Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4296
Title: | THE DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE MATHEMATICS PROBLEM SOLVING ABILITY AND MATHEMATICAL HABITS OF MIND OF ELEMENTARY STUDENTS การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา |
Authors: | Chidchanok TAGOPORN ชิดชนก ตะโกพร Siriwan Vanichwatanavorachai ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย Silpakorn University Siriwan Vanichwatanavorachai ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย wantoo_@hotmail.com wantoo_@hotmail.com |
Keywords: | รูปแบบการเรียนรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ INSTRUCTIONAL MODEL MATHEMATICS PROBLEM SOLVING ABILITY MATHEMATICAL HABITS OF MIND |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to: 1) develop and to determine the efficiency of an instructional model to enhance Mathematics Problem Solving Ability and Mathematical Habits of Mind of elementary students and 2) study an effectiveness of an instructional model to enhance Mathematics Problem Solving Ability and Mathematical Habits of Mind of elementary students as follows: 2.1) compare Mathematics Problem Solving Ability before and after learning, 2.2) study the development Mathematical Habits of Mind students before, during the study period and after learning. The samples used in this research were the 40 first-grade students of schools in Nakhon Pathom Primary Educational Service Area District Office 2 who were studying in the second semester of academic year 2021. The research instruments consisted of instructional model which was developed by the researcher, a handbook for the model, lesson plans, mathematics problem solving ability assessment test and mathematical habits of mind assessment test, data were analyzed by using mean, standard deviation, dependent t-test statistics and repeated measure ANOVA.
The research results found that:
1. The instructional model called “PPCC Model” was consisted of five elements : principle, objective, learning process, evaluation and learning factors. The learning process has four stages: Prepare, Plan, Cooperate and conclude. The efficiency of the Model was 85.28/82.81 which was higher than required 80/80.
2. After learning the students demonstrated higher scores in the Mathematics Problem Solving Ability comparing to the scores obtained before learning. The difference was significant at .05 level.
3. Mathematical Habits of Mind students were gradually increased. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ 2.2) ศึกษาพัฒนาการด้านจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดจิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้ “PPCC Model” มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมพร้อมรับข้อมูล (P : Prepare) ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนหาวิธีการ (P : Plan) ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้ร่วมกัน (C : Cooperate) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปการเรียนรู้ (C : Conclude) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรูปแบบการเรียนรู้ “PPCC Model” ที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.28/82.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ “PPCC Model” นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. จิตนิสัยทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ “PPCC Model” นักเรียนมีพัฒนาการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4296 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61253902.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.