Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/431
Title: กระบวนการจัดการความรู้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนคุณภาพสูง
Other Titles: KNOWLEDGE MANAGEMENT PROCESS FOR PREMIUM GRADE BEEF PRODUCTION FARMERS.
Authors: อินทะสิริ, นริศรา
INTASIRI, NARISARA
Keywords: กระบวนการจัดการความรู้
เกษตรกร
กลุ่มสมาชิกสหกรณ์
การเลี้ยงโคขุน
KNOWLEDGE MANAGEMENT PROCESS
FARMERS
COOPERATIVE MEMBER
FATTENING CATTLE
Issue Date: 3-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้ของเกษตรต้นแบบผู้เลี้ยงโคขุนที่ประสบ ความสำเร็จ และเพื่อหาแนวทางส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรเพื่อการเลี้ยงโคขุน คุณภาพสูง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 5 ราย การ สนทนากลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด จำนวน 10 ราย กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ การเกษตรหนองสูง จำกัด สาขาปศุสัตว์ จำนวน 9 ราย และ กลุ่มสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำกัด จำนวน 9 ราย และสัมภาษณ์ผู้แทนจาก 3 สหกรณ์นี้ จำนวน 4 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ กรอบประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการจัดการความรู้ของเกษตรกรต้นแบบ มี 6 ข้ันตอน คือ 1) ความต้องการความรู้ 2) การ ค้นหาความรู้ 3) การสร้างความรู้ 4) การใช้ความรู้ 5) การจัดเก็บความรู้ และ 6) การถ่ายทอดความรู้ กระบวนการ จัดการความรู้ของกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ มี 5 ข้ัน คือ 1) การค้นหาความรู้ก่อนเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2) การเปิดรับความรู้ เมื่อเป็นสมาชิก 3).การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 4)การจัดเก็บความรู้ และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ พบว่า การ เข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ของเกษตรกร แนวทางส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้ มี 6 แนวทาง คือ 1) เชิงนโยบายควรเตรียมพร้อม เจ้าหน้าที่สมาชิกเกษตรกรผ่านกิจกรรมและสร้างแจงจูงใจ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้ร่วมกัน 2) การ ค้นหาความรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือสื่อมวลชนท้องถิ่น จัดทำคลังความรู้ในพื้นที่ คลังความรู้ในสหกรณ์ ใช้ เครื่องมือ Social Network ส่งข่าวสารความรู้ 3) การสร้างความรู้และการใช้ประโยชน์ความรู้ นำความรู้ที่เป็นความ ต้องการของเกษตรกร มาร่วมกำหนดประเด็นความรู้ ในการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้เกษตรกร เป็น “นักวิจัยโคขุน ท้องถิ่น” ยกย่องเกษตรกรเมื่อมีการพัฒนาความรู้ของตนเอง 4) การจัดเก็บความรู้ ทำฐานข้อมูลเกษตรกร และ ชุด ความรู้ที่มาจากจากเกษตรกร เก็บเป็น “ความรู้ฉบับชาวบ้าน” อบรมเจ้าหน้าด้านทักษะสื่อสาร เช่น การถาม การจับ ประเด็น การสรุปประเด็น 5) การถ่ายทอดความรู้ เสริมทักษะเชิงการถ่ายทอดให้กับเกษตรกร พัฒนาจุดถ่ายทอด ความรู้ในพื้นที่ เกษตรกรร่วมรายการทางสื่อมวลชนท้องถิ่น และขึ้นทะเบียนเป็น “วิทยากรเกษตรกร” 6) การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกร ควรกระตุ้นเกษตรกรให้เห็นว่าตนเองมีคุณค่าเป็นผู้สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้ผู้อื่นได้ และสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ตลอดชีวิต จัดช่วงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมไว้ในกิจกรรมต่างๆ จัด บรรยากาศให้สนุก ผ่อนคลายเป็นกันเอง ให้เกษตรกรในพื้นที่เดียวพูดคุยช่วยเหลือกัน แบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน” จัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุน The purpose of this research were to study knowledge management process of farmers who success in premium-grade beef production, and the guidelines to promote knowledge management process for Thai farmer in premium-grade beef production, by qualitative research. Data were collected by in-depth interview 5 role-model farmers, focus group with 10 farmer members of Pon-Yang-Kham Livestock Breeding Cooperative NSC,ltd, 9 farmer members of Nong-Sung Livestock Breeding Cooperative,ltd, and 9 farmer members of KU KamphaengSaen Campus Beef Producer Cooperative,ltd, and interview 4 representatives of this 3 cooperatives. The research instruments were the semi-structured interview and the guideline of focus group. Data were analyzed by using content analysis. The results revealed that; Knowledge management process of role-model farmers have 6 stages:1) Need of Knowledge 2) Knowledge Identification 3) Knowledge Creation 4) Knowledge Storage 5) Knowledge Using and 6) Knowledge Transfer. Knowledge management process of farmer groups have 5 stages: 1) Knowledge Identification before to be cooperative members 2) Knowledge Perception as the membership 3) Knowledge Using 4) Knowledge Storage 5) Knowledge Sharing, and found that being a member of the cooperative is one factor that to contributes the knowledge management process of farmer The guidelines to promote knowledge management process 6 guidelines: 1) Policy - the officials farmer activities and motivation should be prepared to build a culture of knowledge management. 2) Knowledge Identification – to connect with local media, set up knowledge assess point in farmer area and in cooperative, and use social network to sharing knowledge. 3) Knowledge Creation- Knowledge Using- to put needs of knowledge’s farmers to determine the issue of knowledge management, to encourage farmers to be " Beef Researchers in Local" and recognition when they have developed their own knowledge. 4) Knowledge Storage- to set up database of farmers and the knowledge of the farmers kept in term of “The Farmer Version” and training communication skills such as the question and the summary of issue skill to the officers. 5) Knowledge Transfer- to train the farmer in skill of communication transfer, develop knowledge transfer point in farmer area, invite farmer in local media program and register farmers as the “Farmer Trainer” 6) Knowledge Sharingshould encourage farmer to value themselves as sharing experiences with others and learn new things throughout life, have knowledge sharing partly in activities in funny atmosphere, promote farmer with in the same area communicate together as “friend help friend”, and set up knowledge sharing activities between beef cooperatives network.
Description: 53251809 ; สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ -- นริศรา อินทะสิริ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/431
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53251809 นริศรา อินทะสิริ.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.