Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4297
Title: THE DEVELOPMENT OF LEARNING MODEL BASED ON SELF-REGULATION STRATEGIES TO ENHANCE THE ABILITY FOR CRITICAL READING  OF MATHAYOM 3 STUDENTS IN INTERNATIONAL SCHOOL
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ 
Authors: Siriwan SIRIMANGKALAVANIT
ศิริวรรณ ศิริมังคลวณิชย์
Siriwan Vanichwatanavorachai
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย
Silpakorn University
Siriwan Vanichwatanavorachai
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย
wantoo_@hotmail.com
wantoo_@hotmail.com
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การกำกับตนเอง
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
Learning Model
Self-regulation
Critical reading
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were ; 1) to develop learning model based on self-regulation strategies to enhance the ability for critical reading of mathayom 3 students in international school. 2) to evaluate the effectiveness of the development of develop learning model based on self-regulation strategies to enhance the ability for critical reading of mathayom 3 students in international school which consist of two topics as follows: 2.1) to evaluate ability critical reading pretest and post-test by using the model. 2.2) to evaluate the satisfaction after using the model. The sample group were the student of mathayom 3 students in international school term 3 in 2021-2022. Twelve students were selected as purposive sampling in subject Thai language and culture. The target took place during a period of seven weeks/35 hours. Research Instrument as follows: 1) Model learning and handbook for using model including lesson plan and task paper. 2) Pre-test and post-test in critical reading. 3) The questionnaire of satisfaction after using the model. The statistics used percentage, mean, standard deviation, Non-parametric Statistic: Wilcox-on signed ranks test, content Analysis and qualitative research. The findings of this research are as follows: 1.The learning model based on self-regulation strategies to enhance the ability for critical reading of mathayom 3 students in international school (EC2R Model), this model consists of four components which are; 1) Principle of leaning model 2) Objective of learning model 3) The learning process (consisting of four steps, which are; (I) Establishing purpose; (II) Challenging question; (II) Reading criticism; and (IV) Reflecting idea 4) Evaluation of learning model. 2. The average post-test score of the abilities for critical reading were significantly higher than of the pre-test score at .01 level. 3. The students were significance toward the model to enhance the abilities for critical reading were at a high level and they used their potential to do tasks with enjoyment in critical reading.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบด้วย 2.1) ประเมินความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ 2.2) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ ที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มงานโรงเรียนนโยบายพิเศษ  ประเภทนานาชาติ ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2564-2565 จำนวน 12 คน ที่ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) การทดลองใช้เวลา 7 สัปดาห์/ 35 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ 5 แผน และแบบฝึก 2) แบบทดสอบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณค่าสถิติ Non-parametric Statistic  แบบ Wilcoxon signed ranks test และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติ (EC2R Model) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่  1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3)กระบวนการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างเป้าหมาย (Establishing purpose) ขั้นตอนที่ 2 คำถามชวนคิด (Challenging question) ขั้นตอนที่ 3 ตกผลึกการอ่าน (Reading criticism) ขั้นตอนที่ 4 สะท้อนความคิด (Reflecting idea) และ 4) การวัดและการประเมินผล 2) ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารญาณดีขึ้น 3) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธีการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนนานาชาติอยู่ในระดับมาก และมีผลให้นักเรียนเกิดการใช้ศักยภาพของตนเองในการทำภาระงานส่งผลให้เกิดความสนุกสนานในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4297
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61253905.pdf5.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.