Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4316
Title: The development of critical reading ability by using GPAS process for matthayomsuksa 6 students
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารญาณ ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Authors: Ittichoke NAKSANONG
อิทธิโชค นาคสนอง
Atikamas Makjui
อธิกมาส มากจุ้ย
Silpakorn University
Atikamas Makjui
อธิกมาส มากจุ้ย
suloo62@hotmail.com
suloo62@hotmail.com
Keywords: การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
การเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS
CRITICAL READING
TEACHING WITH GPAS PROCESS
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this study were to 1) compare the critical reading ability of Matthayomsuksa 6 students before and after learning with GPAS process and 2) study the students’ opinions towards learning with GPAS process. The sample students were from Matthayomsuksa 6, room 4, 2nd semester of 2022 academic year. There were 44 sample students selected by simple random sampling. The research tools consisted of 1) lesson plans. 2) critical reading ability test.  and 3) questionnaire on the students opinion toward GPAS process. The data were analyzed by mean (M), standard deviation (S.D.), and t - test for dependent Samples. The study found as follow; 1) The critical reading ability of Matthayomsuksa 6 students after using GPAS process significance higher than before using GPAS at .05 level. 2) The opinion of Matthayomsuksa 6 students toward learning with GPAS process were at a high agreement level.
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิด GPAS 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ห้อง 4 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 44 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารญาณ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4316
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61255410.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.