithmetic mean as follows : interpersonal roles,  informational roles  and decisional roles.  2. The Internal quality assurance of schools under under the Secondary Educational Service Area Office Kanchanaburi, overall and each perspective, was found at a highest level, sorting from the highest to the lowest arithmetic mean as follows : have a self-evaluation, define our educational standards  Maintain high performance in accordance with academic norms,  create a plan to control our educational development, manage our educational development and assess and examine the educational quality offered by the various institutions. 3. The relationship between the administrator's roles The Internal quality assurance of school under the Secondary Educational Service Area Office Kanchanaburi was in the high level at the .01 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี จำนวน 28 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูล 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารตามแนวคิดของมินทซ์เบิร์ก กับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามแนวคิดของสำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บทบาทด้านสารสนเทศ  และบทบาทด้านการตัดสินใจตามลำดับ 2. การดำเนินคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การดำเนินคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามลำดับ         3. บทบาทของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4283
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61252308.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.